- รายละเอียด
- เขียนโดย Natthwut Sompawa
- หมวด: ธุรการและสารบรรณ
การเขียนหนังสือราชการ ถือเป็นวิชาหนึ่งที่ข้าราชการและหรือบุคลากรในภาครัฐทุกคนต้องศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งในแต่ละองค์กรนั้นย่อมมีภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างส่วนต่างๆทั้งภายในองค์กร และเครือข่ายภายนอกองค์กรอยู่เป็นประจำ โดยที่หนังสือราชการเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติราชการ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรในองค์กร เนื่องจากการเขียนหนังสือราชการเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันได้ จะช่วยประหยัดเวลา และปฏิบัติงานได้ตรงจุดประสงค์ อีกทั้งการเขียนหนังสือราชการมิได้มีความหมายเพียงตัวหนังสือ และเอกสารเท่านั้น หากยังบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร และเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรอีกด้วย
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเขียนหนังสือราชการ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐได้เสริมสร้างความรู้และเทคนิคในการเขียนหนังสือราชการ ซึ่งจะเขียนอย่างไรให้ดูดี ถูกต้องทั้งเนื้อหา หลักภาษา ถูกความนิยม มีความชัดเจน รัดกุม กะทัดรัด สามารถสร้างความเข้าใจและสื่อสารถึงความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นอาศัยการเรียนรู้ ทฤษฎี หลักการเขียนพร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติ ดังนั้น สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงเห็นสมควรจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านธุรการและเทคนิคการเขียนหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณ” ขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่และหรือบุคลากรภาครัฐได้รับความรู้ เรียนรู้หลักการเขียน รูปแบบต่างๆ ของหนังสือราชการการสรุปเนื้อหา การเรียบเรียงความคิด การพัฒนาทักษะให้สามารถเขียนหนังสือราชการประเภทต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การบรรยาย และเน้นการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งมีการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรมก่อน – หลังการอบรม โดยมีเนื้อหาในการอบรมที่สำคัญประกอบด้วย
ส่วนที่ ๑ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการ (๓ ชั่วโมง)
เป็นการปูพื้นฐานและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณโดยการบรรยาย พร้อมกับยกกรณีตัวอย่าง และทำกิจกรรมการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ และหนังสือราชการรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย
- ความสำคัญของหนังสือติดต่อราชการ
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๔๘
- รูปแบบและองค์ประกอบของหนังสือราชการ(หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา)
ส่วนที่ ๒ : เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและหนังสือโต้ตอบ (จำนวน ๙ ชั่วโมง)
เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเขียนหนังสือติดต่อราชการแบบต่างๆ ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะในการเขียนหนังสือติดต่อราชการอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ
- เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและหนังสือโต้ตอบ
- ฝึกปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ
- วิเคราะห์โครงสร้างประโยคและใจความสำคัญของย่อหน้า
- ทักษะในการจับประเด็นและสาระสำคัญ
- การใช้ภาษาที่ถูกต้อง(ภาษาหนังสือราชการ)
- สำนวนที่ใช้ในหนังสือราชการประเภทต่างๆ อาทิ
* หนังสือขอความอนุเคราะห์
* หนังสือปฏิเสธ
* หนังสือเชิญเป็นวิทยากร
* ฯลฯ
- รายละเอียด
- เขียนโดย Soparwan Laubuddee
- หมวด: ธุรการและสารบรรณ
สรุปเนื้อหาการเขียนหนังสือราชการภายในและภายนอก
ปัจจุบันงานสารบรรณมีระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับได้แก่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารรณ พ.ศ. 2556 และระเบียบ
งานสารบรรณ พ.ศ. 25548 ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมคำนิยามเกี่ยวกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และคำว่าระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนหนังสือ
1. เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ระหว่างผู้ส่งและผู้รับหนังสือ
2. สามารถสื่อสารความหมายได้ถูกต้อง ตรงประเด็น และเข้าใจตรงกัน
3. ประหยัดเวลา ในการตีความ ไม่ต้องสอบถามหรือเขียนใหม่ นำกลับมาอ่านทบทวน ทำความเข้าใจได้หลายครั้งเท่่าที่ต้องการ
4. สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้
5. ใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่
6. เป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
ความหมายของหนังสือราชการ
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือส่วนราชการมีไปถึงส่วนราชการอื่นใด ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือส่วนราชการอื่นใด ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือขัอบังคับ
ความแตกต่างของหนังสือภายในและภายนอก และบันทึก
หนังสือภายนอก |
หนังสือภายใน |
บันทึก |
1. ติดต่อระหว่างกระทรวง หรือบุคคลภายนอก 2. ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าส่วนราชการะดับกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3. ใช้รูปแบบหนังสือภายนอก “กระดาษตราครุฑ” มีเรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย 4. เป็นพิธีการเต็มรูปแบบ ออกเลขที่ทุกครั้ง 5. ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย 6. มีสำเนาคู่ฉบับและสำเนาครบถ้วน |
1. ติดร่อระหว่างกรม หรือเทียบเท่าในสังกัดกระทรวงเดียวกัน 2. ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าส่วนราชการะดับกรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3. ใช้รูปแบบหนังสือภายใน “กระดาษบันทึกขอความ” มีเฉพาะ เรื่อง เรียน 4. เป็นทางการ ออกเลขที่ แต่เป็นพิธีการน้อยกว่าหนังสือภายนอก 5. ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย 6. มีสำเนาคู่ฉบับ |
1. ติดต่อภายในกรมเดียวกัน 2. หัวหน้าส่วนราชการ ห หรือเจ้าหน้าที่สามารถลงนามได้ 3. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ หรือกระดาษอื่นได้ จะมีชื่อเรื่อง หรือไม่มีก็ได้ 4. เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ออกเลขที่ภายใน หรือไม่มีเลขที่ก็ได้ 5. พิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือก็ได้ 6. อาจไม่มีสำเนาก็ได้ |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526†‡
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2506 เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ เอกสารแนบ
ตัวอย่างหนังสือราชการภายในและภายนอก (บันทึกข้อความ)..ที่ถูกต้อง...สามารถดาว์โลด์ได้ที่
แบบฟอร์มหนังสือภายใน (บันทึกข้อความ)
แบบฟอร์มหนังสือราชการภายนอก