สรุป กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ ห้องดอกจาน 4 คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เวลา 13.30- 16.00 น.

โดย ผศ.ดร. ธนพรรณ ธานี  และ นางกาญจนา สาธร

 

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

  1. หลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  2. สภาพปัญหาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  3. "การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ" 
  4. แนวปฏิบัติที่ดีของคณะศิลปศาสตร์ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  5. การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีของ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของคณะศิลปศาสตร์

สภาพปัญหาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

-          ปัญหาที่พบคือ จริยธรรม คัดลอกของคนอื่นมาแล้วไม่อ้างอิง คัดลอกผลงานตัวเองหรือวิทยานิพนธ์ของตัวเองแล้วไม่อ้างอิง คัดลอกผลงานนักศึกษา

-          หลักฐาน การรวบรวมเอกสารประกอบ

-          การขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ผศ. รศ. ต้องเป็นสาขาเดียวกัน ดังนั้น การขอตำแหน่งควรเป็นสาขาวิชาที่กว้าง

-          รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่จะพิจารณาผลงานว่าเชี่ยวชาญสาขา

 

แนวปฏิบัติที่ดีของคณะศิลปศาสตร์ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

-          การยื่นงานวิจัย ให้ยื่นเป็นรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

-          ดำเนินการรวดเร็ว

-          เสนอให้มีแบบฟอร์ม

 

การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีของ การทำวิจัยเพื่อนำมาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของคณะศิลปศาสตร์

-         ลงแนวปฏิบัติที่ดีในเว็บไซต์ งานวิจัย คณะศิลปศาสตร์

 

ผลการอบรมที่ได้รับ

1.ได้รับทราบแนวปฏิบัติใหม่ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน

2.ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกับผู้ปฏิบัติงานประเภทเดียวกัน

3.มีความเข้าใจในแนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานประจำมากยิ่งขึ้น

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเตรียมตัวเพื่อประเมินการสอน เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ

วันศุกร์ที่  12  เดือนมิถุนายน  2558  เวลา  15.00-16.30  น.  

ณ  ห้องประชุมดอกจาน 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ประเด็นการแลกเปลี่ยน

-                    การประเมินการสอนและผลงานทางการสอน

ผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการจะต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่สังกัด และเสนอเอกสารการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ดำเนินการสอนหลายวิชา ซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอผลงานทางการสอนในหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน และให้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว

-                    แบบประเมินผลการสอน หัวข้อการประเมิน

1. มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผลการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยเสนอ เอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอน (ตามคำนิยาม รูปแบบ การเผยแพร่และลักษณะคุณภาพ)

2. มีความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์วิจารณ์ในวิชาที่สอน

3. มีความสามารถในการใช้เทคนิควิธีการสอนต่าง ๆ  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและคิดตามการสอนตลอดเวลา และให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เช่น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างสอดแทรกประสบการณ์ ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด ตอบคำถามให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน

4. มีความสามารถให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของ วิชาที่เรียนกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

5. มีการแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งข้อมูลที่จะค้นคว้า ศึกษาเพิ่มเติม

6. มีการจัดให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามความเหมาะสม

7. มีความสามารถในการใช้สื่อการสอน และอุปกรณ์ช่วยสอนที่เหมาะสมเป็นอย่างดี

8. มีความสามารถในการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในวิชาที่สอน เช่น  คำถามที่ตรงจุดมุ่งหมาย  

9. มีจรรยาบรรณของการเป็นอาจารย์ ตามประกาศ ก.พ.อ. ได้แก่ ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง ชื่อสัตย์และรับผิดชอบ โปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม

-                    แบบประเมินเอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอน หัวข้อการประเมิน

1. ความถูกต้องและความทันสมัยของ เนื้อหา

2. ความครอบคลุมรายวิชา หรือหลักสูตร

3. การจัดลำดับเนื้อหา

4. รูปแบบในการเขียน

5. การศึกษาค้นคว้าเอกสารประกอบการ สอน หรือเอกสารคำสอน

6. ความถูกต้องในการใช้ภาษา

7. การเสนอแนวคิดของตนเอง

8. คุณค่าของเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอน

 

 

