ประกันคุณภาพการศึกษา

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้ทุกสถาบันการศึกษาให้มุ้งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อเป็นการสร้างระบบและกลไกในการพัฒนาในการพัฒนา ติดตามตรวจสอบและระเมินการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

ระดับการประเมินคุณภาพการศึกษา

¢  ระดับหลักสูตร

¢   ระดับคณะ

¢   ระดับสถาบัน

เทคนิคการบริหารหลักสูตรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

u  อาจารย์ประจำหลักสูตร

u  คุณภาพหลักสูตร

u  ระบบบริหารหลักสูตร

u  ระบบคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ

อาจารย์ประจำหลักสูตร

u  จำนวน

u  คุณวุฒิ

u  ตำแหน่งวิชาการ

u  Performance (ผลงานตีพิมพ์)

Job description

เกณฑ์สำหรับการบริหารจัดการหลักสูตร

u  เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปี ๒๕๔๘ + 2558

u  กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ปี ๒๕๕๒

u  คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปี ๒๕๕๗

การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร

ระบบและกลไก

ระบบ หมายถึง  ระเบียบหรือความเชื่อมโยงของขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานดำเนินการลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น เช่น การจัดระบบงานต่างๆ

กลไก  หมายถึง  บุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ กิจกรรม และหน่วยย่อยต่างๆ ที่สนับสนุนเชื่อมโยง ประสานสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยให้การดำเนินภารกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ดำเนินไปได้อย่างคล่องตัวสม่ำเสมอ และครบวงจรตามระบบที่ได้กำหนดไว้

กรอบเวลาการประเมิน

u  ปีการศึกษา ๒๕๕๙

u  ( สค. ๕๙ – กค. ๖๐)

การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร

 

องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตรประกอบด้วย

1. การกำกับมาตรฐาน

2. บัณฑิต

3. นักศึกษา

4. อาจารย์

5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

 

 

 

การบรรยายพิเศษ เรื่องการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย สู่ความเป็นเลิศให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย

หัวข้อที่จะนำเสนอมี 2 หัวข้อ

1.Reprofile คืออะไร

2. ทำไมต้อง Reprofile มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

Reprofile คืออะไร

1. Profile = ภาพ / ร่าง / รูปแบบ / คุณลักษณะ เช่น profile ของบุคคล / หน่วยงาน ขณะนี้ profile ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคืออะไร (คือการผลิตบัณฑิต)

2. Reprofile คือ ทำ profile ใหม่ ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานียุคใหม่ จะเป็นอย่างไร

3. ใครต้อง Reprofile บ้าง หลักสูตรทุกหลักสูตร และ คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ทำไมต้อง Reprofile มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

1. นักศึกษามีจำนวนลดลง ผลิตแทบทุกสาขาวิชา การผลิตไม่คุ้มค่า ที่ผลิตมาไม่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ

2. คุณภาพนักศึกษาและคุณภาพบัณฑิต ความรู้วิชาการไม่เพียงพอ / จบแล้วไม่มีงานทำ หรือทำงานที่ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา / ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา / บุคลิกภาพ

3. คุณภาพอาจารย์ ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ ไม่มีผลงาน สอนไปวัน ๆ ไม่สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เก่งวิชาการ

4. มีปัญหาธรรมาภิบาล ทะเลาะ ขัดแย้ง ไม่สามัคคี แก้ปัญหากันเองไม่ได้ 

 

Reprofile คืออะไร

1. หาจุดเด่นของตัวเอง ผลิตในสิ่งที่ตัวเองมีศักยภาพ ผลิตในสิ่งที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ / ตลาดแรงงาน / ทิศทางการพัฒนา (= ปรับหลักสูตร ควบ / รวม / ยุบ / สร้างใหม่)

2. พัฒนาคุณภาพนักศึกษาและคุณภาพบัณฑิต

   (= ปรับวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่

    = สร้างบัณฑิตให้มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21

    = เสริมสร้างคุณธรรม / จริยธรรม)

3. พัฒนาคุณภาพอาจารย์

   (= การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ / มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ)

 

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะ Reprofile อย่างไร

1. บอกให้ได้ว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีจุดเด่นอะไรบ้าง

2. บอกให้ได้ว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะสร้างจุดเด่นอะไรในอนาคต

3. บอกให้ได้ว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะแก้ปัญหาสาขาที่มี   นักศึกษาน้อย / ไม่มีจุดเดิน ไม่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์อย่างไร จะใช้เวลาเท่าไร   ในการปรับตัว

