- รายละเอียด
- เขียนโดย Laksana
- หมวด: ห้องสมุด
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ แนวปฏิบัติที่ดีในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ”
ในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 08.30 - 16.30 น.
ณ ห้องประชุมบัวหลวง อาคารสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ
จากการประชุมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ แนวปฏิบัติที่ดีในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ” สามารถสรุปได้ดังนี้
สถานการณ์
1.สรรพนามเรียกขาน
จากข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนัก ไม่ควรนับ "ญาติ" กับผู้ใช้บริการ
เช่น พี่ น้อง ลูก เป็นต้น
ประเภทผู้ใช้บริการ
1.1 1.1 ควรเรียกตามสถานภาพปัจจุบัน " นักศึกษา, อาจารย์"
1.2 กรณีบุคลากรของคณะ/หน่วยงาน "ผู้ใช้บริการ"
2.คำทักทาย
2.1 คำเรียกตามสถานภาพ "สวัสดีค่ะ นักศึกษา/อาจารย์ ติดต่อเรื่องอะไรคะ"
2.2 กรณีผู้ใช้บริการมีทรัพยากรในมือ(หนังสือ) ทักทายโดยการ "ยืมหรือคืนคะ" หรือ "ทำรายการอะไรคะ" หรือ "ขอใช้บริการอะไรคะ"
2.3 กรณี ผู้ใช้บริการแจ้งความประสงค์จองห้องประชุม (มีเครื่องสำหรับจองห้องประชุม) "เชิญเครื่องด้านซ้าย/ขวา นะคะ" และให้คำแนะนำในการจอง แจ้งรายละเอียดการจองตามคู่มือ
3.เมื่อผู้ใช้บริการทำผิดกฎ
3.1 นำอาหารเข้ามาในห้องสมุด
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
- กรณีมีพื้นที่ในการนั่งรับประทาน ให้แจ้งผู้ใช้บริการในการใช้พื้นที่บริเวณใดสำหรับนั่งรับประทาน
- แจ้งผู้ใช้บริการถึงเหตุผลในข้อห้ามในการนำอาหาร/เครื่องดื่มมารับประทาน เช่น เรื่องความสะอาด (มีหนู) สุขอนามัย เป็นต้น
3.2 ผู้ใช้บริการทานอาหาร/เครื่องดื่มในบริเวณที่ไม่อนุญาต
- กรณีมีการแจ้งจากผู้ใช้บริการมีการส่งเสียงดัง ดำเนินการเบื้องต้นโดยการเปิดสปอร์ตแจ้งเตือน
- กรณีผู้ใช้บริการนำเข้ามาทานในบริเวณที่ไม่อนุญาต ดำเนินการโดยแจ้งผู้ใช้บริการและให้คำแนะนำ
- กรณีมีผู้ใช้ยืนยันไม่ทำตามกฎข้อห้าม ควรดำเนินการโดย "แจ้งเหตุผลของการไม่อนุญาตให้นำ อาหาร/เครื่องดื่มมารับประทาน"
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามนำเครื่องดื่ม/อาหาร มารับประทานในบริเวณที่ไม่อนุญาต
- เสียงตามสาย
- จัดทำนิทรรศการผลที่เกิดขึ้นจากการนำอาหาร/เครื่องดื่มมารับประทานในบริเวณที่ไม่อนุญาต
3.3 ผู้ใช้บริการส่งเสียงดัง
- กรณี มีการแจ้งจากผู้ใช้บริการมีการส่งเสียงดัง ดำเนินการเบื้องต้นโดยการเปิดสปอร์ตแจ้งเตือน
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามส่งเสียงดัง
3.4 ผู้ใช้บริการแต่งกายไม่สุภาพ
- ติดป้ายประชาสัมพันธ์เรื่องการแต่งกาย และตัวอย่างการแต่งกายที่สุภาพตามกาลเทศะ
4.เมื่อผู้ใช้บริการปฏิเสธความรับผิดชอบในการติดค้างหนี้สินห้องสมุด
- ในเบื้องต้นขอโทษผู้ใช้บริการ และขอตรวจสอบรายละเอียด
5.กรณี พบผู้ใช้บริการนำหนังสือออกโดยไม่ได้รับอนุญาต
- แจ้งผู้ใช้บริการ "กรุณาติดต่อเคาน์เตอร์บริการนะคะ"
*** จากข้อสรุปดังกล่าว คณะต่าง ๆ ของเรียกตามสภาพหรือแนวปฏิบัติของแต่ละคณะฯ ***
- รายละเอียด
- เขียนโดย Laksana Thongtod
- หมวด: ห้องสมุด
โครงการสัมมนาเรื่อง การส่งเสริมการอ่านในยุคประเทศไทย 4.0
วันที่ 13 – 14 ก.ค. 2560
ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
“ไทยแลนด์ 4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล บนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ไทยแลนด์ 4.0 จะพัฒนาเรื่องใดบ้าง? มีการพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ใช้แนวทาง “สานพลังประชารัฐ” เป็นตัวการขับเคลื่อน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคการเงินการธนาคาร ภาคประชาชน ภาคสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ร่วมกันระดมความคิด ผนึกกำลังกันขับเคลื่อนผ่านโครงการบันทึกการร่วมมือ กิจกรรม หรือ งานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและบริการแบบเดิมให้เป็นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ อาทิ การเกษตรเชิงสร้างสรรค์ที่ได้ประสิทธิผลที่ดีขึ้น การมุ่งให้โอกาสคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจ อย่างเช่นกลุ่มที่เรียกว่า Startups เป็นกลุ่มบริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง และพยายามพัฒนาแรงงานให้มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่สูงขึ้น
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ควรเริ่มจากการส่งเสริมสนับสนุนสังคมให้รักการอ่านให้มากขึ้น โดยภาครัฐต้องส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ ที่มุ่งเน้นเนื้อหาคุณภาพ การพัฒนาการศึกษาที่มุ่งให้เด็กรักการอ่าน รู้จักคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ การพัฒนาแหล่งศึกษาค้นคว้าห้องสมุดให้คนเข้าถึงได้ มีการคัดเลือกหนังสือดีมีคุณภาพ น่าสนใจ มีการการส่งเสริมให้คนเข้าห้องสมุดมากขึ้น ดังนั้นควรสร้างสภาพแวดล้อมทางความคิดให้กับคนไทย เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองทางความคิด และนำไปสู่การพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอด ตามเป้าหมาย 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ได้แก่
1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกล
5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
ทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0