รายชื่อผู้เข้าร่วม

1.               รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์

2.               ผศ.ดร.วัชรี ศรีคำ

3.               ผศ.ชญานนท์ แสงศรีจันทร์

4.               ดร.จุฬามาศ สุวรรณบูล

5.               อ.ธีระพล อันมัย

6.               ดร.เนตรดาว เถาถวิล

7.               ดร.ราม ประสานศักดิ์

8.               ดร.ณัฎฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์

9.               ดร.ปริวรรต สมนึก

10.        ผศ.ดร.ชมพูนุท ธารีเธียร

11.        อ.เสนาะ เจริญพร

12.        อ.นพพร ช่วงชิง

13.        ผศ.ดร.พิสิทธิ์ กอบบุญ

14.        อ.พุทธราช มาสงค์

15.        อ.ฐิตารัตน์ พันธุ์ชนะ

16.        นางสาวปิยะนุช สิงห์แก้ว

 

 

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก้าวแรกของการขอตำแหน่งทางวิชาการ การกรอกข้อมูลใน ก... 03

วันพฤหัสบดีที่จันทร์ที่  28 พฤษภาคม 2558  2558  เวลา  10.00-12.00  น.

ณ  ห้องประชุมดอกจาน 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ประเด็นการแลกเปลี่ยน

-                    การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ โดยวิธีปกติ ผู้ประสงค์ขอตำแหน่งทางวิชาการควรดูรายละเอียดโดยพิจารณาจากคุณสมบัติดังนี้ 1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง) 2. ผลการประเมินการสอนและผลงานทางการสอน 3. ผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. หรือมหาวิทยาลัยกำหนด 4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการเสนอผลงานทางวิชาการ

          ลำดับแรกในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้เสนอขอควรตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติครบหรือไม่ พิจารณาจาก ถ้าขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในกรณีที่จบปริญญาเอกมาอย่างน้อย 2 ปี จบปริญญาโทอย่างน้อย 5 ปี จบปริญญาตรีอย่างน้อย 9 ปี ในกรณีที่จบปริญญาโท 3 ปี แล้วไปเรียนต่อ มีการคำนวณ โดยการเอาสัดส่วนปริญญาโท 3 หาร 5 ปี ตามเกณฑ์ และสมมติว่าจบปริญญาเอกมา 1 ปี ก็จะหาร 2 ปี ถ้านำทั้งสองสัดส่วนมารวมกันแล้วมีค่าเท่ากับ 1 ขึ้นไป ก็แสดงว่าคุณสมบัติครบ

 

-                    การกรอกข้อมูลใน ก.พ.อ.03 

ให้ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ โหลดแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่  

การกำหนดสาขาวิชาเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ให้พิจารณาจาก 1. ภาระงานสอน 2. ผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอกำหนดตำแหน่ง 3. เป็นสาขาวิชาที่เป็นระบบสากล แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง และได้รับการยอมรับในวงวิชาการในสาขานั้นๆ 4. การกำหนดสาขา ไม่ใช้การกำหนดจากวุฒิการศึกษา หรือวิชาการเอก/สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา หรือภาควิชา คณะ หลักสูตร หรือหน่วยงานที่สังกัด

 

รายชื่อผู้เข้าร่วม

1.               ผศ.ดร.วัชรี ศรีคำ

2.               นางกาญจนา สาธร

3.               นางวรัครศิริ โหตระไวศยะ

4.               ดร.จุฬามาศ สุวรรณบูล

5.               อ.วิชุลดา พิไลพันธ์

6.               ดร.ทรงภพ ขุนมธุรส

7.               ผศ.ดร.ชมพูนุท ธารีเธียร

8.               อ.อรัญญา บุทธิจักร

9.               ดร.เมธี แก่นสาร์

10.        ดร.สุวภัทร ศรีจองแสง

11.        อ.นพพร ช่วงชิง

12.        อ.จักเรศ อิฐรัตน์

13.        อ.เชาวนันท์  ทะนอก

14.        นางสาวปิยะนุช สิงห์แก้ว

 

 

 

 

ในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงขึ้นทุกขณะทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกประเทศต่างมีบทบาทและความมุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จขององค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจ  การมีส่วนร่วมทางสังคม ด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรจึงนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เนื่องจากบุคลากรเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะรักษาสถานภาพองค์กรและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรให้เป็นที่ประจักษ์เกิดการยอมรับ น่าเชื่อถือและจดจำ ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริหารและบุคลากรขององค์กร ตลอดจนผู้รับบริการและลูกค้า นั่นก็คือ "การบริการที่เป็นเลิศ Excellence Service” 

 

ฉะนั้น บุคลาดรในทุกหน่วยงานและทุกองค์กร ควรมีทัศนคติเชิงบวกต่อการบริการ การปรับเปลี่ยน Mindset เพื่อสร้างความแข็งแกร่งภายในพร้อมให้บริการต่อลูกค้าหรือผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างเสน่ห์และเพิ่มคุณค่าของการให้บริการที่ประทับใจ อีกทั้งยังเป็นการลดการต่อต้านด้วยกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์การให้บริการและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเป็นเลิศได้ในที่สุด

 

 

 

ผู้เข้าร่วมอบรม

 

1) นายศักดิ์สิทธิ์  คณะเมือง

 

2) นายเปรมสิทธิ์  ศรีโพนทอง

 

3) นายชัชณรินทร์  บัวจูม


Microsoft Office 365

จะดีแค่ไหนหากเราจะสามารถใช้ Microsoft Office ได้ทุกที่ทุกเวลา


ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโปรแกรม Microsoft Office ซึ่งประกอบไปด้วยโปรแกรมหลักๆ คือ Microsoft Word, Microsoft Excel, และ Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมพื้นฐานและจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน เดิมทีแล้วการจะเข้าใช้งานโปรแกรมนี้จะต้องมีการติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนี้บริษัท Microsoft ได้พัฒนาโปรแกรม Microsoft Office ให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีก ภายใต้ชื่อ Microsoft Office 365 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นโปรแกรมสำหรับการทำงานฉบับออนไลน์

รูปภาพจาก : http://enovate.it/eswp/?page_id=2109

มารู้จัก Microsoft Office 365

1. แอปพลิเคชัน Office ที่ติดตั้งเต็มรูปแบบ สามารถรับ Word, Excel, PowerPoint, OneNote, Outlook, Publisher และ Access เวอร์ชันที่ติดตั้งเต็มรูปแบบล่าสุดที่พร้อมให้คุณใช้งานทุกเมื่อ และถ่ายทอดความคิดด้วยวิธีที่คุณถนัดที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้แป้นพิมพ์ ปากกา หรือหน้าจอสัมผัส

2. ทำงานได้บนหลากหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น PC MAC แท็บเล็ต และ iOS

3. เข้าใช้งานได้จากทุกที่

4. เชื่อมต่อถึงกันเสมอด้วย Skype

     ข้อมูลจาก https://www.microsoft.com/th-th/

     

ผู้เข้าร่วมอบรม Microsoft Office 365

     วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2558 ณ สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

     1. นางสาวกิตติญา พรหมพา

     2. นายชัชณรินทร์ บัวจูม

 

 

 

 

 

 

จากการเข้าร่วมงานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้อุบลราชธานี ครั้งที่ 7

"อ่านสร้างอาชีพ"   วันที่ 15 ส.ค. 58 ณ ตึกสุนีย์ทาวเวอร์ สรุปได้ดังนี้

Extensive Readingและการสร้าง Interactive Classroom แบบง่ายๆ

         การพัฒนาความรู้ เปิดมุมมองใหม่ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีในด้านวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคนิคใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้น รับทราบเทคนิคการสอน Best practice ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นวัตกรรมการสอนในโลกยุคใหม่ และวิธีสร้างเยาวชนให้รักการอ่าน อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

         Extensive Reading คือ การอ่านแบบต่อเนื่อง การอ่านแบบกว้างขวาง เพื่อให้เข้าใจเรื่องราว และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน ไม่ใช่การอ่านแบบ Focus ที่คำศัพท์แต่ละคำ อ่านไปแปลไปทีละคำ ซึ่งจะทำให้การอ่านล่าช้า และน่าเบื่อ ที่สำคัญไม่ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และการอ่านแบบต่อเนื่องแม้ว่ามีศัพท์ที่ไม่รู้พอเจอบ่อยๆ จะทำให้เกิดความอยากรู้ว่าแปลว่าอะไรจนต้องเปิด Dictionary และพออ่านเจอบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง แถมรู้ด้วยว่าจะวางมันในรูปประโยคอย่างไร

