สรุป กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ ห้องดอกจาน 4 คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เวลา 13.30- 16.00 น.

 

โดย ผศ.ดร. ธนพรรณ ธานี  และ นางกาญจนา สาธร

ผู้ร่วมเสวนา

1.       ผศ.ดร.ธนพรรณ ธานี

2.       ผศ.ดร.วัชรี ศรีคำ

3.       ดร.ปริวรรต สมนึก

4.       นายสรพจน์ เสวนคุณากร

5.       นายประจัน มณีนิล

6.       นางสาวปิยะนุช สิงห์แก้ว

7.       นางฐิตารัตน์ พันธุ์ชนะ

8.       นางสาวประภาพร ศศิประภา

9.       รศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ

10.   นางสาววนัสนันทน์ สุกทน

11.   นางวิศรุตา เฟอร์รารา

12.   นางกชรัตน์ จันทร์งาม

13.   ดร.ฑิฆัมพร วุฒิพรพงษ์

14.   นางสาว สุรัชดา คะนึงเพียร

15.   นายชนัญญู บูรณ์เจริญ

16.   นางสาวแพรวพรรณ อัคคะประสา

17.   ดร.ยุวดี จิตต์โกศล

18.   นางกาญจนา สาธร

19.   นายมิตต ทรัพย์ผุด

20.   ดร.รุจิวรรณ เหล่าไพโรจน์

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

  1. หลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  2. สภาพปัญหาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  3. "การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ" 
  4. แนวปฏิบัติที่ดีของคณะศิลปศาสตร์ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  5. การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีของ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของคณะศิลปศาสตร์

 

เนื้อหาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” สรุปได้ดังนี้

-          ลำดับแรกในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้เสนอขอควรตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติครบหรือไม่ พิจารณาจาก ถ้าขอตำแหน่ง ผศ. จบปริญญาเอกมาอย่างน้อย 2 ปี จบปริญญาโทอย่างน้อย 5 ปี จบปริญญาตรีอย่างน้อย 9 ปี

ในกรณีที่จบปริญญาโท 3 ปี แล้วไปเรียนต่อ มีการคำนวณ โดยการเอาสัดส่วนปริญญาโท 3 หาร 5 ปี ตามเกณฑ์ และสมมติว่าจบปริญญาเอกมา 1 ปี ก็จะหาร 2 ปี ถ้านำทั้งสองสัดส่วนมารวมกันแล้วมีค่าเท่ากับ 1 ขึ้นไป ก็แสดงว่าคุณสมบัติครบ

-          กรณีที่ลาศึกษาต่อ หรือลาเพื่อไปทำวิจัย ไปฝึกอบรมต่างๆ ต้องหักระยะเวลาออก ยกเว้นการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ leave จะขอตำแหน่งได้เลย แต่จะประเมินผลการสอนไม่ได้

-          ประธานกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ  ถ้าเป็นคณะศิลปศาสตร์ อ.ปิยะนาถ

-          การประเมินผลการสอน จะเป็นระดับคณะ

-          กรณีที่ผู้เสนอขอสอน 3 รายวิชา แต่ทั้ง 3 รายวิชาเป็นผู้ร่วมสอน (รายวิชาที่มีคนสอนมากกว่า 1 คน) ต้องเขียนเอกสารประกอบการสอนทั้ง 3 รายวิชา ทุกหัวข้อที่สอนทั้งหมด

-          คณะกรรมการที่ประเมินผลการสอน เดิมประกอบด้วย คณบดี ผู้ทรงคุณวุฒิใน list ของ กพอ. และกรรมการวิชาการหรือรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย มีการปรับเปลี่ยนล่าสุดเนื่องจากว่า คนขอตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น คนที่ 1 เป็นคณบดีเหมือนเดิม 2. ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขานั้นๆ ไม่อยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน และไม่จำเป็นต้องอยู่ใน list ของ กพอ. เปลี่ยน และ 3. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย 4. รองคณบดีฝ่ายวิชาการหรือคณบดีมอบหมาย และหัวหน้าภาควิชา ประธานหลักสูตร ซึ่งเกณฑ์จะประกาศอย่างเป็นทางการหลังจากเดือน มีนาคม 2558

-          เทคนิคการตั้งคณะกรรมการการประเมินทางวิชาการ ใช้ชื่อตำแหน่ง เช่น คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พยายามไม่ระบุชื่อ หากคณบดีป่วยแล้วให้รักษาการไปแทน ในแง่ของการร้องเรียนคณบดีผิด เพราะตอนนั้นเป็นชื่อ-สกุล

-          การกำหนดระยะเวลาการประเมินการสอน แต่ก่อนตามสะดวกของแต่ละคณะ  เกณฑ์ปรับใหม่ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน สามารถขอขยายได้ ขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 เดือน

-          ประเภทบทความวิจัย ต้องมีระเบียบวิธีวิธีวิจัยและแนบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

-          กรณียื่นงานวิจัย เป็นผู้วิจัยหลักสัดส่วนการวิจัยไม่น้อยกว่า 50% กรณีไม่ถึง 50% ให้รวมกับอีก 1 โครงการวิจัย แต่ต้องเกี่ยวเนื่อง สอดคล้องกันหรือเป็นประเด็นเดียวกันกับโครงการวิจัยที่ยื่น แนบบันทึกข้อความชี้แจงความสอดคล้องของโครงการวิจัยที่ยื่น (การพิจารณาว่าเป็นประเด็นเดียวกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ทรงคุณวุฒิ)

-          ระยะเวลาของผลงานวิจัย หรือการยื่นบทความที่นำมาเสนอขอไม่ได้ระบุระยะเวลา แต่ขึ้นอยู่กับประเด็น/เรื่องหรือหัวข้อที่นำเสนอมาเสนอ ไม่ล้าสมัย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา แต่ต้องเป็นผลงานที่ตีพิมพ์แล้ว

-          การยื่นงานวิจัย ให้ยื่นเป็นรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และต้องผ่านการประเมินผลงานวิจัยแล้ว มีหนังสือรับรองและมีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณามาแล้ว

-          การตีพิมพ์ในวารสาร มี 3 ประเภท  ในฐานของ TCI  หรือฐานของกพอ. กำหนด ประกาศโดยสภามหาวิทยาลัย ระบุถึงปี 2559 แต่ถ้าปี 2559 ไม่ได้ยอมรับในประกาศโดยสภาฯ ข้อนี้ก็จะตกไป

-          การยื่น ตำรา คือ รายวิชาที่สอน

-          การยื่นหนังสือ คือ ไม่เกี่ยวกับรายวิชาที่สอนได้ และเผยแพร่มากกว่า 4 เดือน

-          กรณีไม่ผ่าน ขออุธรณ์ได้ 2 ครั้ง

-          กรณีขอยื่น รศ. ศ. ยื่นอย่างน้อย 2 ผลงาน กรณีไม่ผ่าน และมี 1 ผลงานที่ผ่าน และขอยื่นใหม่อีกครั้ง สามารถนำผลงานที่ผ่านแล้วมายื่นได้ แต่ต้องไม่มีการปรับปรุง มีผล 2 ปี นับวันที่ได้รับอนุมัติผ่าน

-          ส่วนเอกสารประกอบการสอน กรณีที่ประเมินผ่านแล้ว และจะนำมาใช้ขอตำแหน่งอีกรอบเพราะถือว่าใช้มาแล้ว 1 เทอม

-          การรวบรวมบทความแล้วนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ต้องมีกองบรรณาธิการ และต้องมีผู้พิจารณาบทความเบื้องต้น (Peer Review) ส่วน Proceeding ต้องมีการเรียงลำดับหน้า จัดรูปแบบ และระบุเลขหน้า (ไม่ใช่การนำบทความมารวมแล้วเย็บเล่มเข้าด้วยกันโดยไม่ได้เรียบเรียงลำดับหน้า)

สภาพปัญหาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

-          ปัญหาที่พบคือ จริยธรรม คัดลอกของคนอื่นมาแล้วไม่อ้างอิง คัดลอกผลงานตัวเองหรือวิทยานิพนธ์ของตัวเองแล้วไม่อ้างอิง คัดลอกผลงานนักศึกษา

-          หลักฐาน การรวบรวมเอกสารประกอบ

-          การขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ผศ. รศ. ต้องเป็นสาขาเดียวกัน ดังนั้น การขอตำแหน่งควรเป็นสาขาวิชาที่กว้าง

-          รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่จะพิจารณาผลงานว่าเชี่ยวชาญสาขา

 

แนวปฏิบัติที่ดีของคณะศิลปศาสตร์ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

-          ไม่มีปัญหา เรื่องการประเมินการเรียนการสอน (ดูการเรียนการสอนจริง)

-          ดำเนินการรวดเร็ว

-          เสนอให้มีแบบฟอร์ม

 

การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีของ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของคณะศิลปศาสตร์

-          ส่งแนวปฏิบัติที่ดีสู่อาจารย์โดยจัดทำเป็นบันทึกข้อความ

-          ส่งแนวปฏิบัติที่ดีสู่คณะ/หน่วยงานภายนอก

-          ลงแนวปฏิบัติที่ดีในเว็บไซต์ งานวิจัย คณะศิลปศาสตร์