- รายละเอียด
- เขียนโดย Pantara Sirithawee
- หมวด: อื่นๆ
ผังงาน (Flowchart)
- แผนภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอนคำอธิบายข้อความหรือคำพูดที่ได้อัลทิริทึม (Algorithm) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบายข้อความหรือคำพูด หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
- เป็นเครื่องมือที่ใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้ห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ผังงานระบบ (System Flowchart)
- ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
ผังงานระบบ (System Flowchart)
ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลึกลงในระบบงานย่อย แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพท์ และลำดับขั้นการทำงาน
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรมตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพท์ของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step)
การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น
โปรแกรมประกอบด้วยกระบวนการ 3 รูปแบบ
1. การทำงานตามลำดับ เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุด คือการเขียนการทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัดและทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดถึงบรรทัดล่างสุด
2.การเลือกระทำตามเงื่อนไข การตัดสินใจหรือเลือกเงื่อนไข คือเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำโดยปกติจะมีเหตุการณ์ 2 กระบวน คือเงื่อนไขเป็นจริงและเงื่อนไขเป็นเท็จ
3. การกระทำซ้ำ คือการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม
ประโยชน์ของผังงาน
1. ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานโปรแกรมและสามารถนำไปใช้เขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
2. ช่วยให้การตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายเมื่อเกิดข้อผิดพลาด
3. ช่วยให้การดัดแปลงแก้ไขทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น
4. ช่วยให้เข้าใจลำดับและความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนในการทำงาน
ข้อจำกัดของผังงาน
1. ใช้สื่อความหมายระหว่างบุคคลมากกว่า
2. ไม่ทราบลำดับความสำคัญของแต่ละขั้นตอน
3. ผังงานจะบอกเพียงลำดับอย่างไรและปฏิบัติอย่างไร
4. ผังงานไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจน
- รายละเอียด
- เขียนโดย Soparwan Laubuddee
- หมวด: คลังความรู้
ผังงานคืออะไร Flowchart
- แผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm
หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
- เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิดเพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงาน
ที่ชัดเจน และใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น
ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนำมาใช้เพื่อพัฒนางาน ในการเขียนผังการทำงานแสดงถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจน และใช้เขียนขั้นตอนได้ง่ายกว่าการใช้โปรแกรม Microsoft Word
- รายละเอียด
- เขียนโดย Thitinun Poonikom
- หมวด: อื่นๆ
ผังงาน (Flowchart)
- แผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm
หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
- เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิดเพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงาน
ที่ชัดเจน และใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น
ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนำมาใช้เพื่อพัฒนางาน ในการเขียนผังการทำงานแสดงถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจน และใช้เขียนขั้นตอนได้ง่ายกว่าการใช้โปรแกรม Microsoft Word
- รายละเอียด
- เขียนโดย Patcharee Wongchoo
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
การอบรมการจัดทำระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรคณะศิลปศาสตร์
ประจำปีการศึกษา 2559
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความรู้ที่ได้จากการอบรม มีดังนี้
องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตรประกอบด้วย
1. การกำกับมาตรฐาน
2. บัณฑิต (คิดเป็นค่าคะแนนจากแบบสอบถาม)
3. นักศึกษา
4. อาจารย์
5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
(ข้อ 3 ถึง 5 คิดเป็นค่าคะแนนจาก กระบวนการทำงาน บริหารหลักสูตร โดยไล่ระดับการทำงาน จากคะแนน 0 ถึง 5)
ระบบและกลไก
ระบบ หมายถึง ระเบียบหรือความเชื่อมโยงของขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานดำเนินการลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น เช่น การจัดระบบงานต่างๆ
กลไก หมายถึง บุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ กิจกรรม และหน่วยย่อยต่างๆ ที่สนับสนุนเชื่อมโยง ประสานสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยให้การดำเนินภารกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ดำเนินไปได้อย่างคล่องตัวสม่ำเสมอ และครบวงจรตามระบบที่ได้กำหนดไว้
