- รายละเอียด
- เขียนโดย Patcharee Wongchoo
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
การอบรมการจัดทำระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรคณะศิลปศาสตร์
ประจำปีการศึกษา 2559
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความรู้ที่ได้จากการอบรม มีดังนี้
องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตรประกอบด้วย
1. การกำกับมาตรฐาน
2. บัณฑิต (คิดเป็นค่าคะแนนจากแบบสอบถาม)
3. นักศึกษา
4. อาจารย์
5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
(ข้อ 3 ถึง 5 คิดเป็นค่าคะแนนจาก กระบวนการทำงาน บริหารหลักสูตร โดยไล่ระดับการทำงาน จากคะแนน 0 ถึง 5)
ระบบและกลไก
ระบบ หมายถึง ระเบียบหรือความเชื่อมโยงของขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานดำเนินการลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น เช่น การจัดระบบงานต่างๆ
กลไก หมายถึง บุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ กิจกรรม และหน่วยย่อยต่างๆ ที่สนับสนุนเชื่อมโยง ประสานสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยให้การดำเนินภารกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ดำเนินไปได้อย่างคล่องตัวสม่ำเสมอ และครบวงจรตามระบบที่ได้กำหนดไว้
โดยวิทยากรจะกล่าวถึงภาพรวมของเกณฑ์ คะแนนที่แต่ละหลักสูตรได้รับในแต่ละตัวบ่งชี้ ตัวอย่างการเขียนข้อมูลการดำเนินการของหลักสูตรอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาการดำเนินการ
ประเด็นตัวอย่างในการอบรม
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา หลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าจะเน้นประเด็นใด/ จะสร้างระบบและกลไกออกมาในรูปแบบใด พร้อมทั้ง ทดลองร่างระบบและกลไกเกี่ยวกับ 1) การรับนักศึกษา และ 2) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ทั้งนี้ การอธิบายกระบวนการจะเริ่มจากในระดับมหาวิทยาลัย คณะ จนถึงหลักสูตร เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งระบบ จากความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดทำระบบและกลไกในส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
- รายละเอียด
- เขียนโดย Pathomporn Boonchalauy
- หมวด: ประกันคุณภาพการศึกษา
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
1. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
2. จำนวนอาจารย์ประจำ
สูตรการคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
1. คำนวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours: SCH) คือผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับจำนวนหน่วยกิตแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนทุกรายวิชาตลอดปีการศึกษา
สูตร
SCH =Snici
เมื่อ ni = จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชาที่ 1
ci = จำนวนหน่วยกิตของวิชาที่
2. คำนวณค่า FTES โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES)
= Student Credit Hours (SCH) ทั้งปี
จำนวนหน่วยกิตต่อปีการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการลงทะเบียนในระดับปริญญานั้นๆ
การปรับจำนวนในระหว่างปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
(กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
= FTES ระดับปริญญาตรี +(1.8 x FTES ระดับบัณฑิตศึกษา)
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ 25 : 1
แต่ถ้าจำนวนไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องนำมาคำนวณหาค่าความแตกต่าง
สูตรการคำนวณ
1.คำนวณหาค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐานและนำมาคิดเป็นค่าร้อยละ
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาที่เป็นจริง-สัดส่วนจำนวนนักนักศึกษาเต็มเวลาตามเกณฑ์มาตรฐาน x100
สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.นำค่าร้อยละจาก ข้อ 1 มาคำนวณ คะแนนดังนี้
2.1 ค่าร้อยละไม่เกิน ร้อยละ 10 คิดเป็น 5 คะแนน
2.2 ค่าร้อยละเกิน ร้อยละ 20 คิดเป็น 0 คะแนน
2.3 ค่าร้อยละตั้งแต่ 10.01 และไม่เกินร้อยละ 20 ให้นำมาคิดคะแนน ดังนี้
คะแนนที่ได้ = (20-ค่าร้อยละที่คำนวณได้จากข้อ 1) x 5
10
ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างที่ 1
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่ง = 24
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน = 24-25 x 100
25
= ร้อยละ -4 ได้คะแนน 5 คะแนน
ตัวอย่างที่ 2
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่ง = 28
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน = 28-25 x 100
25
= ร้อยละ 12
แปลงค่าความแตกต่างเป็นคะแนน เท่ากับ 20-12 = 8
ได้คะแนน = 8 x 5 = 4
10
หน้าที่ 1 จาก 2