วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market)

          เป็นการจัดหาพัสดุสำหรับสินค้าและบริการที่มีมาตรฐาน มีข้อกำหนดคุณสมบัติไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค เช่น กระดาษ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น

ขั้นตอนการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market)

          - ผู้ค้าลงทะเบียนและบันทึกข้อมูลสินค้าและบริการในระบบ e-Catalog โดยกรมบัญชีกลางเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการที่จะสามารถซื้อ/ขาย ในระบบ e-market ได้

          - ส่วนราชการที่มีความต้องการจัดซื้อจัดจ้างทำประกาศ โดยระบุคุณสมบัติของสินค้า จำนวนสินค้า คุณสมบัติของผู้ค้า เป็นต้น

          - ส่วนราชการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง โดยระบบจะตรวจสอบความต้องการกับข้อมูลสินค้าของผู้ค้า และส่งประกาศผู้ค้าที่มีคุณสมบัติตามประกาศเท่านั้น

          - ประกาศเปิดเผยหน้าเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th

          - เมื่อพ้นระยะเวลาเสนอราคา ส่วนราชการสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ค้าเสนอราคาทั้งหมด ระบบ e-GP จะทำการเลือกผู้ชนะการเสนอราคา

          - ส่วนราชการจัดทำประกาศผู้ชนะการเสนอราคา

ประโยชน์ของวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market)

          1. หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อสินค้าและบริการได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ มีคุณภาพ ภายใต้ราคาที่ยุติธรรม

          2. ลดขั้นตอนและระยะเวลาการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ

          3. เพิ่มความโปร่งใสและลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้าง

          4. ส่วนราชการสามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

          5. ผู้ค้าภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างได้สะดวกและเท่าเทียมกัน

          6. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ

วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding)

          เป็นวิธีการซื้อหรือจ้างที่มีรายละเอียดคุณลักษณะซับซ้อน มีเทคนิคเฉพาะ เช่น งานก่อสร้าง การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์บางประเภท การจัดจ้างพัฒนาระบบสารสนเทศ (IT) ที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น

ขั้นตอนการดำเนินการ

          - ส่วนราชการจัดทำร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จัดหาให้ตรงกับความต้องการของส่วนราชการ

          - ส่วนราชการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง ร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

          - กรณีที่ส่วนราชการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต้องนำร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ไปเผยแพร่ให้สาธารณชนเสนอแนะ วิจารณ์ สามารถกระทำได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ โดยให้ประกาศเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

          - ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและทางเว็บไซต์ของส่วนราชการ ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศ โดยต้องกระทำเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

          - การรับ/ซื้อเอกสาร และการเสนอราคา ต้องผ่านระบบ e-GP

          - เมื่อครบกำหนดเสนอราคา ส่วนราชการและคณะกรรมการฯ ตรวจสอบและพิจารณาผลด้านคุณสมบัติและเทคนิคของผู้ค้า และประกาศผู้ชนะการเสนอราคา 

ประโยชน์ของวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

          1. หน่วยงานภาครัฐ จัดซื้อสินค้าและบริการได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ มีคุณภาพ ภายใต้ราคาที่ยุติธรรม

          2. ลดปัญหาการสมยอมราคา เพิ่มความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างและลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

          3. ลดปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย จะเผชิญหน้าเมื่อเข้าทำสัญญาแล้วเท่านั้น

          4. ลดต้นทุนของผู้ค้าในการเข้าถึงโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยผู้ค้าสามารถขอรับ/ซื้อเอกสาร และยื่นข้อเสนอได้ทางอิเล็กทรอนิกส์

          5. ผู้ค้าสามารถติดตามสถานะโครงการของตนเองได้ตลอดเวลา และยังทราบข้อมูลข่าวสารของโครงการอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา

 