โดยวิทยากรจะกล่าวถึงภาพรวมของเกณฑ์ คะแนนที่แต่ละหลักสูตรได้รับในแต่ละตัวบ่งชี้ ตัวอย่างการเขียนข้อมูลการดำเนินการของหลักสูตรอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาการดำเนินการ
ประเด็นตัวอย่างในการอบรม
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา หลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าจะเน้นประเด็นใด/ จะสร้างระบบและกลไกออกมาในรูปแบบใด พร้อมทั้ง ทดลองร่างระบบและกลไกเกี่ยวกับ 1) การรับนักศึกษา และ 2) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ทั้งนี้ การอธิบายกระบวนการจะเริ่มจากในระดับมหาวิทยาลัย คณะ จนถึงหลักสูตร เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งระบบ จากความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดทำระบบและกลไกในส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
- รายละเอียด
- เขียนโดย Pathomporn Boonchalauy
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
1. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
2. จำนวนอาจารย์ประจำ
สูตรการคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
1. คำนวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours: SCH) คือผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับจำนวนหน่วยกิตแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนทุกรายวิชาตลอดปีการศึกษา
สูตร
SCH =Snici
เมื่อ ni = จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชาที่ 1
ci = จำนวนหน่วยกิตของวิชาที่
2. คำนวณค่า FTES โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES)
= Student Credit Hours (SCH) ทั้งปี
จำนวนหน่วยกิตต่อปีการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการลงทะเบียนในระดับปริญญานั้นๆ
การปรับจำนวนในระหว่างปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
(กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
= FTES ระดับปริญญาตรี +(1.8 x FTES ระดับบัณฑิตศึกษา)
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ 25 : 1
แต่ถ้าจำนวนไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องนำมาคำนวณหาค่าความแตกต่าง
สูตรการคำนวณ
1.คำนวณหาค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐานและนำมาคิดเป็นค่าร้อยละ
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาที่เป็นจริง-สัดส่วนจำนวนนักนักศึกษาเต็มเวลาตามเกณฑ์มาตรฐาน x100
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.นำค่าร้อยละจาก ข้อ 1 มาคำนวณ คะแนนดังนี้
2.1 ค่าร้อยละไม่เกิน ร้อยละ 10 คิดเป็น 5 คะแนน
2.2 ค่าร้อยละเกิน ร้อยละ 20 คิดเป็น 0 คะแนน
2.3 ค่าร้อยละตั้งแต่ 10.01 และไม่เกินร้อยละ 20 ให้นำมาคิดคะแนน ดังนี้
คะแนนที่ได้ = (20-ค่าร้อยละที่คำนวณได้จากข้อ 1) x 5
10
ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างที่ 1
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่ง = 24
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน = 24-25 x 100
25
= ร้อยละ -4 ได้คะแนน 5 คะแนน
ตัวอย่างที่ 2
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่ง = 28
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน = 28-25 x 100
25
= ร้อยละ 12
แปลงค่าความแตกต่างเป็นคะแนน เท่ากับ 20-12 = 8
ได้คะแนน = 8 x 5 = 4
10
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ
- รายละเอียด
- เขียนโดย Ms. Phattanee Jareanthat
- หมวด: การเงินและบัญชี
1.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว(ภาระกิจอื่น เช่น ประชุมชี้แจง )
2.ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ
ประเภททั่วไป ระดับ ทักษะพิเศษ
ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ,ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ
ประเภทอำนวยการ ระดับสูง
ประเภทบริหาร ระดับต้น ,ระดับสูง
ประเภทการฝึกอบรม | ค่าเช่าห้งอพักคนเดียว | ค่าเช่าห้องพักคู่ |
1. การฝึกอบรมประเภท ก 2.การฝึกอบรมประเภท ข 3.การฝึกอบรมบุคคลภายนอก |
1.ไม่เกิน 2,400.-บาท 2.ไม่เกิน 1,450.-บาท 3. ไม่เกิน1,200.-บาท |
1.ไม่เกิน 1,300.-บาท 2. ไม่เกิน 900.-บาท 3. ไม่เกิน 750.-บาท |
- รายละเอียด
- เขียนโดย Konrawee Srijoem
- หมวด: คลังความรู้
Flowchart is created for presenting the process or steps of our work. It is also a tool used for gathering and organizing our thought to be clear in planing the working procedures.
Types of Flowchart
1. System flowchart is used for showing the procedures of the system,media,data processing, and workflow.
2. Program flowchart is used for showing the procedures of program instruction in order to make a plan or gather ideas in order to create a program displaying the instruction step by step.