Interactive Classroom เป็นการเชื่อมโยงการเรียนการสอนด้วย PowerPoint และ OneNotes ให้สามารถโต้ตอบกันได้ เป็นห้องเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนการสอน ( Interactive Teaching ) จะช่วยเสริมสร้าง . Collaborative Classroom ลักษณะคล้ายกับห้องเรียนที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันจากเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งสื่อในระบบ ที่ทำได้ง่ายสิ้นเปลืองน้อย รวมทั้ง.โต้ตอบกันผ่านระบบแลน โดยเครื่องครูเปิด PowerPoint และเครื่องนักเรียนทุกคนเปิด OneNote  ครูเป็นคนเปิด Seeeion ให้นักเรียนใช้ OneNote เชื่อมต่อเข้ามา ที่หน้าจอจะเห็น Powerpoint ของครูสามารถตอบคำถาม และมีโปรแกรมให้โหลดด้วย

ผู้ร่วมสัมมนา คือ นายกมล  โสภาสิน

 

 

 

 

 

P-S-Y-C-H-O หลักในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข


คนเราคงไม่มีใครเกิดมาแล้วจะอยู่บนโลกนี้ได้คนเดียว ทุกคนล้วนต้องพึ่งพากันเสมอ ยิ่งการทำงานแล้วนั้นเราไม่สามารถทำงานเพียงลำพังได้เลย แน่นอนว่าในขั้นตอนการทำงานทุกอย่างต้องมีการติดต่อสื่อสารและระดมความคิดร่วมกับผู้อื่น  การทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือที่เราเรียกกันว่า"ทีมเวิร์ค" จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หลักการง่ายๆ ที่จะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้ ดังนี้

P-S-Y-C-H-O หลักในการทำง


Positive Thinking คิดแต่ทางบวก 
ถ้าคุณสามารถปรับความคิด ทัศนคติของตัวคุณเองโดยให้มองโลกในทางบวกไว้เสมอ คุณก็จะมีความสุขและสนุกกับสิ่งที่กำลังทำอยู่

Smile ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจ
ถ้าคุณทำงานด้วยรอยยิ้ม คุณก็จะทำงานอย่างมีความสุขและทำให้คุณพร้อมจะรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามา 

Yours จริงใจให้กัน 
ถ้าคุณพร้อมที่จะอาสาช่วยเหลือบุคคลอื่นโดยไม่ต้องรอให้เขาร้องขอ คุณก็จะได้รับการแสดงออกจากคนอื่นทั้งความคิดและการกระทำจากบุคคลรอบข้างตัว คุณด้วยความเต็มใจ

Compromise สมานสามัคคี ด้วยการประนีประนอม
ถ้าคุณสร้าง Win-Win Situation ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบ คุณก็จะได้งานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มคุณเอง

Human Relations สัมพันธ์ที่ดี 
ถ้าคุณสร้างมิตรผูกพัน ทักทายกับบุคคลต่าง ๆ ทั้งที่รู้จักและที่ไม่รู้จัก คุณก็จะมีเครือข่ายมากมายและได้รับการยอมรับพร้อมความช่วยเหลือจากบุคลอื่น อยู่ตลอดเวลา

Oral Communication สื่อสารชัดเจน 
ถ้าคุณพึงตระหนักไว้เสมอว่าข้อมูลที่คุณกำลังสื่อออกไปนั้น ควรจะต้องชัดเจน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ คุณก็จะไม่เกิดความขัดแย้งหรือปัญหาในการทำงานร่มกับผู้อื่น งานที่ออกมาก็ถูกต้องชัดเจน

 

สรุปว่า การทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ควรเริ่มต้นจากการมองตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้ เป็นคนที่มองโลกในแง่ดี การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ มีความจริงใจในการให้ความช่วยเหลือ  การประนีประนอม  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น  รวมทั้งการให้ข้อมูลที่ชัดเจน …
ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมจะทำให้คุณมีเสน่ห์และสร้างความประทับที่ดีกับบุคคลอื่นที่คุณต้องทำงานร่วมด้วย
 
