- รายละเอียด
- เขียนโดย Pathomporn Boonchalauy
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
1. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
2. จำนวนอาจารย์ประจำ
สูตรการคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
1. คำนวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours: SCH) คือผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับจำนวนหน่วยกิตแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนทุกรายวิชาตลอดปีการศึกษา
สูตร
SCH =Snici
เมื่อ ni = จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชาที่ 1
ci = จำนวนหน่วยกิตของวิชาที่
2. คำนวณค่า FTES โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES)
= Student Credit Hours (SCH) ทั้งปี
จำนวนหน่วยกิตต่อปีการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการลงทะเบียนในระดับปริญญานั้นๆ
การปรับจำนวนในระหว่างปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
(กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
= FTES ระดับปริญญาตรี +(1.8 x FTES ระดับบัณฑิตศึกษา)
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ 25 : 1
แต่ถ้าจำนวนไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องนำมาคำนวณหาค่าความแตกต่าง
สูตรการคำนวณ
1.คำนวณหาค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐานและนำมาคิดเป็นค่าร้อยละ
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาที่เป็นจริง-สัดส่วนจำนวนนักนักศึกษาเต็มเวลาตามเกณฑ์มาตรฐาน x100
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.นำค่าร้อยละจาก ข้อ 1 มาคำนวณ คะแนนดังนี้
2.1 ค่าร้อยละไม่เกิน ร้อยละ 10 คิดเป็น 5 คะแนน
2.2 ค่าร้อยละเกิน ร้อยละ 20 คิดเป็น 0 คะแนน
2.3 ค่าร้อยละตั้งแต่ 10.01 และไม่เกินร้อยละ 20 ให้นำมาคิดคะแนน ดังนี้
คะแนนที่ได้ = (20-ค่าร้อยละที่คำนวณได้จากข้อ 1) x 5
10
ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างที่ 1
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่ง = 24
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน = 24-25 x 100
25
= ร้อยละ -4 ได้คะแนน 5 คะแนน
ตัวอย่างที่ 2
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่ง = 28
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน = 28-25 x 100
25
= ร้อยละ 12
แปลงค่าความแตกต่างเป็นคะแนน เท่ากับ 20-12 = 8
ได้คะแนน = 8 x 5 = 4
10
- รายละเอียด
- เขียนโดย Laongdao Sridakot
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
๑. ข้อคิดเห็นจากการประชุม อบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน
จากการที่ได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจถึงกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่เคยประกันแค่ระดับคณะ และระดับสถาบัน ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาลงไปถึงระดับหลักสูตร ซึ่งเป็นการรับประกันว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะตรงตามวิสัยทัศน์ของคณะ และในขณะเดียวกันหากการประกันสามารถทำได้ครบทุกขั้นตอน เช่น คณะกำหนดวิสัยทัศน์ว่าต้องการผลิตที่มีจุดเด่นทางด้านใดมากที่สุด หลักสูตรก็จะต้องจัดทำเนื้อหาของหลักสูตร และกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกมาตามวิสัยทัศน์นั้น
๒. ข้อเสนอแนะจากการประชุม อบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน
ในฐานะที่เป็นเลขาหลักสูตรการท่องเที่ยว รู้สึกดีใจที่อาจารย์ในหลักสูตรท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้ารับฟังการอบรมในครั้งนี้ อีกทั้งยังซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร แต่อาจารย์ในหลักสูตรอื่น ๆ เข้าร่วมรับฟังน้อย และที่สำคัญผู้บริหารทุกคนน่าจะให้ความสำคัญเนื่องจากการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการกำหนดทิศทางการทำงานของคณะ ที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ และสามารถนำมาประยุกต์ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของรองคณบดีที่กำกับดูแลงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ารับฟังเพียงคนเดียว
แผนการนำเนื้อหาการอบรมมาประยุกต์อย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากมอบหมายให้รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในการประกันระดับหลักสูตร และ ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในการประกันระดับหลักสูตร
- การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
- จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ
- มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
- จัดเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ ของงานกิจการนักศึกษาเป็นการทำงานที่มีการวางแผนการทำงานไว้ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา มีการกำหนดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นปฏิทินตลอดปีการศึกษารอบปีการประเมินที่ผ่านมาองค์ประกอบที่ 1.5 ได้รับค่าคะแนนการประเมินเป็น 5 คะแนนเต็ม ซึ่งถือว่าการจัดทำเอกสารครบถ้วนตามเกณฑ์ ส่วนในปีการศึกษา 2559 มีแผนที่จะปรับปรุงการแจกแบบสอบถาม ความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตร ให้ได้รับกลับคืนไม่น้อยกว่า 90% โดยการแจกในขณะที่บัณฑิตเข้าโรงละครครบถ้วนแล้ว นักศึกษาช่วยงานดูแลพี่บัณฑิต 1 คน ต่อ 1 แถวที่นั่ง แจกแบบสอบถามให้พี่บัณฑิต ให้เวลาในการกรอก 5 นาที นักศึกษาช่วยงานเดินเก็บกลับคืน ตรวจสอบจากเลขที่ชุดแบบสอบถาม เพื่อติดตามแบบประเมินที่ยังไม่ส่งคืน
และการตอบกลับแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตไม่น้อยกว่าเกณฑ์ 20% ของบัณฑิตที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งการดำเนินการทั้งสองอย่างเริ่มดำเนินการไปแล้ว และจะเสร็จสิ้นในวันรับพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2559 ประมาณเดือนธันวาคม 2560
สิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว
1. ตั้งกลุ่มเฟสบุ๊คนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559
2. รวบรวมนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559 ให้เข้าร่วมกลุ่ม
3. ชี้แจงถึงความจำเป็นในการให้ผู้ใช้บัณฑิตตอบแบบสอบถามที่ส่งให้นักศึกษา ทางเมล์ เฟสบุ๊ค
ใกล้กำหนดการรับปริญญาแจ้งบัณฑิตทางเฟสบุ๊คอีกครั้งเป็นรายบุคคลว่าสามารถดาวน์โหลดแบบประเมิน ได้หลายช่องทาง หรือให้ส่งให้ทางไปรษณีย์ตามความประสงค์ของบัณฑิต
สิ่งที่ต้องดำเนินการในวันฝึกซ้อมที่คณะ
1. เก็บรวบรวมแบบประเมินจากบัณฑิต
2. ตรวจนับจำนวนแบบประเมินที่ได้รับกลับคืน
3. แจ้งผลการดำเนินการให้บัณฑิตรับทราบและแจ้งให้ส่งได้สำหรับคนที่ยังไม่ได้นำส่ง
4. สรุปผลการดำเนินงานแจ้งผู้บริหารรับทราบ