         การใช้งาน Google Drive กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศของ Google มาช่วยยกระดับการศึกษาและคุณภาพการศึกษาบุคคลทั่วไป พร้อมกับลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างคนเมืองและชนบท ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้จาก Google เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และเท่าเทียมกัน โดยมีให้ใช้งานหลายรูปแบบ Google Drive เป็นอีกรูปแบบที่ให้ใช้งานในปัจจุบัน สิ่งที่ควรมีคือที่อยู่ Gmail ของผู้ใช้ (ตัวอย่างThis email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)

         ประโยชน์ของการใช้งาน Google Drive โดยสังเขป

1. สามารถเก็บไฟล์ได้อย่างปลอดภัยและเข้าถึงจากอุปกรณ์ใดก็ได้โดยใช้ Google ไดรฟ์ 

2. สามารถเปิดและแก้ไขไฟล์จากอุปกรณ์เครื่องไหนก็ได้

3. มีพื้นที่เก็บข้อมูล 15 GB ฟรีโดยอัตโนมัติ

4. สามารถอัฟโหลดไฟล์และโฟลเดอร์ที่ต้องการได้ด้วยตัวเองหรือซิงค์ไฟล์จาก PC โดยอัตโนมัติ

5. สามารถจัดระเบียบไฟล์ได้ เช่น เปลี่ยนชื่อไฟล์,สร้าง ย้าย หรือลบไฟล์และโฟลเดอร์,ค้นหาและจัดเรียงไฟล์,ทำเครื่องหมายรายการสำคัญหรือรายการโปรดโดยติดดาว

6. สามารถแชร์ไฟล์ได้(แชร์ไฟล์และโฟลเดอร์เพื่อให้ผู้อื่นแก้ไข,ดู หรือแสดงความคิดเห็นได้)

อบรม เรื่อง หลักสูตรการสร้าง Infographic ด้วย Ms power point 2013

วันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ณ. ห้อง 2C 10-11 ชั้น 2 สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

 

Infographic มาจากคำภาษาอังกฤษสองคำคือ Information และ Graphics คำแรกนั้นหมายถึงสารสนเทศ หรือข้อมูลที่ถูกประมวลผลและจัดระบบไว้แล้ว ส่วนคำที่ 2 นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกภาพหรือลวดลายประกอบต่างๆ ซึ่งสามารถปรากฏในมุมมองหรือวัสดุที่หลากหลาย

สรุป Infographic จึงเป็นการแสดงข้อมูลหรือความรู้ที่ผ่านการสรุปย่อแล้วเป็นแผนภาพ เพื่อให้เนื้อหาหรือข้อมูลที่ต้องการนำเสนอสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย ในการบอกเล่าเรื่องราวทุกแขนง ทั้งวิชาการ ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ การตลาด การเงิน  บริษัทห้างร้าน ทั้งนี้เพื่อการแสดงข้อมูลที่ซับซ้อนให้ดูเข้าใจง่าย

7 เหตุผล ควรเสนองานด้วย Infographic คือ :

- ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้อ่านทุกกลุ่ม ทั้งนักเรียน ครู และบุคลากรต่างๆ

 - ผู้ใช้สามารถจดจำเนื้อหาซับซ้อนได้ง่ายขึ้น

- เป็นประโยชน์ในการทำซ้ำหรือเผยแพร่ข้อมูล

- ประหยัดเวลาของผู้อ่าน เพราะความอ่านง่ายทำให้สามารถศึกษาข้อมูลยากๆได้เร็วขึ้น

- ดึงดูดความสนใจได้ง่าย เพราะ Infographic ประกอบด้วยสีสันและลวดลายที่น่าสนใจ

- การเพิ่ม Infographic ให้เว็บ สามารถเสริมภาพลักษณ์ความสร้างสรรค์ให้เว็บได้

- เพิ่มทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์ เพราะความง่ายในการศึกษา อาจทำให้มีผู้ติดใจต้องการกลับมาชม Infographic ใหม่ๆตลอดเวลา

 

ผู้ร่วมอบรม คือ นายสมชาย  สิริวรรณ

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ประจำปีงบประมาณ 2559 

ในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 -16.00 น.

