ฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพองค์กร และงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตรกองบริการการศึกษา สร้างความเข้าใจ การวางแผนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบ OBE และแบบ AUN-QA 

คำนิยาม (OBE) Outcome-Based Education   ผลลัพธ์การเรียนรู้ หมายความว่า ผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา ฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ หรือกระบวนการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษา  (ราชกิจจานุแบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 20 ก หน้า 4 31 มีนาคม 2565)  ผู้บรรยายอธิบายความเข้าใจในตัวย่อที่เกี่ยวข้องกับ (OBE)  ทั้งสิ้น 6 ตัวย่อดังนี้

LO     Learning Outcome                      CLO  Course Learning Outcome

PLO   Program Learning Outcome          LLO Lesson Learning  Outcome

YLO   Year Learning Outcome               K-S-A   Knowledge -Skill -Attitude

ซึ่งการปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทาง Outcome-Based Education  (OBE) มีแนวทางดังนี้

1.วิเคราะห์ Steakholders’ needs  โดยคำนึงถึง 3 หัวข้อหลัก คือ มาตรฐานสากล  vision Mission ของมหาวิทยาลัย และมาตรฐานคุณวุมิระดับอุดมศึกษา

2. การกำหนด Graduate Attributes(GA)

3.สร้าง PLOs

4.วิเคราะห์ความสอดคล้องของ PLOs กับ Steakholders Need และ Graduate Attributes

5.กำหนด K-A-S ที่สอดคล้องกับ ญศฯPLOs

6.กำหนด CLOs

7.กำหนด LLOs

          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ให้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ตามแนวทาง OBE แบ่งเป็น 2 กรณี

          กรณีที่ 1 หลักสูตรปรับปรุงแล้ว

แนวทางที่ (1) ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ (ปรับใหญ่)

แนวทางที่ (2)  1.ใช้ PLOs ของหลักสูตร(ถ้ามี) หรือสิ่งที่หลักสูตรเลือกแปลงมาเป็น PLOs (หมวด 5 “มาตรฐานผลการเรียนรู้” หรือหมวด 2 “วัตถุประสงค์หลักสูตร”) และ เพิ่มคำอธิบาย PLOs ในหมวด 5 หรือ หมวด 2

2.ปรับรายวิชา/กระบวนการวิธีการสอน/การวัดประเมินผล ที่สอดคล้องกับ PLOs(ปรับปรุงย่อย)  กระบวนการปกติที่หลักสูตรที่หลักสูตรต้องดำเนินการตาม IQA

3.หลักสูตรดำเนินการต่อเนื่องจนกว่าจะถึงรอบการปรับปรุงหลักสูตร

          กรณีที่ 2 หลักสูตรที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรใหม่ สรุปได้ 14 ข้อ ดังนี้

1.กำหนดและวิเคราะห์ Steakholders ที่จำเป็นและสำคัญของหลักสูตร

2.กำหนดวิธีการหรือเครื่องมือเพื่อให้ได้วึ่งข้อมูลความต้องการของ Steakholders แต่ละกลุ่ม

3.นำ Steakholder’s needs มากำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์(GAs) ของแต่ละหลักสูตร

4.นำคุณลักษณะคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์(GAs) ของแต่ละหลักสูตรมากำหนด PLOs ของหลักสูตร

5. PLOs ที่กำหนดจะต้องประกอบด้วย ความคาดหวังการเรียนรู้ ทั้ง 2 ส่วน คือ Generic Outcomes และ Subject Specific Outcomes

6.นำ PLOs แต่ละ PLOs มากำหนดเป็น K-S-A และ นำ K-S-A มาจัดกลุ่ม เพื่อกำหนดเนื้อหาสาระวิชา

7.นำเนื้อหาสาระรายวิชามาจัดเรียง “ความเหมาะสม” ของรายวิชาที่จะสอนเพื่อผู้เรียนบรรลุ PLOs ตามที่ต้องการ การลำดับการเรียนรู้

8.นำ PLOs มากำหนดย่อยเป็น YLOs  CLOs และ LLOs

9.กำหนดกระบวนการเรียนการสอนของหลักสูตร ต้องสอดคล้องกับ “ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย” และ PLOs /CLOs และ LLOs

10.หลักสูตรกำหนด “วิธีการประเมินผู้เรียนที่หลากหลาย” สอดคล้องกับ Learning Level ที่กำหนดตาม PLOs ของหลักสูตร

11.วิธีการวัดการประเมินผลต้องแสดงให้เห็นความตรง ความเที่ยง และไม่ลำเอียงของเครื่องมือ เช่น แบบประเมินที่วัดใจเชิงความคิดเห็น ควรเป็น Rubrics/ ข้อสอบควรมีการวิเคราะห์ข้อสอบ

12.กิจกรรมการเรียนการสอนควรเป็นแบบ Active Learning ที่หลากหลาย ส่งเสริมแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการและการคิดเชิงนวัตกรรม

13.หลักสูตร ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องของการวัดและประเมินผล การจัดการข้อร้องเรียน และสื่อสารไปยังกลุ่ม Stakeholders ที่สำคัญ

14.เสนอการปรับปรุงหลักสูตร/หลักสูตรใหม่ต่อฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ(คณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการบริหารวิชาการ คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองฯ สภามหาวิทยาลัยฯ สป.อว.(CHECO)

นอกจากนี้ แสดงการเปรียบเทียบ มคอ.2 กับProgram Specification ให้เห็นความสอดคล้อง การรวมกันระหว่างหมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร  กับหมวดที่ 4 ผลลัพธ์การเรียนรู้ กลยุท์การสอนและประเมินผล ในมคอ.2 รวมเป็นหมวดที่ 2 ปรัชญา วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ใน Program Specification   และหมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ และหมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร รวมเป็นหมวดที่ 9 ระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร

ฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพองค์กร และงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตรกองบริการการศึกษา แจ้งตารางการทำงานของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ปี 2566 เวลาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึงเดือนตุลาคม 2566 หัวข้อการให้ความรู้การทำงานประกันคุณภาพการศึกษา การฝึกจัดอบรมให้ความรู้ workshop  การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน  อบรมฝึกทักษะการเขียนรายงาน SAR กำหนดส่งรายงาน SAR

เพื่อให้การดำเนินงานด้านการประกันคุรภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมาย  ฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพองค์กร และงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตรกองบริการการศึกษา สร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบ OBE  เบื้องต้น และอธิบายให้เห็นภาพรวมกำหนดการการทำงานประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดปี 2566

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประชุมชี้แจงหารือวางแผนดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบ OBE และ AUN QA  วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2566

ณ ห้องประชุม SEC 201 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ความรู้ที่ได้จากการประชุม ดังนี้

1.      นำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตามแนวทาง Outcome-

Based Education : OBE และกรณีหลักสูตรปรับปรุงแล้ว และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตามแนวทาง Outcome-Based Education : OBE กรณีหลักสูตรที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรใหม่ ทบทวน PLOs ของหลักสูตร (ถ้ามี) เช่น มคอ. 2 หมวด 5 มาตราฐานผลการเรียนรู้  หรือ หมวด 2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หรือ TQF  สามารถตอบข้อคำถามการจัดทำหลักสูตรที่เน้น OBE ตามเกณฑ์     AUN QA

2.      นำรายละเอียดข้อมูลหลักสูตร มคอ. 2 เดิม เทียบกับ Program Specification หมวดที่ 2

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร  และหมวดที่ 4  ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและประเมินผล เทียบกับ หมวดที่ 2 ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้  หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร เทียบกับ หมวดที่ 3 โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา และหมวดที่ 4 การจัดกระบวนการเรียนรู้  หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา เทียบกับหมวดที่ 7 การประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาและการทวนสอบ   หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ และหมวดที่ 8  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร   เทียบกับ หมวดที่ 9 ระบบกลไกในการพัฒนาหลักสูตร  หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร  เทียบกับ หมวดที่  8  ประกันคุณภาพหลักสูตร

3.      งานพัฒนาคุณภาพองค์กร กองแผนงาน สนับสนุนหลักสูตรรองรับการประเมินรวบรวมข้อมูล

กฎ ระเบียบ นโยบานที่เกี่ยวข้อง (ตาม Criterion ที่ 3-7)  รวบรวมกลไกระบบสนับสนุนที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานส่วนกลาง (สนับสนุนตามหลักสูตร ตาม Criterion ที่ 5-7)  ระบบสารสนเทศกลาง การประเมินความพึงพอใจการบริการและคุณภาพประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ รวบรวมข้อมูลย้อนหลังภาระมีงานทำ  ความพึงพอใจของนายจ้าง  ความพึงพอใจของบัณพิตต่อหลักสูตร

4.       แผนการดำเนินการรายละเอียดกำหนดการการอบรมให้ความรู้ วิธีการเขียนรายงานประเมิน

ตนเอง  กำหนดส่ง SAR  และกำหนดหลักสูตรเพื่อรับการตรวจประเมินตามเกณฑ์ AUA QA ประจำปี 2566