 

คณะจะ Reprofile อย่างไร

1. สำรวจว่าคณะผลิตบัณฑิตกี่สาขาวิชา สาขาไหนอยู่ในแผน Reprofile   สาขาไหนไม่อยู่ในแผน

2. จะพัฒนาสาขาใดให้โดดเด่นบ้าง / ทำอย่างไร / เด่นอะไร

3. จะแก้ปัญหาสาขาที่ไม่โดดเด่น / ไม่อยู่ในแผนอย่างไร (จะยุบ จะรวม   จะเปิดสาขาใหม่ จะไปทำวิจัยอย่างเดียว ฯลฯ)

 

หลักการเลือกจุดเด่นของคณะ

มีหลักฐานสนับสนุนอย่างไรบ้าง

1. จำนวนนักศึกษา / จำนวนบัณฑิต มีผู้สนใจเรียนมากและจำนวนเพิ่มขึ้น   เรียนจนจบสำเร็จการศึกษาได้

2. คุณภาพนักศึกษา มีผลงานระหว่างเรียนไหม มีการประกวด /   มีรางวัลอะไรรับรองไหม

3. คุณภาพบัณฑิต จบแล้วมีงานทำ ทำงานตรงศาสตร์ มีความสำเร็จ   เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน / ยุทธศาสตร์ชาติ

4. คุณภาพอาจารย์ มีตำแหน่งวิชาการ / มีงานวิจัยและที่สำคัญสามารถ   อุทิศเวลา มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสาขา

 

 

 

จุดเด่นของเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยี HP PageWide คือให้ความเร็วในการพิมพ์สูงมาก ระดับที่ Guinness World Record ยกให้ปริ้นเตอร์ HP ที่ใช้เทคโนโลยี PageWide พิมพ์ได้เร็วที่สุดในโลก ในกลุ่มเครื่องพิมพ์ราคาไม่เกิน $1,000 สามารถพิมพ์เอกสารสี 500 แผ่นในเวลา 7:18 นาที หรือใช้เวลาพิมพ์ต่อแผ่นไม่ถึงวินาที ซึ่งเราก็ได้ไปเห็นกับตาแล้วว่าเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ 75 แผ่นต่อนาทีได้ การทำงานของมันจะรวดเร็วขนาดไหน แถมจะพิมพ์สีหรือพิมพ์ขาวดำก็ยังพิมพ์เร็วเท่ากันด้วย

 

Video แสดงกระบวนการทำงานของ Technology Pagewide

 

ทำไมเทคโนโลยี HP PageWide ถึงพิมพ์งานได้เร็วขนาดนี้ HP อธิบายว่าเพราะ Print Bar หัวพิมพ์แบบพิเศษที่ติดตั้งฟิกซ์ตายตัวในเครื่อง ไม่ได้เป็นหัวพิมพ์ที่วิ่งซ้าย วิ่งขวาตามแนวกระดาษเหมือนเครื่องพิมพ์ทั่วไป ซึ่งแนวของหัวพิมพ์ที่กว้างเท่าหน้ากระดาษนี้ประกอบด้วยหัวพิมพ์เล็กๆ 42,240 หัว สามารถผลิตหยดหมึกพุ่งลงกระดาษอย่างแม่นยำได้มากกว่า 10 ล้านหยดต่อวินาที ซึ่งการที่มีแนวหัวพิมพ์กว้างเท่าหน้ากระดาษนี้เอง HP จึงตั้งชื่อเทคโนโลยีนี้ว่า HP PageWide

ถึงแม้ HP PageWide จะสร้างหมึกได้นับสิบล้านหยดต่อวินาที แต่ไม่ได้หมายความว่าเครื่องพิมพ์จะกินหมึกเยอะนะครับ หมึกขาว-ดำหนึ่งตลับสามารถพิมพ์ได้ 10,000 แผ่น ส่วนหมึกสีพิมพ์ได้ 7,000 แผ่น คิดเป็นต้นทุนสำหรับหน้าขาวดำแค่ 50 สตางค์ต่อแผ่น ส่วนหน้าสีก็ประมาณ 2.40 บาทต่อแผ่นเท่านั้น

 