Flowchart Symbols
1. Terminator
2. Data (Input/Output)
3. Decision
4. Process
5. Document
6. On-page reference
7. Off-page reference
8. Arrow
Learn & share
1. To use Microsoft Visio 2013 to create a correct flowchart relevant to my own main job.
2. To apply the completed and informative flowchart effectively and practically.
- รายละเอียด
- เขียนโดย Teerayut Tongbor
- หมวด: อื่นๆ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม
หัวข้อการปรับยุทธศาสตร์การกำกับดูแลและสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา (Reprofiling)
1.ได้ทราบแนวการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับโลกของระบบดิจิตอล ในอนาคตการจะรับนักศึกษาต้องดูสภาพความพร้อมของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศ ทั้งสายวิชาการสายและสายสนับสนุน จะต้องมีความพร้อมทั้งในด้านหลักสูตรที่ต้องตอบสนองต่อตลาดแรงงาน เพราะบัณฑิตที่จบไปต้องมีงานทำตรงกับสายงานที่เรียน
2.คณะและหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ต้องสร้างบัณฑิตที่ตอบโจทย์ของตลาดแรงงาน เช่น ถ้าสาขาใด สอนเกี่ยวกับการสอบเข้ารับราชการ นักศึกษาที่จบก็ต้องสามารถสอบภาค ก. ผ่านไม่ต่ำกว่า 30% หากการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานหรือหลักสูตรไม่สอดคล้องกับนโยบายความต้องการของประเทศควรมีการปรับเปลี่ยน เช่น ปิดหลักสูตรนั้น
3.ด้านสายสนับสนุนการเรียนการสอน ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อโลกอาเซียน อาคารเรียน ห้องเรียนต้องทันต่อโลกเทคโนโลยีดิจิตอล ต้องมีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลากับโลกที่เปลี่ยนไปเร็ว
- รายละเอียด
- เขียนโดย Premsit Sriponthong
- หมวด: คลังความรู้
พิธีกร (Master of Ceremony: MC) |
คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
การเตรียมตัวในการทำหน้าที่พิธีกร
1. ศึกษาข้อมูล / วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้นำ ผู้ชม โอกาส วัตถุประสงค์ของงานพิธี รายการที่กำหนดไว้ เพื่อทราบความมุ่งหมาย ของการทำหน้าที่ จุดเด่นที่ควรกล่าวถึง ต้องเตรียมค้นคว้า ศึกษาจากศูนย์ข้อมูลมาให้พร้อม 3. ตรวจสอบความเหมาะสม ของบทความที่เตรียมมาว่าเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
การใช้เสียงในการพูดพิธีกรภาคภาษาอังกฤษ Good Voice stress การออกเสียงที่ถูกต้อง intronation การใช้เสียงสูง - ต่ำ Pauses สามารถช่วยคนฟังหยุดได้ Pronunciation สำเนียง Volume ความดัง เบา ในการใช้เสียง (งานทางการ งานรื่นเริง) Rate/Speed ความช้า เร็วในการพูด |
96 Normal 0 false false false EN-US X-NONE X-NONE /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Calibri; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;}
- รายละเอียด
- เขียนโดย Laongdao Sridakot
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
๑. ข้อคิดเห็นจากการประชุม อบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน
จากการที่ได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจถึงกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่เคยประกันแค่ระดับคณะ และระดับสถาบัน ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาลงไปถึงระดับหลักสูตร ซึ่งเป็นการรับประกันว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะตรงตามวิสัยทัศน์ของคณะ และในขณะเดียวกันหากการประกันสามารถทำได้ครบทุกขั้นตอน เช่น คณะกำหนดวิสัยทัศน์ว่าต้องการผลิตที่มีจุดเด่นทางด้านใดมากที่สุด หลักสูตรก็จะต้องจัดทำเนื้อหาของหลักสูตร และกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกมาตามวิสัยทัศน์นั้น
๒. ข้อเสนอแนะจากการประชุม อบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน
ในฐานะที่เป็นเลขาหลักสูตรการท่องเที่ยว รู้สึกดีใจที่อาจารย์ในหลักสูตรท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้ารับฟังการอบรมในครั้งนี้ อีกทั้งยังซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร แต่อาจารย์ในหลักสูตรอื่น ๆ เข้าร่วมรับฟังน้อย และที่สำคัญผู้บริหารทุกคนน่าจะให้ความสำคัญเนื่องจากการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการกำหนดทิศทางการทำงานของคณะ ที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ และสามารถนำมาประยุกต์ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของรองคณบดีที่กำกับดูแลงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ารับฟังเพียงคนเดียว
แผนการนำเนื้อหาการอบรมมาประยุกต์อย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากมอบหมายให้รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในการประกันระดับหลักสูตร และ ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในการประกันระดับหลักสูตร
- การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
- จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ
- มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
- จัดเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ ของงานกิจการนักศึกษาเป็นการทำงานที่มีการวางแผนการทำงานไว้ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา มีการกำหนดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นปฏิทินตลอดปีการศึกษารอบปีการประเมินที่ผ่านมาองค์ประกอบที่ 1.5 ได้รับค่าคะแนนการประเมินเป็น 5 คะแนนเต็ม ซึ่งถือว่าการจัดทำเอกสารครบถ้วนตามเกณฑ์ ส่วนในปีการศึกษา 2559 มีแผนที่จะปรับปรุงการแจกแบบสอบถาม ความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตร ให้ได้รับกลับคืนไม่น้อยกว่า 90% โดยการแจกในขณะที่บัณฑิตเข้าโรงละครครบถ้วนแล้ว นักศึกษาช่วยงานดูแลพี่บัณฑิต 1 คน ต่อ 1 แถวที่นั่ง แจกแบบสอบถามให้พี่บัณฑิต ให้เวลาในการกรอก 5 นาที นักศึกษาช่วยงานเดินเก็บกลับคืน ตรวจสอบจากเลขที่ชุดแบบสอบถาม เพื่อติดตามแบบประเมินที่ยังไม่ส่งคืน
และการตอบกลับแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตไม่น้อยกว่าเกณฑ์ 20% ของบัณฑิตที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งการดำเนินการทั้งสองอย่างเริ่มดำเนินการไปแล้ว และจะเสร็จสิ้นในวันรับพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2559 ประมาณเดือนธันวาคม 2560
สิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว
1. ตั้งกลุ่มเฟสบุ๊คนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559
2. รวบรวมนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559 ให้เข้าร่วมกลุ่ม
3. ชี้แจงถึงความจำเป็นในการให้ผู้ใช้บัณฑิตตอบแบบสอบถามที่ส่งให้นักศึกษา ทางเมล์ เฟสบุ๊ค
ใกล้กำหนดการรับปริญญาแจ้งบัณฑิตทางเฟสบุ๊คอีกครั้งเป็นรายบุคคลว่าสามารถดาวน์โหลดแบบประเมิน ได้หลายช่องทาง หรือให้ส่งให้ทางไปรษณีย์ตามความประสงค์ของบัณฑิต
สิ่งที่ต้องดำเนินการในวันฝึกซ้อมที่คณะ
1. เก็บรวบรวมแบบประเมินจากบัณฑิต
2. ตรวจนับจำนวนแบบประเมินที่ได้รับกลับคืน
3. แจ้งผลการดำเนินการให้บัณฑิตรับทราบและแจ้งให้ส่งได้สำหรับคนที่ยังไม่ได้นำส่ง
4. สรุปผลการดำเนินงานแจ้งผู้บริหารรับทราบ
- รายละเอียด
- เขียนโดย Natthwut Sompawa
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
หัวข้อการนำเสนอดำเนินงานตามวงจร PDCA
งานประกันคุณภาพการศึกษาและงานกิจการนักศึกษา คือ
1. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของงานกิจการ นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานประกันคุณภาพ
2. สามารถจัดทำแผน ตลอดจนประเมินผลการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการและกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
3. นำความรู้ และทักษะด้านประกันคุณภาพไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
กระบวนการและวิธีการประกันคุณภาพมีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพที่เกี่ยวกับงานกิจการนักศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
PLAN
1. การทบทวน และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมา
2. การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
3. แผนการจัดกิจกรรมควรครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติทั้ง 5 ประการ/ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะและมหาวิทยาลัย/ และเกณฑ์ มาตรฐานงานประกันคุณภาพ
DO
1. การดำเนินงาน ตามปฏิทินกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน
2. จัดทำกิจกรรม กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณใน การดำเนินงาน และตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่กำหนด
3. ประเมินผลกิจกรรม
CHECK
1. ประเมินความสำเร็จของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและตามเกณฑ์งานประกันคุณภาพ
1.1ผลการประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
1.2 ผลการประเมินควรสะท้อนพัฒนาการจากปีการศึกษาที่ผ่านมา และควรได้คะแนนประเมินสูงขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา
ACT
1. การดำเนินงานปรับปรุงพัฒนา
2. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผน หรือปรับปรุง
3. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาในรอบถัดไป