การเลือกตีพิมพ์บทความลงในวารสาร
เมื่อนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือนักวิจัย ต้องการเลือกตีพิมพ์ลงในวารสารต่างประเทศ มีแนวทางคร่าวๆ ในการพิจารณาดังนี้
1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย ว่าอยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/
โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor
ส่วนวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ
2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports
3.ควรพิจารณาให้รอบคอบหากเป็นวารสารที่อยู่ใน ฺBeall's list หรือ Beall’s list of predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) เป็นรายชื่อสำนักพิมพ์ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ บางกรณีอาจพบวารสารลักษณะนี้ ที่ไม่ได้ดำเนินการโดยสำนักพิมพ์ ก็จะมีบัญชีรายชื่อวารสาร (http://scholarlyoa.com/individual-journals/) แยกต่างหาก
รายชื่อวารสารเหล่านี้ รวบรวมโดยบรรณารักษ์ของ University of Colorado Denver ชื่อ Associate ProfessorJeffrey Beall โดยได้ review วารสาร และสำนักพิมพ์จำนวนมาก และรวบรวมเป็นรายชื่อสำนักพิมพ์/วารสาร ที่อาจจะเข้าข่ายเป็นวารสารที่ไม่ควรส่งรายงานไปตีพิมพ์ (ผู้รวบรวมไม่ใช้คำว่าหลอกลวง) เพื่อนักวิจัยจะได้ใช้ประกอบการพิจารณา ว่าควรจะตีพิมพ์หรือเป็นกองบรรณาธิการ หรือเป็นผู้ประเมิน (reviewer) ให้หรือไม่ รายชื่อเหล่านี้มีการปรับปรุงเสมอๆ โดยมีการถอนออก หรือเพิ่มเข้าไปใหม่ และเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วารสารใน Beall’s list of predatory publishers นี้ บางครั้งอาจพบในฐานข้อมูล SCOPUS-Scimago Q3 แต่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อวิชาการอย่างแท้จริง แต่ดำเนินการเพื่อธุรกิจ ทำนอง "จ่ายดี ตีพิมพ์แน่"
4.ไม่ควรพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร OA (Open-Acess) ที่ทำเพื่อธุรกิจ การเผยแพร่มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งนี้วารสารแบบ OA บางวารสารระบุว่าตั้งอยู่สหรัฐอเมริกา แต่กลับให้โอนเงินไปปากีสถาน ซึ่งหลายหน่วยงานไม่ยอมรับการเผยแพร่ในฐานข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น โครงการกาญจยาภิเษก (คปก) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฐานี
5.ไม่ควร ตีพิมพ์วารสารใน List of Stand Alone Journal ซึ่งเป็นวารสารวิชาการ ที่ตีพิมพ์เพียงครั้งเดียว ซึ่งดูไม่น่าเชื่อถือ และมักจะเป็นการตีพิมพ์แบบที่เรียกว่า Open Access กล่าวคือ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ สามารถถูกสืบค้นและดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
Beall's List ใส่วารสาร Thammasat International Journal of Science and Technology (TIJSAT) เข้าในรายการด้วย ซึ่งอาจถูกถอนออกจากรายการได้ในอนาคต และอาจเพิ่มรายชื่อวารสารอื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือเข้าในรายการก็ได้ จึงต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน
ที่มา
พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวารสารที่ใช้ตีพิมพ์ผลงานอยู่ใน Beall’s list. <http://www2.rdi.ku.ac.th/newweb/?p=8824>
ยิ่งศักดิ์ แหวนเพชร. สำนักพิมพ์ผู้ล่าเหยื่อ. <http://gopublished1.blogspot.com/2015/06/blog-post.html>
สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์. จะเลือกวารสารตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างไร <https://supapornhuang.wordpress.com/2016/09/17/select-journal/>
สุวิทย์ ศรีไหม. วารสารสุ่มเสี่ยงไม่ควรส่งบทความไปตีพิมพ์. <http://share.psu.ac.th/blog/education-research/32467>