ณ  ห้องประชุมดอกจาน 4

โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 

1.       ผศ.ดร.เสน่ห์ ทองรินทร์   คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.       ผศ.ดร.อภิศักดิ์ ภู่พิพัฒน์  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จำนวนคนเข้าร่วม  48 คน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อบรมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ประเด็นที่ 1  ปัญหาการหาหัวข้อวิจัย 

          ในภาคเช้า  ผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งเป็นคณาจารย์ภายในคณะศิลปศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง  “ปัญหาการหาหัวข้อวิจัย” ร่วมกับวิทยากรคือ ผศ.ดร.เสน่ห์  ทองรินทร์ จากคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยวิทยากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการทำวิจัย เรื่อง  “การผสมผสานลักษณะความเป็นไทยกับการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ”  (Integrating Thai Collectivist Conventions into EFL Writing Instruction) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเคยได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  (วช.) ประจำปี พ.ศ.2555 ขณะที่ผู้เข้าร่วมอบรมได้ซักถามข้อสงสัยและร่วมอภิปรายปัญหาที่พบจากการเรียนการสอนภาษาต่างๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ  เช่น  ภาษาไทย  ภาษาจีน  ภาษาเขมร  เป็นต้น  ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดีในการหาหัวข้อวิจัย คือ

1.       หัวข้อวิจัยควรมาจากปัญหาที่ผู้วิจัยค้นพบจากวิชาที่ตนเปิดสอน  และเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้งจนทำให้ผู้วิจัยเกิดการตั้งคำถาม และต้องการที่จะหาคำตอบ 

2.       ชื่อหัวข้อวิจัยจะต้องชัดเจน  สามารถมองเห็นประเด็นสำคัญที่จะศึกษา  ระบุตัวแปรต้น  ตัวแปรตามชัดเจน 

3.       หัวข้อวิจัยมีความสัมพันธ์กับแหล่งทุน

4.       หัวข้อวิจัยจะต้องเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยเชี่ยวชาญ เนื่องจากมีผลต่อการดำเนินการวิจัยให้งานวิจัยลุล่วงและมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

 

ประเด็นที่ 2  ปัญหาที่พบในการทำวิจัย 

          ในภาคบ่าย  ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร คือ  ผศ.ดร.อภิศักดิ์  ภู่พิพัฒน์  จากคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเรื่อง  “ปัญหาระหว่างทำวิจัย” วิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการทำวิจัย  ปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ไขปัญหา  ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดี  เช่น

1.        เพื่อให้การทำวิจัยมีประสิทธิภาพ  นักวิจัยควรมีมิตราจารย์คอยให้คำปรึกษาอันเป็นประโยชน์ 

2.       นักวิจัยควรคำนึงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์มากกว่าทฤษฎีที่ใช้  เพราะในบางครั้งทฤษฎีตะวันตกที่นักวิจัยเลือกใช้อาจไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย  และการวิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อมูลจริงที่มีอยู่จะทำให้เกิดทฤษฎีใหม่  ซึ่งถือเป็นนวลักษณ์ (Innovation)  ที่จะทำให้เกิดพลวัต (Motivation)  ตามมา

3.       นักวิจัยที่ดีจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในงานวิจัยเสมอ  เพราะบางวิจัยบางเรื่องอาจต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคน

 

http://www.la.ubu.ac.th/admin/gallery/726_1469515986.jpg 

 

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร

***************

          คณะศิลปศาสตร์  ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยของคณะศิลปศาสตร์   อันเป็นนโยบายและภารกิจสำคัญของคณะ  มุ่งสนับสนุนบุคลากรให้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  เป็นการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ จึงกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร  ดังนี้

1. บทความที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

    1.1  เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ                                       

    1.2  เป็นบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลตามที่กำหนดในข้อ 3

    1.3 เป็นบทความใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน และช่วงเวลาที่บทความปรากฏอยู่ในวารสาร

จะต้องไม่เกินปีงบประมาณที่ขอเบิก   เช่น    เบิกจ่ายปีงบประมาณ  2559   วารสารจะต้องตีพิมพ์

