1.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว

 

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว(ภาระกิจอื่น เช่น ประชุมชี้แจง )

 

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (ม.16)

 

การนับเวลา

 

ออกจากที่พักอยู่หรือที่ทำงานปกติจนกลับถึงที่อยู่หรือที่ทำงานปกติ

 

กรณีพักแรม 24 ชม.เป็น 1 วัน เศษเกิน 12 ชม.นับเป็น 1 วัน (ไม่มีเบี้ยเลี้ยงครึ่งวัน)

 

กรณีไม่พักแรมเศษเกิน 12 ชม เป็น 1 วัน เกิน 6 ชม.นับเป็นครึ่งวัน

 

กรณีเดินทางล่วงหน้าเนื่องจากลากิจ/พักผ่อน ก่อนปฏิบัติราชการให้นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการ

 

กรณีไม่เดินทางกลับหลังจากปฏิบัติราชการเสร็จสิ้นเนื่องจากลากิจ/พักผ่อน ให้นับถึงสิ้นสุดเวลาปฏิบัติราชการ

 

อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (เหมาจ่าย)

 

240 บาท/วัน (ชั้นปฏิบัติการ)

 

270 บาท/วัน (ชั้นทักษะพิเศษ)

 

 

ค่าเช่าที่พัก (ม.17) (เลือกพักได้2แบบ คือ แบบเหมาจ่ายและแบบจ่ายจริง)

 

เบิกได้กรณีจำเป็นต้องพักแรม ยกเว้นพักแรมในยานพาหนะ หรือ ทางราชการจัดที่พักให้

 

ท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูง/เป็นแหล่งท่องเที่ยว หน.ส่วนราชการอนุมัติให้เบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มได้ไม่เกิน 25%ของอัตราที่กำหนด(เฉพาะแบบจ่ายจริง)

 

อัตราค่าเช่าที่พักแบบ(เหมาจ่าย)

 

ไม่เกิน 800 บาท/คน/วัน (ชั้นปฏิบัติการ)

 

ไม่เกิน 1,200 บาท/คน/วัน (ชั้นทักษะพิเศษ)

 

ค่าเช่าที่พัก (จ่ายจริง)

 

ห้องเดี่ยว 1,500 บาท/คน/วัน ห้องเดี่ยว หรือ 850 บาท/คน/วัน ห้องคู่ (ชั้นปฏิบัติการ)

 

ห้องเดี่ยว 2,200 บาท/คน/วัน ห้องเดี่ยว หรือ  1,200 บาท/คน/วัน ห้องคู่ (ชั้นทักษะพิเศษ)

 

ห้องเดี่ยว 2,500 บาท/คน/วัน ห้องเดี่ยว  หรือ 1,400 บาท/คน/วัน ห้องคู่ (ชั้นทรงคุณวุฒิ)

 

 

ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ/ค่าเชื้อเพลิง-พลังงาน

 

ยานพาหนะประจำทาง  รถไฟ รถโดยสารประจำทาง เรือกลประจำทาง รวมถึงยานพาหนะอื่นใดที่ให้บริการขนส่งแก่บุคคลทั่วไปเป็นประจำ

 

พาหนะส่วนตัว รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ส่วนบุคคล

 

ปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและเบิกจ่ายที่จ่ายจริง โดยประหยัด

 

การเดินทางโดยรถไฟ รถด่วน หรือ ด่วนพิเศษชั้น 1 นั่งนอน ปรับอากาศ(บนอ.ป)เบิกได้เฉพาะข้าราชการประเภททักษะพิเศษ ขึ้นไป

 

 

ค่าพาหนะรับจ้าง ข้าราชการประเภทบริหาร อำนวยการขึ้นไปจึงสามารถเบิกได้  ข้าราชการตำแหน่งนอกเหนือจากนี้ จะเบิกได้ต้องมีสัมภาระหรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการ

 

ไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ที่พัก สถานที่ปฎิบัติราชการ กับสถานียานพาหนะประจำทาง ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน กรณีข้ามเขตจังหวัด เขตติดต่อ กทม.หรือผ่านกทม ไม่เกินเทียวละ 600 บาทและเขตติดต่อจังหวัดอื่นไม่เกินเที่ยวละ 500 บ.

