สามาถดูเพ่ิมเติมได้ที่

http://www.la.ubu.ac.th/admin/gallery/842_1531367197.jpg

 

รายงานผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2560

          ตามที่คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการจัดโครงการ การจัดการความรู้และถ่ายทอดความรู้         ในปีการศึกษา 2559 โดยกำหนดเป้าหมายในแผนการจัดการความรู้ที่ครอบคลุมในด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย

ด้านการผลิตบัณฑิต  มีการกำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES และการบริหารความเสี่ยงระดับหลักสูตร เนื่องจากในปีการศึกษาดังกล่าวคณะศิลปศาสตร์มีการปรับหลักสูตรจำนวนมากอีกทั้งมีประเด็นเกี่ยวกับการการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตรจึงทำให้เกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าว 

ส่วนด้านกาวิจัยกำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ และเพื่อให้การจัดการความรู้ในเรื่องดังกล่าวเกิดกระบวนการที่นำสู่การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี  ในปีการศึกษา 2560 นี้ คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะศิลปศาสตร์จึงมีการทบทวนผลที่ได้จากการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อที่จะวางแผนในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษานี้ จากการทบทวนผลการดำเนินงานพบว่า

ผลการดำเนินงานในกิจกรรม ด้านการผลิตบัณฑิต คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES และการบริหารความเสี่ยงระดับหลักสูตร กิจกรรมดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์และสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในด้านค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และการดำเนินการที่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด แต่เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเฉพาะกิจ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรไม่เฉพาะสายวิชาการเท่านั้น  แต่ต้องมีสายสนับสนุนทั้งในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องดังกล่าวซึ่งอาจใช้เวลานานเนื่องจากในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังมิได้ข้อสรุปหลักการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES       ด้วยเหตุดังกล่าวคณะกรรมการการจัดการเรียนรู้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการผลิตบัณฑิตอาจต้องทบทวนพิจารณาหาประเด็นใหม่

          ผลการดำเนินงานในกิจกรรม ด้านการวิจัย คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ กิจกรรมดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์และสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในด้านค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และการดำเนินการที่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด  โดยกิจกรรมหลักจะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้แทนสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร และผู้แทนจากสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  กิจกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับจากคณาจารย์ที่มีแผนจะขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นจำนวนมากและจากหลากหลายหลักสูตร  เนื่องจากคณะศิลปศาสตร์มีเป้าหมายในการเพิ่มตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ อีกทั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นสิ่งสำคัญต่ออาจารย์ประจำหลักสุตรและอาจารย์บริหารหลักสุตรตามเกณฑ์ประกันคุณภาพภายในหลักสูตร  คณะกรรมการการจัดการเรียนรู้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนี้ควรมีการจัดต่อในปีการศึกษา 2560 เพื่อนำสู่การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีและเผยแพร่แนวปฏิติในการขอตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าว

                ในปีการศึกษา 2560 คณะกรรมการการจัดการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์ ได้มีการทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อวางแผนและกำหนดประเด็นเรื่องในการจัดการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2560 นี้ ที่ประชุมมีมติในการดำเนินการดังนี้

กิจกรรมในด้านการผลิตบัณฑิต  เนื่องจากในปีการศึกษา2559 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES และการบริหารความเสี่ยงระดับหลักสูตรเป็นประเด็นเฉพาะกิจ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรไม่เฉพาะสายวิชาการต้องมีสายสนับสนุนทั้งในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องดังกล่าวซึ่งอาจใช้เวลานานเนื่องจากในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังมิได้ข้อสรุป   คณะกรรมการการจัดการเรียนรู้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมในปีที่ผ่านมามีข้อจำกัดและไม่สามารถดำเนินการได้  ดังนั้นเพื่อคงไว้ในประเด็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเช่นเดิม ที่ประชุมเสนอว่ามีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Outcome Based Learning (OBE)  หากจะจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการผลิตบัณฑิต ควรพิจารณาประเด็นดังกล่าวควบคู่กับกิจกรรมที่จะจัดขึ้น  ดังนั้นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษานี้จึงเป็นเรื่อง การบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งหากพิจารณาสาระรายวิชาที่มีการวัดประเมินผลเพียงอย่างเดียวอาจไม่สะท้อนภาพได้ชัด ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แท้จริงควรมีการพัฒนางานวิจัยควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ซึ่งผลที่ได้จะก่อให้เกิดการพัฒนาและการบูรณาการระหว่างงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ดังนั้นในปีการศึกษา2560 นี้ คณะกรรมการการจัดการความรู้จะจัดกิจกรรมด้านการผลิตบัณฑิต เรื่อง การบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน 