ระหว่างวันที่  1  ตุลาคม  2558 - 30  กันยายน  2559

             1.4  ในบทความจะต้องระบุชื่อผู้เขียนและหน่วยงานที่สังกัด   คือ  คณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

          2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ต้องเป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์

          3. อัตราค่าตอบแทน

              3.1 กรณีที่เป็นผู้เขียนที่ปรากฏเป็นชื่อแรกของบทความที่ตีพิมพ์

         3.1.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ   ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล

Thai-Journal  Citation  index  Centre  (TCI)   หรือบัญชีรายชื่อวารสารระดับชาติของสำนักงาน

คณะกรรมการอุดมศึกษา  (สกอ.)  หรือบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของสำนักงานรับรองมาตรฐาน

และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน  5,000 บาท

             3.2 กรณีที่เป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์

                  3.2.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ   ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล   ได้แก่  ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร  SJR  (SCImago  Journal  Rank

 

 

 www.scimagojr.com)    หรือฐานข้อมูล  ISI  Web of Science  (Science Citation index Expand, Social Sciences Citation Index , Art and Humanities Citation Index )  หรือฐานข้อมูล Scopus  ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน  3,000  บาท

         3.2.2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ  ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai- Journal Citation index Center (TCI)     หรือบัญชีรายชื่อวารสารระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา  (สกอ.)    หรือบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ให้ได้รับค่าตอบแทน  จำนวน  1,000  บาท

                   3.2.3 กรณีที่เป็นบทความที่มาจากการศึกษาอิสระหรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา  ซึ่งนักศึกษาเป็นผู้เขียนที่ปรากฏเป็นชื่อแรกของบทความที่ตีพิมพ์ และอาจารย์เป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์ อาจารย์จะได้รับค่าตอบแทนครึ่งหนึ่งของค่าตอบแทน ในข้อ 3.2.1 และ 3.2.2

        4. ขั้นตอนการขอรับค่าตอบแทนและเงื่อนไขอื่นๆ

            4.1  อาจารย์สามารถยื่นเรื่องขอรับค่าตอบแทนได้ตลอดปีงบประมาณ   โดยทำบันทึก

ข้อความมายังเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป   เพื่อเสนอผ่านหัวหน้าสาขาวิชา   และรองคณบดีที่

รับผิดชอบงานวิจัย  จนถึงคณบดีคณะศิลปะศาสตร์  พร้อมหลักฐานดังนี้

                  4.1.1  วารสารที่มีการตีพิมพ์บทความ จำนวน 1 เล่ม หรือสำเนาบทความที่ตีพิมพ์แล้ว จำนวน 1 ชุด

                  4.1.2 รายละเอียดวารสาร  ประกอบด้วย  หน้าปกวารสาร  สารบัญ   และรายชื่อ

กองบรรณาธิการ

                  4.1.3  บันทึกข้อความเพื่อขอรับค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์   คณะ

ศิลปศาสตร์

             4.2  อาจารย์มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ไม่เกิน 4 บทความต่อปี  ทั้งนี้  ในบทความเดียวกันหากผู้เขียนที่เป็นชื่อแรกของบทความและผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์เป็นอาจารย์คณะศิลปศาสตร์  สามารถยื่นเรื่องขอรับค่าตอบแทนได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้น

 

                                                                      

การเลือกตีพิมพ์บทความลงในวารสาร

 

เมื่อนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือนักวิจัย ต้องการเลือกตีพิมพ์ลงในวารสารต่างประเทศ มีแนวทางคร่าวๆ ในการพิจารณาดังนี้

1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย ว่าอยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/

ดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor 

ส่วนวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ

 

2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports

3.ควรพิจารณาให้รอบคอบหากเป็นวารสารที่อยู่ใน ฺBeall's list หรือ Beall’s list of predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) เป็นรายชื่อสำนักพิมพ์ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ บางกรณีอาจพบวารสารลักษณะนี้ ที่ไม่ได้ดำเนินการโดยสำนักพิมพ์ ก็จะมีบัญชีรายชื่อวารสาร (http://scholarlyoa.com/individual-journals/) แยกต่างหาก

