- รายละเอียด
- เขียนโดย MONTIDA JANON (SOPA)
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
การฝึกอบรมการออกแบบหลักสูตรตามแนวทางการจัดการการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
เพื่อการประเมินเกณฑ์ AUN-QA ระยะที่ 2
AUN-QA เป็นระบบการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับหลักสูตร เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในระดับสากล โดยวัตถุประสงค์หลักของ AUN-QA นั้น ได้แก่
1. เพื่อการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มประเทศอาเซียน
2. เพื่อเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนผู้เรียนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
3. เพื่อมุ่งสู่การเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา
4.เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านคุณภาพการศึกษารในเขตภูมิภาคอื่นเพื่อให้กรอบมาตรฐานคุณภาพระดับอุดมศึกษามีความสอดคล้องกัน
5.เพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญในด้านประกันคุณภาพของกลุ่มประเทศอาเซียน
หลักการและเหตุผลของ AUN-QA นั้น มุ่งเน้นและให้ความสำคัญ 8 ประการได้แก่
1. คุณภาพบัณฑิต
2. ความคาดหวังของตลาดแรงงาน
3. การสร้างความเป็นสากลให้กับสายอาชีพ และการมุ่งสู่งความเป็นโลกาภิวัติ
4. การปกป้องลูกค้า หรือผู้ใช้บัณฑิต
5. การขยายขอบเขตการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำสู่การอุดมศึกษาในระดับมวลชน
6. การตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
7. การให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับคุณภาพของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
8. การสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนผู้เรียนและความร่วมมือระหว่างประเทศ
AUN-QA มุ่งเน้นให้หลักสูตรมีความสอดคล้องระหว่างการออกแบบเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน การออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน และการออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ หรือ การดำเนินการอย่างเป็นระบบ หากหลักสูตรมีการพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ และวางแผนการดำเนินการ ตลอดจนบริหารหลักสูตรอย่างเป็นระบบแล้ว หลักสูตรย่อมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รอบด้าน ไม่เพียงแต่ผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้สอน สถาบัน รวมถึงหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ อีกด้วย
การดำเนินการอย่างเป็นระบบนี้เอง ยังก่อให้เกิดประโยชน์กับคณะ ที่ดำเนินการหลักสูตรนั้น ๆ ด้วย กล่าวคือ คณะ ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามแนวทาง EdPEx หรือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศแล้ว การดำเนินการบริหารหลักสูตรตามแนวทาง AUN-QA นั้นจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนากระบวนการทำงานในด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของคณะและมหาวิทยาลัยอีกด้วย
Program Learning Outcomes (PLOs) สิ่งที่หลักสูตร ต้องการ/คาดหวัง ให้บัณฑิตเป็น เมื่อเรียน ครบตามโปรแกรม ของหลักสูตร
ซึ่ง PLO (Program Learning Outcome) ผู้เรียนสามารถทาอะไรได้หลังจากเรียนสาเร็จหลักสูตร ต้องมี knowledge, skills, attitude อะไรบ้าง ซึ่ง PLO ต้องเชื่อมโยงกับความต้องการของ Stakeholders และ vision, mission ของมหาวิทยาลัย สามารถตอบสนองนโยบายของประเทศและมหาวิทยาลัยได้
- รายละเอียด
- เขียนโดย Patcharee Wongchoo
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
การอบรมการจัดทำระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรคณะศิลปศาสตร์
ประจำปีการศึกษา 2559
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความรู้ที่ได้จากการอบรม มีดังนี้
องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตรประกอบด้วย
1. การกำกับมาตรฐาน
2. บัณฑิต (คิดเป็นค่าคะแนนจากแบบสอบถาม)
3. นักศึกษา
4. อาจารย์
5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
(ข้อ 3 ถึง 5 คิดเป็นค่าคะแนนจาก กระบวนการทำงาน บริหารหลักสูตร โดยไล่ระดับการทำงาน จากคะแนน 0 ถึง 5)
ระบบและกลไก
ระบบ หมายถึง ระเบียบหรือความเชื่อมโยงของขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานดำเนินการลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น เช่น การจัดระบบงานต่างๆ
กลไก หมายถึง บุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ กิจกรรม และหน่วยย่อยต่างๆ ที่สนับสนุนเชื่อมโยง ประสานสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยให้การดำเนินภารกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ดำเนินไปได้อย่างคล่องตัวสม่ำเสมอ และครบวงจรตามระบบที่ได้กำหนดไว้
โดยวิทยากรจะกล่าวถึงภาพรวมของเกณฑ์ คะแนนที่แต่ละหลักสูตรได้รับในแต่ละตัวบ่งชี้ ตัวอย่างการเขียนข้อมูลการดำเนินการของหลักสูตรอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาการดำเนินการ
ประเด็นตัวอย่างในการอบรม
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา หลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าจะเน้นประเด็นใด/ จะสร้างระบบและกลไกออกมาในรูปแบบใด พร้อมทั้ง ทดลองร่างระบบและกลไกเกี่ยวกับ 1) การรับนักศึกษา และ 2) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ทั้งนี้ การอธิบายกระบวนการจะเริ่มจากในระดับมหาวิทยาลัย คณะ จนถึงหลักสูตร เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งระบบ จากความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดทำระบบและกลไกในส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่อไปได้