(https://blog.eduzones.com/redirect.php?url=http://www.jobthai.com/hkYmhQ)

 

จากการเข้าร่วมงานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้อุบลราชธานี ครั้งที่ 7 "อ่านสร้างอาชีพ"

วันที่ 12 ส.ค. 58 ณ ตึกสุนีย์ทาวเวอร์ สรุปได้ดังนี้

บุคลิกพลิกชีวิต

"บุคลิกพลิกชีวิต คือบุคลิกภาพโดยองค์รวม (Holistic Personality) ที่ทำให้ทราบว่า แบบฉบับพฤติกรรมของบุคคลตั้งแต่วัยเด็กวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่นั้น มีความสำคัญและส่งผลต่อชีวิตของคนเราตลอดทั้งชีวิต

การพัฒนาบุคลิกภาพ แบ่งได้ดังนี้คือ

1.       ด้านความคิด เช่น คิดด้านดี,คิดสร้างสรรค์,คิดแบบจิตอาสา,มีความรับผิดชอบ,ความไว้วางใจ,และการรับรู้รวมทั้งการสำนึกในบุญคุณ เป็นต้น

2.       ด้านการสื่อสาร เช่น สื่อสารเพื่อสร้างมิตรภาพ, เพื่อขอความร่วมมือ, เพื่อจัดการความขัดแย้ง, เพื่อสร้างกำลังใจ,สื่อสารด้วยรอยยิ้ม,สื่อสารด้วยการรับฟังอย่างมีคุณภาพ,รวมทั้ง การสื่อสารที่ทำลายบุคลิกภาพ

3.       ด้านพฤติกรรม คือการแสดงออก เช่น นั่ง,ยืน,เดิน,ยิ้ม,สบตาและการเชื้อเชิญ

4.      ด้านการแต่งกายและการแต่งหน้าทำผม เช่นสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับสีผิว,การแต่งหน้าตามรูปหน้า,และการแต่งกายให้ดูดี

บุคลิกภาพองค์รวม (Holistic Personality) คือผลรวมของชีวิตทั้งชีวิต เช่น 1. สมบูรณ์ทางกายแต่พร่องทางจิต 2. พร่องทางกายแต่ใจสมบูรณ์  3. พร้อมทั้งกายใจ  4..ผลรวมแห่งความสมบูรณ์ของคำว่าบุคลิกภาพ คือเปี่ยมด้วย สุขภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพ

ซึ่งจะพบว่าบุคลิกภาพ ไม่ใช่เพียงแค่เสื้อผ้าหน้าผมเพียงเท่านั้น แต่ความหมายคือชีวิตทั้งชีวิต ซึ่งคุณสามารถที่จะศึกษาและเปลี่ยนแปลงจน "พลิกชีวิต" ได้!

ผู้ร่วมสัมมนา คือ นายกมล  โสภาสิน

 

สรุปเนื้อหาการเขียนหนังสือราชการภายในและภายนอก

   ปัจจุบันงานสารบรรณมีระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับได้แก่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารรณ พ.ศ. 2556  และระเบียบ

งานสารบรรณ พ.ศ. 25548  ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมคำนิยามเกี่ยวกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และคำว่าระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์  

ความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนหนังสือ

1. เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ระหว่างผู้ส่งและผู้รับหนังสือ

2. สามารถสื่อสารความหมายได้ถูกต้อง ตรงประเด็น และเข้าใจตรงกัน

3. ประหยัดเวลา ในการตีความ  ไม่ต้องสอบถามหรือเขียนใหม่ นำกลับมาอ่านทบทวน ทำความเข้าใจได้หลายครั้งเท่่าที่ต้องการ

4. สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้

5. ใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่

6. เป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

ความหมายของหนังสือราชการ

1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ

2. หนังสือส่วนราชการมีไปถึงส่วนราชการอื่นใด  ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก

3. หนังสือส่วนราชการอื่นใด  ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ  หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ

4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ

5. เอกสารที่ทางราชการจัดขึ้นตามกฎหมาย  ระเบียบ  หรือขัอบังคับ

ความแตกต่างของหนังสือภายในและภายนอก และบันทึก  

หนังสือภายนอก

หนังสือภายใน

บันทึก

1. ติดต่อระหว่างกระทรวง หรือบุคคลภายนอก

2. ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าส่วนราชการะดับกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