กิจกรรมด้านการวิจัย คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในปีการศึกษา2560 นี้ ได้จัดเป็นครั้งที่2 กิจกรรมในปีนี้จะเป็นกิจกรรมที่ต่อยอดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยในปีนี้ยังคงจัดกิจกรรมในเรื่อง       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ เช่นเดิมเพื่อเป็นการค้นหาแนวปฏิบัติที่เกิดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองครั้ง เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สกัดมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดออกมาเป็นแนวปฏิบัติในเรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ และจะนำแนวปฏิบัติที่เกิดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเผยแพร่ผ่านทางเวปไซด์ของคณะศิลปศาสตร์             ซึ่งในปีนี้รูปแบบกิจกรรมจะเป็นในลักษณะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการร่วมกับประสบการณ์จากผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ  โดยคาดว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะยังคงเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์บริหารหลักสูตร รวมถึงอาจารย์ที่อยู่ในขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการ 2-3 ราย เป็นหลัก

แผนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2560

ปีการศึกษา 2560

 

ประเด็น

การจัดการความรู้

 

 

กิจกรรม

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

 

ผลผลิต

 

 

 

เวลา

จำนวน

คน

ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ

ด้านการผลิตบัณฑิต

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การ การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน

 

 

 

คณาจารย์จำนวน 20 คน

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

- ปีการศึกษา2560 จะมีงานวิจัยในชั้นเรียนจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา

- ผลที่ได้จากงานวิจัยในชั้นเรียนสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไม่ต่ำกว่า 3 หลักสูตร

 

 

 

 

ในปีการศึกษา2560 นี้คณะศิลปศาสตร์มีการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านทางเว็บไซต์ของคณะ

ด้านการวิจัย

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในคณะ

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

 

- คณะศิลปศาสตร์มีอาจารย์ที่ได้ตำแหน่งทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา

-แต่ละหลักสูตรมีคะแนนประกันคุณภาพในส่วนคุณวุฒิของอาจารย์ที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 หลักสูตร

 

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:8.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:107%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri",sans-serif; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;}

ประโยชน์ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้นำไปใช้

 

การอบรมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจผลงานทางวิชาการอย่างสูง ผมได้เรียนรู้จากผู้รู้จริงและทำให้เกิดความกระจ่างในด้านเอกสารและขั้นตอนการพิจารณาเอกสารประกอบ ในส่วนของเอกสารวิทยากรได้ให้ความรู้เรื่องการเสนอเอกสารประกอบการขอกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่ วิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการและผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๆ

 ในส่วนของการวิจัยนั้นได้ข้อมูลเรื่องขั้นตอนและกระบวนการวิจัยที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นทางการและมีหลักฐาน เช่นมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอ่านพิจารณาวิจัย และมีการเขียนรายงานการวิจัยอย่างเป็นระบบ การเผยแพร่อย่างกว้างขวางนั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันได้แก่การส่งเล่มไปตามห้องสมุดต่างๆและการตีพิมพ์ผลงานผ่านวารสารหรือ Proceedings 

ในส่วนของการใช้บทความวิจัยเป็นเอกสารหลักนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำว่าให้ตีพิมพ์ในวารสารที่มีระบบพิชยพิจารณ์ นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านการตีพิมพ์เช่น ในวารสารนั้นตนเองไม่ควรเป็น editor เนื่องจากจะทำให้เกิดข้อกังขาในกระบวนการคัดสรรผลงานลงตีพิมพ์ได้

 ในส่วนของการตีพิมพ์บทความทางวิชาการนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการตีพิมพ์ผลบทความวิจัย