รายชื่อวารสารเหล่านี้ รวบรวมโดยบรรณารักษ์ของ University of Colorado Denver ชื่อ Associate ProfessorJeffrey Beall โดยได้ review วารสาร และสำนักพิมพ์จำนวนมาก และรวบรวมเป็นรายชื่อสำนักพิมพ์/วารสาร ที่อาจจะเข้าข่ายเป็นวารสารที่ไม่ควรส่งรายงานไปตีพิมพ์ (ผู้รวบรวมไม่ใช้คำว่าหลอกลวง) เพื่อนักวิจัยจะได้ใช้ประกอบการพิจารณา ว่าควรจะตีพิมพ์หรือเป็นกองบรรณาธิการ หรือเป็นผู้ประเมิน (reviewer) ให้หรือไม่ รายชื่อเหล่านี้มีการปรับปรุงเสมอๆ โดยมีการถอนออก หรือเพิ่มเข้าไปใหม่ และเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วารสารใน Beall’s list of predatory publishers นี้ บางครั้งอาจพบในฐานข้อมูล SCOPUS-Scimago Q3 แต่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อวิชาการอย่างแท้จริง แต่ดำเนินการเพื่อธุรกิจ ทำนอง "จ่ายดี ตีพิมพ์แน่" 

4.ไม่ควรพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร OA (Open-Acess) ที่ทำเพื่อธุรกิจ การเผยแพร่มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งนี้วารสารแบบ OA บางวารสารระบุว่าตั้งอยู่สหรัฐอเมริกา แต่กลับให้โอนเงินไปปากีสถาน ซึ่งหลายหน่วยงานไม่ยอมรับการเผยแพร่ในฐานข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น โครงการกาญจยาภิเษก (คปก) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฐานี

5.ไม่ควร ตีพิมพ์วารสารใน List of Stand Alone Journal ซึ่งเป็นวารสารวิชาการ ที่ตีพิมพ์เพียงครั้งเดียว ซึ่งดูไม่น่าเชื่อถือ และมักจะเป็นการตีพิมพ์แบบที่เรียกว่า Open Access กล่าวคือ  บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ สามารถถูกสืบค้นและดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 

Beall's List ใส่วารสาร Thammasat International Journal of Science and Technology (TIJSAT) เข้าในรายการด้วย ซึ่งอาจถูกถอนออกจากรายการได้ในอนาคต และอาจเพิ่มรายชื่อวารสารอื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือเข้าในรายการก็ได้ จึงต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน

 

ที่มา

พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวารสารที่ใช้ตีพิมพ์ผลงานอยู่ใน Beall’s list. <http://www2.rdi.ku.ac.th/newweb/?p=8824>

ยิ่งศักดิ์ แหวนเพชร. สำนักพิมพ์ผู้ล่าเหยื่อ. <http://gopublished1.blogspot.com/2015/06/blog-post.html>

สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์. จะเลือกวารสารตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างไร <https://supapornhuang.wordpress.com/2016/09/17/select-journal/>

สุวิทย์ ศรีไหม. วารสารสุ่มเสี่ยงไม่ควรส่งบทความไปตีพิมพ์. <http://share.psu.ac.th/blog/education-research/32467>

 

 

บรรยายธรรมเรื่อง ธรรมะกับการทำงาน

โดย พระอาจารย์ภูวดล ปิยสีโล เจ้าอาวาสวัดป่าเย็นบุญ จ.เชียงราย

14 กรกฎาคม 59

  ห้อง CMP 122 วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ได้นำมาพัฒนางานที่รับผิดชอบ ดังนี้ คือทำให้ทราบว่าธรรมะในงานกับธรรมะในใจ ไม่ได้แยกจากกันเลย เราเอาธรรมะมาใส่ใน

งานได้ก็ต่อเมื่อเรามีธรรมะในใจเป็นต้นทุน เมื่อใส่ธรรมะเข้าไปในงานให้ธรรมกลมกลืนไปกับวิธีทำงาน และให้ธรรมะซึมซาบ

ไปในความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน งานนั้นเองจะช่วยบ่มเพาะธรรมะในใจให้เจริญงอกงาม และทำให้เรามีความสุขในการทำงาน 

ข้อดีของธรรมะ มีดังนี้ คือ

- ทำให้ทราบถึงหลักธรรมที่นำมาปฏิบัติ ในการทำงาน

- ช่วยให้การทำงานเป็นระบบ รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบทำให้งานบรรลุเป้าหมาย

- ช่วยให้มีมนุษย์สัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน เช่น การรู้เรา รู้เขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ช่วยให้งานดำเนินไปด้วยดี  

- ช่วยให้เกิดรู้รักสามัคคี ประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 

- ทำให้เกิดความรู้สึกการยอมรับนับถือที่เรียกว่า คารวธรรม มีการเคารพนับถือเป็นพี่เป็นน้อง ก่อให้เกิดถ้อยทีถ้อยอาศัย

- ทำให้ใจเย็น ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน

- ทำให้เข้าใจความแตกต่างทางด้านความคิดของแต่ละคน

 

ผู้ร่วมอบรม คือ นายสมชาย  สิริวรรณ

 

 

หลักการเขียนคำอธิบายรายวิชา

สรุปจากการประชุม มคอ.1 หลักสูตรภาษาอังกฤษทั่วประเทศ ณ โรงแรม โนโวเทล สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 

1. ภาษาอังกฤษและภาษาไทยต้องมีเนื้อหาและความหมายถูกต้องตรงกัน
2. มีตัวย่อภาษาอังกฤษของชื่อรายวิชา ไม่มากกว่า 22 ตัวอักษร ขอให้ระวังว่าเมื่อย่อคำใดคำหนึ่งแล้วคำที่ย่อที่ใช้จะต้องไม่มีความหมายที่ไม่พึงประสงค์ และขอให้ใช้คำย่อเดียวกันสำหรับคำเดิมตลอดทั้งเอกสาร
3. เนื้อหาในการเขียนคำอธิบายรายวิชา ให้ใช้ระดับวลี สำหรับการเขียนในภาษาอังกฤษให้คั่นแต่ละวลีด้วยเครื่องหมาย ; สำหรับภาษาไทยใช้วรรคตอนในการคั่น
4. วลีที่ใช้ให้เป็นนามวลี ไม่มีกริยานำหน้า หรือไม่มีคำนาม ที่บ่งบอกการกระทำ เช่น ไม่ต้องมีคำว่าศึกษาหรือการศึกษา พัฒนาหรือการพัฒนา เข้าใจหรือความเข้าใจ ฝึกหรือการฝึก เป็นต้น
5. ไม่ต้องยกตัวอย่างประกอบ ไม่ใช้คำว่า เช่น ได้แก่ 
6. ไม่ต้องมีส่วนขยาย เช่น ที่ดี ที่สละสลวย ที่ถูกต้อง ที่มีประสิทธิภาพ  
7. ไม่ต้องวงเล็บคำภาษาอังกฤษสำหรับในคำอธิบายรายวิชาที่เขียนเป็นภาษาไทย
8. เนื้อหาคำอธิบายรายวิชา ขอให้ดูรายชื่อวิชาเป็นหลัก โดยที่เนื้อหาจะต้องไม่มากเกินกว่า ขอบเขตของเนื้อหาตามชื่อวิชา

 หัวข้อการบรรยาย เรื่อง การผลิตสื่อเสียงประกอบการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม Adobe Audition 3 

    เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาให้นำมาใช้งานในด้านของเสียง หรือออดิโอ อาทิเช่น การอัดเสียง การตัดต่อเสียง การแก้ไขเสียง เพิ่มเสียงหนัก เสียงเบา หรือเอฟเฟคต่างๆ เยอะแยะมากมายในการใช้งาน สำหรับโปรแกรมนี้มีนามว่า Adobe Audition ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับ โปรแกรม Adobe Premiere Pro หรือ โปรแกรม Adobe After Effects  และหากถามว่ามันแตกต่างจาก โปรแกรมแต่งเพลง ตัวอื่นยังไง ต้องบอกว่า โปรแกรมตัดต่อเสียง Adobe Audition 3 ตัวนี้มีคุณสมบัติพิเศษแถมเข้ามาด้วย จะเห็นได้ว่า {โปรแกรมมิกซ์เพลง} ตัวเก่าๆ จะทำได้แค่เพียงการตัดเสียง ต่อเสียง หรือการปรับเสียงดนตรีต่างๆ ภายในเพลงนั้นๆ อาทิเช่น เสียงเบส เสียงกีต้าร์ เสียงคนร้อง หรือเสียงกลองเป็นต้น แต่โปรแกรมนี้สามารถทำได้มากกว่านั้น โดยการนำไฟล์รูป หรือไฟล์วีดีโอเพื่อนำมาประกอบในการมิกซ์เสียงได้ด้วย เรียกได้ว่าไม่มีโปรแกรมตัดต่อเสียงตัวใดทำได้ละเอียดเท่าตัวนี้มาก่อน

              การบูรณาการสื่อเสียง(Sound Integrated) ได้กล่าวถึงการนำสื่อไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนดังนี้

1. การรับรู้ (ตาและหู จะใช้ถึง ร้อยละ 88) /สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งต่างๆที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน 

เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอนถึงผู้เรียน

2. สื่อประสม (คือการนำสื่อตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์เป็นระบบ) /มัลติมีเดีย (คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้ความหมายของสื่อประสมเดิมเปลี่ยนไป เนื่องจากความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลได้สมจริง) 

3. ประเภทของเสียง (เสียงพูดคุยสนทนา หรือเสียงบรรยาย/พากย์,เสียงดนตรี,เสียงปรุงแต่งพิเศษ,เสียงธรรมชาติ/สัตว์/บรรยากาศทั่วไป)

4. การบูรณาการสื่อเสียง(การผลิตสื่อเสียงที่ต้องใช้อุปกรณ์กำเนิดเสียงร่วมกับสื่อผสมแล้วถ่ายทอดสู่ผู้ฟังอย่างเป็นระบบ)

              ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม   ได้ทราบถึงประโยชน์ของการผลิตสื่อเสียงประกอบการเรียนการสอน

1. ทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น                2. เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น 

3. เกิดความน่าสนใจ                                          4. ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้และเทคนิคการสอนอย่างเหมาะสม 

5. ลดระยะเวลาการสอน                                      6. ใช้ปรับปรุงคุณภาพของการเรียนรู้ 

7. ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่                       8. สร้างทัศนคติที่ดีต่อเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน 

9. เปลี่ยนแปลงบทบาทผู้สอนให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น     10. ลดข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่หรือระยะทาง 

1.เตรียมความพร้อมตามร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ......

2.ความเสี่ยงและข้อควรระวังความรับผิดทางละเมิด

3.แนยทางการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Market และ e-Bidding)

4.การบริหารสัญญา

          การพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารงานภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรจุวัตถุประสงค์ตามแนวนโยบายที่กำหนด โดยในแต่ละปีรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างเป็นจำนวนมาก ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องจึงต้องมีระบบบริหารการจัดการด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก่อให้เกิดความคุ้มค่าและใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างประหยัด เพื่อให้ได้พัสดุที่มีคุณภาพมาใช้ในราชการอย่างคุ้มค่า ประหยัด โปร่งใส ตรวจสอบได้

1.ได้รับทราบถึงระเบียบข้อพึงระวัง ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานพัสดุ และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานด้านพัสดุ

2.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-Market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ

3.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารสัญญา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

4.ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ในการบริหารงานพัสดุ ระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วยกันและวิทยากร

5.สามารถนำความรู้ ข้อเสนอแนะ และแนวคิดที่ได้รับจากการสัมมนาไปปฏิบัติและปรับใช้ในการบริหารงานด้านพัสดุ และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถไปถ่ายทอดหรือแนะนำให้แก่ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