 

ไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก สถานที่ปฎิบัติราชการ  ภายในจังหวัดเดียวกัน วันละไม่เกิน 2 เที่ยว(ยกเว้นเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก)

 

พาหนะส่วนตัว(ม.25)

 

ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาจึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชย

 

อัตราเงินชดเชย รถยนต์ กิโลเมตรละ 4 บาท /รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท

 

คำนวณระยะทางตามเส้นทางกรมทางหลวง/หน่วยงานอื่น

 

 

ค่าเครื่องบิน (ม.27)

 

หลักฐานการเบิกค่าเครื่องบิน

 

กรณีมีหนังสือให้บริษัทออกบัตรโดยสารให้ก่อนให้ใช้ใบแจ้งหนี้เป็นหลักฐานในการเบิกเงิน

 

กรณีจ่ายเป็นเงินสดให้ใช้หลักฐาน เป็นใบเสร็จรับเงินและกากตัวโดยสาร

 

กรณีซื้อ E-Ticket ให้ใช้ใบรับเงินที่แสดงรายละเอียดการเดินทาง(Itinerary Receipt)

 

ตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด 0408.4/ว165 ลงวันที่ 22 ธ.ค.59 สามารถใช้ใบเสร็จรับเงินตัวแทนจำหน่ายในการเบิกจ่ายได้ และต้องพิมพ์ออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

 

ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ

 

นิยาม

 

จำเป็นต้องจ่าย หากไม่จ่าย ไม่อาจเดินทางถึงจุดหมายแต่ละช่วงที่เดินทาง

 

ไม่มี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กำหนดไว้เฉพาะ

 

ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเนื้องานที่ปฏิบัติ

 

 

2.ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ

 

ระเบียบที่ใช้บังคับ

 

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.254

 

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2552

 

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2555
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม:อบรม ประชุม/สัมมนา (วิชาการเชิงปฏิบัติการ) บรรยายพิเศษ ฝึกศึกษา ฝึกงาน ดูงาน หรือเรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งในและต่างประเทศ มีโครงการ/หลักสูตร ช่วงเวลาที่ชัดเจนที่แน่นอน เพื่อพัฒนาบุคคล/เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ไม่มีการรับปริญญา /ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
*ไม่ใช่หลักสูตรการเรียนการสอน การศึกษาต่อ ไม่ใช่การประชุมหารือ ประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการคณะทำงาน
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแบ่งเป็น 3 ประเภท
1.การฝึกอบรมประเภท ก.:ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่ง

  ประเภททั่วไป ระดับ ทักษะพิเศษ

  ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ,ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ

  ประเภทอำนวยการ ระดับสูง

  ประเภทบริหาร ระดับต้น ,ระดับสูง

 

2. การฝึกอบรมประเภท ข ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่ง
ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติการ,ระดับชำนาญงาน,ระดับอาวุโส
ประเภทวิชาการ ระดับปฎิบัติการ ,ระดับชำนาญการ,ระดับชำนาญการพิเศษ
ประเภทอำนวยการ ระดับต้น
3. การฝึกอบรมบุคคลภายนอก ผู้เข้าร่วมอบรมเกินกึ่งหนึ่งมิใช่บุคลากรของรัฐ
บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้
1. ประธานในพิธีเปิด-ปิด แขกผู้มีเกียรติและผู้ติดตาม
2. เจ้าหน้าที่
3.วิทยากร
4.ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
5.ผู้สังเกตการณ์
 
การเบิกจ่ายมี 2 ลักษณะ
1. กรณีส่วนราชการเป็นผู้จัดการอบรม (อธิบายในคราวต่อไป)
2. กรณีเป็นค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ในการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมให้ส่วนราชการต้นสังกัดอนุมัติเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการนั้น ตามจำนวนที่เหมาะสม คำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
ค่าลงทะเบียน เบิกเท่าที่จ่ายจริง
เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะในการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรม
ถ้าค่าลงทะเบียนรวมไว้หมดแล้ว หรือผู้จัดออกให้ทั้งหมดต้องงดเบิก
ถ้าค่าลงทะเบียนไม่รวมค่าใช้จ่ายดังกล่าว หรือผู้จัดไม่จัดอาหาร ที่พัก ยานพาหนะให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกในส่วนที่ไม่ได้ออกให้ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ยกเว้น ค่าเช่าที่พักเบิกตามระเบียบ
ค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรมในประเทศ(บาท:วัน:คน)
ประเภทการฝึกอบรม ค่าเช่าห้งอพักคนเดียว ค่าเช่าห้องพักคู่

1. การฝึกอบรมประเภท ก

2.การฝึกอบรมประเภท ข

3.การฝึกอบรมบุคคลภายนอก

1.ไม่เกิน 2,400.-บาท

2.ไม่เกิน 1,450.-บาท

3. ไม่เกิน1,200.-บาท

1.ไม่เกิน 1,300.-บาท

2. ไม่เกิน 900.-บาท

3. ไม่เกิน 750.-บาท

ค่าพาหนะ จ่ายจริงตามสิทธิข้าราชการ
ประเภททั่วไป ระดับปฎิบัติงาน (ห้ามเบิกค่าเครื่องบิน)
ค่าเบี้ยเลี้ยง กรณีการฝึกอบรมมีการจัดอาหาร
ให้นับเวลาตั้งแต่ออกจากที่อยู่/ที่ทำงาน จนกลับถึงที่อยู่/ที่ทำงาน
24 ชม.คิดเป็น 1 วัน หรือเกินกว่า 12 ชม. คิดเป็น 1 วัน
ให้หักค่าเบี้ยเลี้ยงที่คำนวณได้มื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย
 

 

             ผังงาน คือ แผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของAlgolithm หรือกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เป็นเครื่องใช้การรวบรวมลำดับ ความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน และใช้วางแผนการทำงานขั้นตอนแรก แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

             1)ผังงานระบบ คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับ และส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน

             2)ผังงานโปรแกรม คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือ รวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ ทำให้ เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น(จะนิยมใช้กับ งานสารสนเทศ)

ข้อดีของผังงาน (Advantages of Flowchart)

1. มีความหมายชัดเจนมากขึ้น (Conveys Better Meaning) ตั้งแต่ผังงาน (Flowchart) ถูกนำเข้ามาใช้ในการเขียนโปรแกรม มันช่วยให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจและอธิบายตรรกะของโปรแกรม ให้โปรแกรมเมอร์คนอื่นเข้าใจได้ง่ายขึ้น

2. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Analyses the problem effectively) ผังงาน (Flowchart) ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถวิเคราะห์รายละเอียดของปัญหา โดยสามารถเขียนผังงานในส่วนที่เป็นรายละเอียดส่วนย่อยได้

3. การเข้ารหัสที่มีประสิทธิภาพ (Effective Coding) มันง่ายมากๆ สำหรับโปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรม เพราะผังงาน (Flowchart) ช่วยให้เข้าใจแนวคิดและลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน 4. การแก้จุดบกพร่องของระบบ (Systematic Debugging) หลังจากการออกแบบโปรแกรมอย่างดีแล้ว ก็ยังคงเกิดข้อผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นในโปรแกรม เพราะโปรแกรมเมอร์อาจไม่พบปัญหา การใช้ผังงาน (Flowchart) สามารถช่วยลดและทำให้พบจุดผิดพลาดได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของการใช้ผังงาน (Advantages of using Flowcharts)

การใช้ผังงานในการแก้ปัญหามีข้อดีดังต่อไปนี้:

1) การสื่อสาร (Communication): ผังงาน (Flowchart) เป็นช่องทางการสื่อสารของระบบตรรกะและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องของปัญหา ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของลูกข่ายของระบบ

2) การวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective analysis): ผังงาน (Flowchart) ของปัญหาสามารถใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

3) เอกสารของโปรแกรม / ระบบ (Documentation of Program/System): ผังงานโปรแกรม (Program flowcharts)เป็นส่วนสำคัญของเอกสารโปรแกรมที่ดี เอกสารโปรแกรมจะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆเช่นรู้ส่วนประกอบในโปรแกรม ความซับซ้อนของโปรแกรม ฯลฯ

4)การบำรุงรักษาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Program Maintenance): เมื่อโปรแกรมการพัฒนาและการดำเนินงานเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการบำรุงรักษาเวลา ซึ่งผังงาน (Flowchart) ช่วยให้การบำรุงรักษาทำได้ง่ายขึ้น

5) การเข้ารหัสของโปรแกรม (Coding of the Program): การออกแบบของการแก้ปัญหาของปัญหาใดๆ สุดท้ายจะถูกแปลงเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์และ ผังงาน (Flowchart) ช่วยให้การเข้ารหัสนั้นง่ายขึ้น