Economical print costs for volume printing

เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็สิ่งหนึ่งที่ HP ชูให้เป็นจุดเด่นสำหรับปริ้นเตอร์ PageWide เลย ตั้งแต่กินไฟน้อยกว่าเครื่อง Laser Printer ทั่วไป จากการทดสอบจะเห็นว่าระหว่างทำงาน Laser Printer เครื่องย่อมๆ จะกินไฟมากกว่า 500 Watt ในขณะที่ HP PageWide กินไฟราว 50 Watt เท่านั้น นอกจากนี้ HP PageWide ยังมีค่าบำรุงรักษาเครื่องต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เพราะไม่ต้องเปลี่ยนลูกกลิ้ง เปลี่ยนสายพานทุก 300,000 แผ่น แต่เปลี่ยนแค่หมึกพิมพ์ ส่วนตัวเครื่องนั้นก็จะมีการรับประกัน และสามารถขยายระยะเวลารับประกันเป็น 5 ปีได้ด้วย

คุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องพิมพ์กลุ่ม PageWide

Storage Job ที่อาศัยฮาร์ดดิสก์ในเครื่องพิมพ์ หรือแฟลชไดร์เพื่อเก็บข้อมูลงานพิมพ์ไว้ก่อน รอจนเจ้าของงานมาที่หน้าเครื่องและป้อนรหัสผ่าน จึงจะได้รับงานพิมพ์

Touch-to-print ใช้ NFC เพื่อเชื่อมต่อการพิมพ์ไร้สาย และรองรับ Airprint ของ Apple ด้วย ใช้กับ iPhone, iPad โดยไม่ต้องลงแอปเพิ่ม

Dual Head Scan สามารถสแกนเอกสาร 2 หน้าได้พร้อมกัน (สำหรับเครื่องที่มี ADF หรือ Auto Document Feeder เท่านั้น)

ผังงาน คือ
1) แผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
2) เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิดเพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงาน

ผังงานมี 2 ประเภท คือ
1) ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ  วิธีประมวลผล    แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน
2) ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม
Flowchart ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานได้ง่าย ไม่สับสน ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขงานได้ง่ายเมื่อเกิดข้อผิดพลาด และสามารถดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้ผู้อื่นศึกษาการทำงานได้อย่างง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

     หลักสูตรการออกแบบและตกแต่งภาพด้วย Adobe Photoshop CS 6

          โปรแกรม Photo shop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่มนิยมสูงมากในขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่าง 

        เราสามารถเรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop นี้ได้ด้วยตัวเอง  คุณสามารถที่จะทำการแก้ไขภาพ ตกแต่งภาพ ซ้อนภาพในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การใส่ข้อความประกอบลงในภาพด้วย  และเนื่องด้วย Adobe Photoshop มีการพัฒนาโปรแกรมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราจำเป็นต้องศึกษาคำสั่งต่างๆ ให้เข้าใจ แต่ที่สำคัญ เมื่อคุณเรียนรู้การใช้คำสั่งในเวอร์ชั่นเก่า คุณก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้ด้วยครับ

ความสามารถพื้นฐานของ Adobe Photoshop ได้แก่

·       ตกแต่งหรือแก้ไขรูปภาพ

·       ตัดต่อภาพบางส่วน หรือที่เรียกว่า crop ภาพ

·       เปลี่ยนแปลงสีของภาพ จากสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่งได้

·       สามารถลากเส้น แบบฟรีสไตล์ หรือใส่รูปภาพ สี่เหลี่ยม วงกลม หรือสร้างภาพได้อย่างอิสระ

·       มีการแบ่งชั้นของภาพเป็น Layer สามารถเคลื่อนย้ายภาพได้เป็นอิสระต่อกัน

·       การทำ cloning ภาพ หรือการทำภาพซ้ำในรูปภาพเดียวกัน

·       เพิ่มเติมข้อความ ใส่ effect ของข้อความได้

·       Brush หรือแปรงทาสี ที่สามารถเลือกรูปแบบสำเร็จรูปในการสร้างภาพได้และอื่นๆ อีกมากมา    

 

               ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม  

            1. มี Feature ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

            2. นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

www.wix.com เป็นเว็บไซต์ที่สามารถสร้าง web site อย่างง่าย ทำได้แค่คลิก ลาก วาง โดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ php เนื่องจากเป็นการทำงานบน Cloud ใช้งานโดยล็อกอินได้ทั้ง facebook และ gmail หรือสร้าง user ใหม่ก็ได้

มี template ให้เลือกใช้หลากหลาย สามารถ preview ดูผลลัพธ์ได้ทันทีมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างหรือเพิ่มได้หลายอย่าง เช่น Slide show, blog, video, flash, embed a site, menu, list, และ member log in ได้

ในกรณีที่ใช้ฟรี อาจมีปัญหาเรื่องความเร็วอยู่บ้าง แต่หากใช้แบบจ่ายเงินก็จะทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้น