3. ใช้รูปแบบหนังสือภายนอก “กระดาษตราครุฑ”  มีเรื่อง  เรียน  อ้างถึง  สิ่งที่ส่งมาด้วย

4. เป็นพิธีการเต็มรูปแบบ  ออกเลขที่ทุกครั้ง

5. ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย

6. มีสำเนาคู่ฉบับและสำเนาครบถ้วน

1. ติดร่อระหว่างกรม หรือเทียบเท่าในสังกัดกระทรวงเดียวกัน

2. ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าส่วนราชการะดับกรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

3. ใช้รูปแบบหนังสือภายใน “กระดาษบันทึกขอความ”  มีเฉพาะ เรื่อง  เรียน

4. เป็นทางการ  ออกเลขที่  แต่เป็นพิธีการน้อยกว่าหนังสือภายนอก

5. ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย

6. มีสำเนาคู่ฉบับ

1. ติดต่อภายในกรมเดียวกัน

2. หัวหน้าส่วนราชการ ห หรือเจ้าหน้าที่สามารถลงนามได้ 

3. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ  หรือกระดาษอื่นได้  จะมีชื่อเรื่อง หรือไม่มีก็ได้

4. เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้  ออกเลขที่ภายใน หรือไม่มีเลขที่ก็ได้

5. พิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือก็ได้

6. อาจไม่มีสำเนาก็ได้

  

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526†‡

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2506 เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้  เอกสารแนบ

 

ตัวอย่างหนังสือราชการภายในและภายนอก (บันทึกข้อความ)..ที่ถูกต้อง...สามารถดาว์โลด์ได้ที่

 แบบฟอร์มหนังสือภายใน (บันทึกข้อความ)

 แบบฟอร์มหนังสือราชการภายนอก

 

 

มีหนังสือน่าสนใจมาแนะนำครับ เป็นหนังสือที่เห็นแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว "วิธีอยู่ร่วมกับ KPI อย่างสันติ" ของ อาจารย์วรภัทร ภู่เจริญ อาจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ นักบรรยายด้านการบริหารองค์กร และกระบวนกรระดับประเทศ หนังสือเล่มนี้เคยโพสในเฟสส่วนตัว และเฟส SAC แล้ว แต่ก็คนละแบบกัน เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องสำนักงาน และผู้สนใจอื่นๆ น่าสนใจยังไง ลองดูข้อความที่เว็บเขาว่าไว้ ดังนี้ครับ

KPI เป็นเครื่องมือในการวัดผล ไม่ว่าจะเป็นเชิงปริมาณ คุณภาพ หรือแม้แต่วัดพฤติกรรมของคนเองก็ตาม แต่หลายครั้งที่นักบริหารผู้ยึดตัวเองเป็นใหญ่ใช้ KPI ไปในทางที่ผิดๆ เช่น ผู้บริหารที่คิดอยู่ในหัวว่าจะเอา KPI ไปวัดว่าใครขี้เกียจ ผู้บริหารที่มองคนในองค์กรแบบอคติ ย่อมทำให้การทำ KPI เป็นที่น่ารังเกียจ ผลคือทำให้เกิดการมั่วตัวเลข โยนความผิด เรียนรู้น้อย ฯลฯ เจ้านายแบบนี้เหมือนพ่อแม่ที่คอยดุด่าลูก สุดท้ายลูกก็หนีออกจากบ้าน หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนคู่มือการวาง ยุทธ์ศาสตร์และการบริหารจากมุมมองของดร.วรภัทร์ ภู่เจริญที่ปรึกษาองค์กรและสถาบันชื่อดังมากมาย ที่ทำให้คุณเข้าใจในมุมมองใหม่ ลองอ่าน ลองทำ และลองเข้าใจ แล้วคุณจะพบ KPI ที่ใช่เพื่อสู่ความสำเร็จด้วยความร่วมมือของคุณและทุกคนในองค์กร หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณรู้จัก KPI เครื่องมือช่วยบริหาร วางแผนยุทธศาสตร์อย่างชาญฉลาด เพื่อนำไปสู่ดวงดาวแห่งความสำเร็จในองค์กร (http://www.booksmile.co.th)