และสุดท้ายผลงานในลักษณะอื่น ๆ นั้น ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อมูลลักษณะงานที่เข้าข่ายดังกล่าว รวมทั้งให้ยึดระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทาง

ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้กำลังใจอย่างยิ่งแก่ผู้ที่จะยื่นขอตำแหน่งางวิชาการและทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยากจนเกินไป

ในส่วนของการปฏิบัตินั้นผมได้ใช้สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างเต็มที่ ในส่วนตัวผมเลือกที่จะใช้การวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นเอกสารหลัก แม้ผู้ทรงจะได้บอกไว้ว่าการใช้เอกสารนี้อาจจะลำบากเพราะมีเนื้องานเป็นจำนวนมากและผู้ทรงอาจจะเสนอให้แก้ไข ในส่วนนั้นตนเองได้พิจารณาแล้วเก็นว่าการเสนอเล่มรายงานการวิจัยเป็นเอกสารหลักนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะแม้แต่บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาแล้วก็ล้วนมาจากเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ทั้งสิ้น การให้ผู้ทรงตรวจงานวิจัยเป็นเอกสารหลักนั้นอาจจะเสี่ยงต่อการได้รับคำขอให้ปรับแก้ไข แต่ก็เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่นกัน นอกจากนี้ผมยังมองว่าการได้หรือไม่ได้ ผศ. นั้นสำคัญพอๆ กับการได้เรียนรู้ระหว่างทาง งานวิจัยได้ดำเนินไปตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำคือมีการเสนอร่างวิจัยอย่างเป็นทางการและมีกระบวนการพิจารณาร่างวิจัยฉบับสมบูรณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และเมื่อเล่มแล้วเสร็จก็ได้ส่งเล่มไปตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตามเงื่อนไขการเผยแพร่ และได้นำเสนอในงานประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติเพื่อให้การเผยแพร่เป็นไปอย่างกว้างขวางตามเกณฑ์ กพอ.

นอกจากนี้ผมยังได้ใช้งานวิชาการในลักษณะอื่นประเภทงานแปลเป็นเอกสารประกอบ โดยใช้การเผยแพร่ตามหลัก กพอ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ

จากประสบการณ์การส่งเอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการนั้น พบว่าในรายละเอียดมีความยุ่งยากในเรื่องแบบฟอร์มอย่างมาก ซึ่งในการอบรมไม่ได้กล่าวถึงด้านนี้มากนัก และที่ผมพบว่ายากที่สุดคือการตีความเนื้อหาในประกาศ กพอ ซึ่งพบว่ามีความยืดหยุ่นน้อยมากทั้งที่งานวิชาการนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาทิ การกำหนดว่า Journal ที่ลงผลงานต้องอยู่ในฐานนั้น ๆ จะเห็นได้ว่าในความเป็นจริงนักวิชาการที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการสนใจเพียงคุณภาพทางวิชาการเท่านั้น นั่นคือกระบนการพิชยพิจารย์ การปรากฏในฐานไม่ได้บ่งชี้คุณภาพมากน้อยแต่อย่างใด และฐานข้อมูลเป็นเชิงพานิชย์ การผูกติดความก้าวหน้าทางวิชาการกับฐานข้อมูลทำให้ไม่สามารถแม้แต่จะส่งเอกสารที่นักวิชาการได้ไตร่ตรองแล้วว่ามีคุณภาพ โดยไม่มีข้อยืดหยุ่นเช่น การอนุญาตให้ส่งได้โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นผู้ตัดสิน ท้ายที่สุดแล้วอาจจะเป็นการทำให้วงการวิชาการการเป็นเครื่องมือขององค์กรแสวงหากำไรไปในที่สุด

ผมพบว่าการได้ฟังผู้ทรงคุณวุฒิอธิบายโดยตรงรู้สึกมีกำลังใจและสบายใจมาก และจะดีที่สุดหากระบบการส่งเอกสารและกลั่นกรองเอกสารมีให้ความสำคัญกับความเป็นวิชาการมากกว่าระเบียบขั้นตอนตามตัวอักษร

 

เฉลิมชัย วงศ์รักษ์