ข้อดีของ Wix

สร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

มีเทมเพลต แบ่งเป็นหมดหมู่ ให้เลือกใช้ ฟรีด้วย (ตอนนี้)

สามารถใช้โดเมนเป็นชื่อของตัวเอง (เสียตังค์)

สามารถทำเว็บ Mobile version

มีระบบ E-commerce

มี plugin social ต่างๆ

และอื่นๆอีกมากมาย เข้าไปดูได้ที่ หน้า Fearture

การเขียนผังการปฏิบัติงาน (Flow chart)

การเขียนผังงาน ( Flow chart )

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน โดยแต่ละสัญลักษณ์ในแผนภาพจะหมายถึงการทำงานหนึ่งขั้นตอน ส่วนลูกศรจะแทนลำดับการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ระบบงานทุกชนิดที่ผ่านการวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นตอนแล้ว จะสามารถเขียนเป็นผังงานได้

ประโยชน์ของผังงาน

ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานได้ง่าย ไม่สับสน

ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขงานได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด

ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น

เราสามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานได้ง่ายเพราะผังงานไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์หรือภาษาใดภาษาหนึ่ง ผังงานเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาลำดับขั้นตอนในการทำงานดีกว่าการบรรยายเป็นตัวอักษร

ข้อจำกัดของการเขียนผังงาน

การเขียนผังงานไม่เหมาะกับงานที่มีวิธีการซับซ้อน เช่น มีการที่เงื่อนไขในการทดสอบมากมาย ซึ่งมักจะใช้ตารางการตัดสินใจ (DECISION TABLE) เข้ามาช่วยมากกว่า

วิธีการเขียนผังงานที่ดี

ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้

ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่างหรือจากซ้ายไปขวา

คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัดและเข้าใจง่าย

ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก

ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน

 

ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

หลักสูตร การสร้างผังงาน Flowchart ด้วย MS Visio 2013 เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก

โดยผังงาน (Flowchart) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ผังงานระบบ (System Flowchart) 2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)

 

ความรู้ที่ได้จากการอบรม

 ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานได้ง่าย ไม่สับสน และแก้ไขงานได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด การสร้างผังงานผ่านโปรแกรม MS Visio เราสามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานได้ง่ายและสะดวกกว่าการสร้างขั้นตอนผังงานผ่านโปรแกรม Word

 

แผนการนำผลการอบรมมาประยุกต์ใช้กับงาน

 

จัดทำผังงานการเสนอขอโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ขั้นตอนการเสนอของบประมาณสนับสนุนโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ขั้นตอนการเสนอของบประมาณโครงการทำนุฯ

 

หัวข้อการอบรม การสร้างผังงาน Flow Chart ด้วย Visio 2013

26 มกราคม 2560

ณ สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ผังงาน ( Flowchart) หมายถึง แผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย  เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก

ผังงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน ผังงานระบบเป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้เห็นโครงสร้างโดยภาพรวมของระบบ ซึ่งจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่างๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารข้อมูลเบื้องต้น สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ ข้อมูลจะส่งผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมประมวลผลข้อมูลอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อหรือแหล่งบันทึกข้อมูล วัสดุปกรณ์ คน หรือฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผล และการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process - Output) 

2.ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)  คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step)  การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้  ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุด ที่เกี่ยวข้องกับการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานควรที่จะมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และจะได้นำมาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไปดังนั้นการเขียนผังงานก็จะมีประโยชน์ เหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบ ผู้เขียนโปรแกรม และบุคคลอื่นที่ต้องการศึกษา ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบตั้งแต่เริ่มต้น ว่ามีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง เมื่อเข้าใจระบบงานหรือสิ่งที่กำลังศึกษาก็จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ความรู้ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมอบรมการสร้างผังงาน Flow Chart

1. ความรู้เรื่องการใช้งานสัญลักษณ์ที่ถูกต้องในการเขียนผังงาน ( Flowchart) 

 

2. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมนำมาสร้างผังงานในการทำงานของตนเอง

             ผังงาน คือ แผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของAlgolithm หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เป็นเครื่องใช้การรวบรวมลำดับ ความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน และใช้วางแผนการทำงานขั้นตอนแรก แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

             1)ผังงานระบบ คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับ และส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน

             2)ผังงานโปรแกรม คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือ รวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ ทำให้ เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น(จะนิยมใช้กับ งานสารสนเทศ)

ข้อดีของผังงาน (Advantages of Flowchart)

1. มีความหมายชัดเจนมากขึ้น (Conveys Better Meaning) ตั้งแต่ผังงาน (Flowchart) ถูกนำเข้ามาใช้ในการเขียนโปรแกรม มันช่วยให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจและอธิบายตรรกะของโปรแกรม ให้โปรแกรมเมอร์คนอื่นเข้าใจได้ง่ายขึ้น

2. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Analyses the problem effectively) ผังงาน (Flowchart) ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถวิเคราะห์รายละเอียดของปัญหา โดยสามารถเขียนผังงานในส่วนที่เป็นรายละเอียดส่วนย่อยได้

3. การเข้ารหัสที่มีประสิทธิภาพ (Effective Coding) มันง่ายมากๆ สำหรับโปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรม เพราะผังงาน (Flowchart) ช่วยให้เข้าใจแนวคิดและลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน 4. การแก้จุดบกพร่องของระบบ (Systematic Debugging) หลังจากการออกแบบโปรแกรมอย่างดีแล้ว ก็ยังคงเกิดข้อผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นในโปรแกรม เพราะโปรแกรมเมอร์อาจไม่พบปัญหา การใช้ผังงาน (Flowchart) สามารถช่วยลดและทำให้พบจุดผิดพลาดได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของการใช้ผังงาน (Advantages of using Flowcharts)

การใช้ผังงานในการแก้ปัญหามีข้อดีดังต่อไปนี้:

1) การสื่อสาร (Communication): ผังงาน (Flowchart) เป็นช่องทางการสื่อสารของระบบตรรกะและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องของปัญหา ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของลูกข่ายของระบบ

2) การวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective analysis): ผังงาน (Flowchart) ของปัญหาสามารถใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

3) เอกสารของโปรแกรม / ระบบ (Documentation of Program/System): ผังงานโปรแกรม (Program flowcharts)เป็นส่วนสำคัญของเอกสารโปรแกรมที่ดี เอกสารโปรแกรมจะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆเช่นรู้ส่วนประกอบในโปรแกรม ความซับซ้อนของโปรแกรม ฯลฯ

4)การบำรุงรักษาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Program Maintenance): เมื่อโปรแกรมการพัฒนาและการดำเนินงานเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการบำรุงรักษาเวลา ซึ่งผังงาน (Flowchart) ช่วยให้การบำรุงรักษาทำได้ง่ายขึ้น

5) การเข้ารหัสของโปรแกรม (Coding of the Program): การออกแบบของการแก้ปัญหาของปัญหาใดๆ สุดท้ายจะถูกแปลงเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์และ ผังงาน (Flowchart) ช่วยให้การเข้ารหัสนั้นง่ายขึ้น

หัวข้อการอบรม การสร้างผังงาน Flow Chart ด้วย Visio 2013

26 มกราคม 2560

ณ สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

Flow Chart (ผังงาน)

 

ผังงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน ผังงานระบบเป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้เห็นโครงสร้างโดยภาพรวมของระบบ ซึ่งจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่างๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารข้อมูลเบื้องต้น สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ ข้อมูลจะส่งผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมประมวลผลข้อมูลอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อหรือแหล่งบันทึกข้อมูล วัสดุปกรณ์ คน หรือฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผล และการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process - Output) 

2.ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)  คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step)  การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้  ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุด ที่เกี่ยวข้องกับการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานควรที่จะมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และจะได้นำมาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไปดังนั้นการเขียนผังงานก็จะมีประโยชน์ เหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบ ผู้เขียนโปรแกรม และบุคคลอื่นที่ต้องการศึกษา ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบตั้งแต่เริ่มต้น ว่ามีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง เมื่อเข้าใจระบบงานหรือสิ่งที่กำลังศึกษาก็จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการเขียนผังงานที่สำคัญ 5 ขั้นตอนได้แก่

1. การวิเคราะห์ปัญหา

2. การออกแบบโปรแกรม 

3. การเขียนโปรแกรม 

4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม 

 

5. ทำเอกสารประกอบโปรแกรม

การนำโปรแกรมมาปรับปรุงเพื่อใช้กับงานผลิต คือ

- การเขียนผังงานการทำงานที่ชัดเจน

- ลงขั้นตอนการทำงาน

- ตรวจสอบข้อผิดพราด

- ปรับปรุงจุดอ่อนของงาน

- ตรวจสอบขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ

- อื่น ๆ 

กมล โสภาสิน

งานผลิตและบริการเอกสาร

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี