การเขียนหนังสือราชการ ถือเป็นวิชาหนึ่งที่ข้าราชการและหรือบุคลากรในภาครัฐทุกคนต้องศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งในแต่ละองค์กรนั้นย่อมมีภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างส่วนต่างๆทั้งภายในองค์กร และเครือข่ายภายนอกองค์กรอยู่เป็นประจำ  โดยที่หนังสือราชการเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติราชการ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรในองค์กร เนื่องจากการเขียนหนังสือราชการเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันได้  จะช่วยประหยัดเวลา และปฏิบัติงานได้ตรงจุดประสงค์ อีกทั้งการเขียนหนังสือราชการมิได้มีความหมายเพียงตัวหนังสือ และเอกสารเท่านั้น หากยังบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร และเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรอีกด้วย

          ด้วยตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเขียนหนังสือราชการ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐได้เสริมสร้างความรู้และเทคนิคในการเขียนหนังสือราชการ ซึ่งจะเขียนอย่างไรให้ดูดี ถูกต้องทั้งเนื้อหา หลักภาษา ถูกความนิยม มีความชัดเจน รัดกุม กะทัดรัด สามารถสร้างความเข้าใจและสื่อสารถึงความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นอาศัยการเรียนรู้ ทฤษฎี หลักการเขียนพร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติ ดังนั้น สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงเห็นสมควรจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านธุรการและเทคนิคการเขียนหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณ” ขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่และหรือบุคลากรภาครัฐได้รับความรู้ เรียนรู้หลักการเขียน รูปแบบต่างๆ ของหนังสือราชการการสรุปเนื้อหา การเรียบเรียงความคิด การพัฒนาทักษะให้สามารถเขียนหนังสือราชการประเภทต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

การบรรยาย และเน้นการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งมีการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรมก่อน – หลังการอบรม  โดยมีเนื้อหาในการอบรมที่สำคัญประกอบด้วย

          ส่วนที่ ๑ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการ (๓ ชั่วโมง)

          เป็นการปูพื้นฐานและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณโดยการบรรยาย พร้อมกับยกกรณีตัวอย่าง และทำกิจกรรมการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ และหนังสือราชการรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย

-          ความสำคัญของหนังสือติดต่อราชการ

-          ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖

-          ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๔๘

-          รูปแบบและองค์ประกอบของหนังสือราชการ(หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา)

 

ส่วนที่ ๒ : เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและหนังสือโต้ตอบ (จำนวน  ๙  ชั่วโมง)

          เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเขียนหนังสือติดต่อราชการแบบต่างๆ ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะในการเขียนหนังสือติดต่อราชการอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ

          -  เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและหนังสือโต้ตอบ

          -  ฝึกปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ

          -  วิเคราะห์โครงสร้างประโยคและใจความสำคัญของย่อหน้า

          -  ทักษะในการจับประเด็นและสาระสำคัญ

          -  การใช้ภาษาที่ถูกต้อง(ภาษาหนังสือราชการ)

          -  สำนวนที่ใช้ในหนังสือราชการประเภทต่างๆ อาทิ

                    *  หนังสือขอความอนุเคราะห์

                   *  หนังสือปฏิเสธ

                   *  หนังสือเชิญเป็นวิทยากร

                   *  ฯลฯ

     ปัจจุบันปัญหาการลักลอกผลงานวิชาการและวรรณกรรม หรือ Plagiarism เป็นประเด็น   ที่มีการกล่าวถึงกันมาก ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้ Internet อย่างแพร่หลาย ทำให้นิสิต นักศึกษา สามารถหาข้อมูลอินเตอร์เน็ต แล้วใช้ในการลอกผลงานวิชาการบางส่วนทางอินเตอร์เน็ต  ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณทางวิชาการและเป็นความผิดร้ายแรงในแวดวงวิชาการนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้กำหนดมาตรการในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการขึ้น

     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้เครื่องมือช่วยให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถติดตามและรู้ความก้าวหน้าและการทำงานของนิสิตเป็นระยะ  โดนนิสิตต้องเขียนแผนการทำวิทยานิพนธ์และรายงานความก้าวหน้าทุกภาคการศึกษา  โดยใช้ระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) ผลงานโดยบริษัท แฟคเกอร์ จำกัด ซึ่ง เพื่อช่วยในการเตรียมวิทยานิพนธ์ของนิสิตให้มีรูปแบบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดและมีเนื้อหาครบถ้วน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ระบบนี้จะทำการตรวจสอบงานการคัดลอกผลงาน ร่วมกับโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ได้อัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งกำหนดให้นิสิตใช้งานแล้วตั้งแต่ปีการศึกษา 2556

     เครื่องมือช่วยในการตรวจสอบวิทยานิพนธ์และผลงานวิชาการของนิสิต ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรม Turnitin และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ทั้งสองโปรแกรมเป็นระบบที่ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน และแสดงค่าคะแนนความคล้ายคลึงของเอกสาร

     โปรแกรม Turnitin เป็นซอฟแวร์เชิงพาณิชย์จากต่างประเทศจะใช้ตรวจสอบเนื้อหาภาษาอังกฤษได้ดี และมีฐานข้อมูลที่ใหญ่ ใช้งานทั่วโลก แต่เป็นอุปสรรคในการตรวจสอบเอกสารที่เป็นภาษาไทย

     ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึ่ง ได้พัฒนาโปรแกรม อักขราวิสุทธิ์ ขึ้น พัฒนาโดย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยการประมวลผลภาษาและวัจนะ คณะอักษรศาสตร์ จุฬา เพื่อตรวจสอบการคัดลอกภาษาไทยเป็นหลักโดยเฉพาะ  และมีการพัฒนาต่อเนื่องให้สามารถตรวจสอบภาษาอังกฤษได้ด้วย

     โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์นี้ สามารถใช้ได้ในลักษณะแยกต่างหากและเชื่อมต่อกับระบบ CU E-THESIS ดังนั้นเมื่อนิสิตส่งผลงานวิทยานิพนธ์ระบบนี้จะดำเนินการตรวจสอบและแจ้งผลให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบด้วย

ผลที่ได้จากระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ มาใช้งานในมหาวิทยาลัย 

  • ทำให้มี Templete สำหรับการเตรียมทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง  
  • สามารถส่งอาจารย์ผ่านระบบนี้ และสามารถตรวจสอบอาจารย์ได้ด้วยว่าได้ตรวจวิทยานิพนธ์นิสิตหรือเปล่า ?
  • มีระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย ได้รับความเสียหาย
  • ข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย
  • ขั้นตอนในการนัดสอบวิทยานิพนธ์และส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จะกระชับมากขึ้น
  • เลี่ยงปัญหาการลักลอกผลงานวิชาการ  โดยไม่ได้เจตนา

ประโยชน์ของหน่วยงาน ที่ใช้คือ

  • ส่งต่อและแบ่งปันข้อมูลวิทยานิพนธ์ เข้าถึงห้องสมุดได้ทันที
  • และทำให้การลักลอกผลงานวิชาการลดลงได้

     ระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ นี้ เริ่มใช้งานจริงแล้วในบัณฑิตศึกษา ในภาคการศึกษาต้น  ปีการศึกษา 2556  เฉพาะ คาดว่าจะวิทยานิพนธ์เล่นใหม่ ประมาณ 700-800 เล่ม ในเทอมนี้ และจะได้วิทยานิพนธ์เพิ่มขึ้นถึง 2500 เล่มต่อปี  และทั้ง 2 โปรแกรมนี้ยังพัฒนาต่อไป โดยจะขยายฐานข้อมูลให้มากขึ้น เริ่มใช้งานจริงทั้งมหาวิทยาลัย และมีแผนเปิดให้มหาวิทยาลัยอื่นๆร่วมใช้ระบบนี้ได้ด้วย ในช่วงภาคปลาย ปีการศึกษา 2557

ได้กล่าวถึง โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter University Network) หรือที่เรียกว่า เครือข่าย “UniNet”  จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2539 เห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรกลางดำเนินโครงการในลักษณะการจัดหาวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงเพื่อใช้สำหรับการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสารของสถาบันอุดมศึกษา  และจัดตั้งเป็นสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นการดำเนินการขยายโอกาสอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน สำนักงานฯ ได้เชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย/สถาบันในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงอยู่บนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) เพื่อให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการจัดการศึกษา สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทั้งภายในและต่างประเทศ

หัวข้อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียน ได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาและคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทย พร้อมกับลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเด็กนักเรียนในเมืองและชนบท ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และได้รับการยกย่องว่าเป็นโครงการตัวอย่าง (Best Practice) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาหาความรู้           

             ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม   ได้ทราบถึงการจัดการระบบสารสนเทศที่มีในประเทศไทย โดย

            1. ได้เห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเครือข่ายสารสนเทศของไทย เพื่อเป็นทางด่วนสารสนเทศความเร็วสูงเพื่อการศึกษา/ วิจัยของภาครัฐที่เพียงพอ 

            2. ได้รู้ถึงการเป็นศูนย์กลางการศึกษา/วิจัย เรื่องทางด่วนสารสนเทศของประเทศไทย โดยการนำทางด่วนสารสนเทศที่เคยอยู่ในขั้นทดลองมาใช้งานจริงในด้านการศึกษา/การพัฒนา บุคลากร ของชาติ

            3. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปเป็นแนวทาง/ต่อยอดความรู้ในอนาคตได้

อบรมขั้นตอนการเบิกจ่ายงานการเงินพัสดุ  วันที่  29 มกราคม  2559 ณ ห้อง LA 314 คณะศิลปศาสตร์

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจถึงกระบวนการเบิกจ่าย

2. เพื่อให้รู้ถึงระเบียบการเบิกจ่ายที่ถูกต้อง

3. รู้ถึงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่ถูกต้อง

สิ่งที่ได้รับในการอบรมครั้งนี้

1. รู้ถึงระเบียบการเบิกจ่าย ว่าเบิกจ่ายยังไงให้ถูกต้องตามระเบียบ

2. รู้ถึงปัญหาการทำงาน การเคลียเอกสาร  ขั้นตอนการเบิกจ่าย

3. ระเบียบต่าง ๆ การเดินทางไปราชการ  

4.การจัดโครงการ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้

5. การจำแนกหมวดหมู่วัสดุที่ชัดเจน

6. การตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า Social Media ทั้งหลายแหล่นั้น ทำไมเวลากด Like , แชร์ content นั่นนี่ แล้วเพื่อนๆ ของเรา รับรู้ได้โดยทันทีว่าเราได้ทำอะไรซักอย่างลงไปแล้วนะ 

หนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึก real-time ใน web application ที่กำลังมาแรง ก็คือ Node.js

 

 

Node.js เป็นภาษา Javascript แบบหนึ่ง แต่เป็น server side javascript ซึ่งใช้แนวคิดแบบ asynchronous event-driven model ซึ่งเหมาะกับระบบที่ต้องการทำงานแบบ Real time

อันที่จริง ความเร็วของ Node.js คือ การที่มันทำงานโดยทำงานหลายๆ อย่างได้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ในภาษาทั่วๆไป การทำงานคือ ให้ทำการคำนวณในบรรทัดแรกจนเสร็จ แล้วค่อยวิ่งไปทำงานบรรทัดถัดไปเรื่อย ๆ แต่ Node.js จะสามารถทำงานหลายๆ บรรทัดได้พร้อมๆ กัน ซึ่งนั่นทำให้เกิดความเร็วที่ทำให้ดูเหมือน Real time ขึ้น

ทีนี้ เมื่อเราสามารถทำให้มันติดต่อกันได้แล้ว แต่ลองนึกเล่นๆ ดูว่า ถ้าจะส่งข้อความหากัน แล้วทำการปิดๆเปิดๆ ฐานข้อมูลบ่อย ๆ ไม่นาน server เราต้องล่มแน่ๆ ดังนั้น จึงต้องอาศัยความสามารถของการเปิดช่องทางในการคุยกันค้างไว้ซะเลย ด้วย socket.io

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า Social Media ทั้งหลายแหล่นั้น ทำไมเวลากด Like , แชร์ content นั่นนี่ แล้วเพื่อนๆ ของเรา รับรู้ได้โดยทันทีว่าเราได้ทำอะไรซักอย่างลงไปแล้วนะ 

หนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึก real-time ใน web application ที่กำลังมาแรง ก็คือ Node.js

สัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 31 มนุษยศาสตร์ดิจิทัล :

เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สารสนเทศด้านมนุษยศาสตร์

ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเซนทารา  ขอนแก่น

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาฯ  ทำให้ทราบว่าโลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย รวมทั้ง เทคโนโลยีที่มีการพัฒนามากขึ้น  มีการแข่งขันกันสูงขึ้น วิถีชีวิตของยุคสมัยและคนรุ่นเก่าเริ่มหายไปอย่างสิ้นเชิง คลังความรู้ที่ผ่านหนังสือที่จับต้องได้แบบกระดาษ เริ่มตกยุค เพราะไม่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคออนไลน์และโซเซียลมีเดีย

การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลกำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่น และคนในวัยทำงานที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคการอ่านทุกสิ่งทุกอย่างผ่านเครื่องมือสื่อสาร อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แฟบเล็ต ที่บรรจุหนังสือเป็นไฟล์ดิจิทัลได้มากมาย

การคงอยู่ของห้องสมุด ต้องตื่นตัวในการสร้างนวัตกรรมสำหรับทุกๆงานของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นด้านจัดหา การแค็ตตาล็อก การสืบค้น และการบริการด้านต่างๆ รวมทั้งการนำสื่อดิจิทัลมาใช้แทนทรัพยากรแบบเก่ารวมไปถึงการสร้างสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายจากทั่วโลก เพื่อให้บริการทางการศึกษาและค้นคว้าความรู้อย่างครบวงจร

การเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่ห้องสมุดของอนาคต มี 2 เรื่อง คือ

1. บทบาทของห้องสมุด

2. รูปแบบและการจัดการพื้นที่ห้องสมุด

ส่วนการปรับตัวจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ 3 เรื่องคือ

1. ความเข้าใจและเท่าทันต่อความก้าวหน้าของโลกดิจิทัลและขอมูลของสารสนเทศที่มีอยู่มากมาย

2. การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้บริการ

3. การปรับมุมมองวิธีคิดในการบริการจัดการพื้นที่ของห้องสมุด

ควรมีการปรับหรือออกแบบห้องสมุด ที่ตอบสนองความต้องการและรูปแบบชีวิตใหม่ โดยเชื่อมโยงกับแนวคิดบ้านหลังที่ 3 ซึ่งหมายถึง พื้นที่สาธารณะแบบเปิดระหว่างที่ทำงานกับที่พักส่วนตัว เป็นทั้งห้องนั่งเล่น หรือพื้นที่ที่สามารถให้คนรุ่นใหม่ได้พบปะสังสรรค์กันได้

 

 

โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากร

ระหว่างวันที่ 24 ส.ค.-4 ก.ย. 58

 อาคาร 7 รอบ และห้องพิบูลมังสาหาร ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี

 

เป็นการอบรมที่วัดทักษะทั้งหมดทางด้านภาษา นั่นคือ การฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) การเขียน (Writing) และการพูด (Speaking) การทดสอบการพูดเป็นการสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับผู้สอน

รายละเอียดที่อบรม

Listening  การฟังแบบในชีวิตประจำวันและเชิงวิชาการ การพูดโทรศัพท์ การสั่งอาหาร  การบรรยายสั้นๆ

คำถาม มีได้ตั้งแต่ ถามเบอร์โทรศัพท์ ชื่อถนน เมนูอาหาร

คำตอบ เป็นแบบเขียนตอบทั้งหมด อาจจะมีเติมคำในรูปภาพหรือตาราง เติมคำในประโยค เรียงลำดับ หรือแบบปรนัย

มีฝึกทำข้อสอบโดยการจับเวลา เขียนคำตอบลงในกระดาษคำถามก่อน หลังจากฟังจบ

 

Reading  มีทั้งบทความที่เป็นข่าวและบทความเชิงวิชาการ เรื่องราวทั่วไป ไม่ยาวมากเช่นสุขภาพ เรื่องอาหาร  

          เป็นต้น

ลักษณะคำถามคำตอบ เป็นแบบเขียนตอบ เช่น เติมคำ ในประโยค Matching True/False/Not Given เรียงลำดับ หรือแบบปรนัย

มีฝึกทำข้อสอบโดยการจับเวลา เวลาทำข้อสอบ ให้อ่านบทความแบบ Skim/Scan ก่อนหนึ่งรอบเพื่อดูคร่าวๆ ว่าเนื้อหาสาระมีอะไรบ้าง แล้วไปอ่านคำถาม จะได้กลับมาหาคำตอบได้ถูกจุด

 

Writing

          เป็นการ เขียน response กับข้อมูลที่โจทย์ให้มา ต้องเขียนตอบไม่น้อยกว่า 50 -150 คำ ซึ่งมีการกำหนดเวลาให้

          การเขียนใช้ tense ธรรมดา Present Simpletense, Past Simple tense และ Present Perfect tense รวมทั้งการใช้ transition words, compare and contrast words มีการตรวจคำผิด

 

Speaking

          Examiner จะพูดคุยกับแบบสบายๆ ให้แนะนำตัวเอง สถานที่ทำงาน ครอบครัว เรื่องอาหาร เช่นคำถามว่าทานอาหารกลางวันอะไร ชอบทำงานอดิเรกอะไร มี key question

 

เป้าหมายดังกล่าว คือการจัดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษและการจัดอบรมภาษาอังกฤษให้แก่พนักงานซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของพนักงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ผลการพัฒนานี้ประกอบในการพิจารณาเลื่อนระดับพนักงานตำแหน่งวิชาชีพอื่นๆ อีกด้วย

 

ผู้ร่วมอบรม คือ น.ส.กชพรรณ  บุญฉลวย

 

เรื่อง อบรมเชิงปฎิบัติการการใช้ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ CHE QA Online ระดับหลักสูตร

ระหว่างวันที่  27 , 30  ต.ค. 2558

  สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย / คณะบริหารศาสตร์

 ความเป็นมาของระบบฐานข้อมูลด้านสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา ระบบ CHE QA Online

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (CHE QA Online) เพื่อให้เป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน และการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่สถาบัน ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง(SAR) และรายงานประจำปี(Annual Report) ซึ่ง สกอ. ได้กำหนดให้ทุกสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการในการจัดทำรายงานการประเมินตน เอง(SAR) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ CHE QA Online อย่างเต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2551 และให้มีการจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง(SAR) พร้อมผลการตรวจประเมินฯ ด้วยวิธีออนไลน์ไปยัง สกอ.  ภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปีการศึกษา

   

CHE QA Online (Commission on Higher Education Quality Assessment online system)  

      คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบ CHE QA Online เป็นระบบที่ใช้ในการจัดทำ รายงานการประเมินตนเอง(SAR)” ในระดับสถาบัน คณะและหน่วยงาน โดยสถาบันและทุกหน่วยงานจะต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในระบบฐานข้อมูล CHE QA Online ที่ สกอ. ได้กำหนดไว้ และผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจะตรวจประเมินฯ โดยใช้สิทธิ์ Assessor ของระบบ CHE QA Online ซึ่งภายหลังจากการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประธานผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน จะเป็นผู้ออนไลน์ส่งข้อมูล รายงานการประเมินตนเองและผลการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเฉพาะระดับสถาบันและคณะไปยังฐานข้อมูลกลางของ สกอ.

 

 ในการอบรมจะมีหัวข้ออบรม เกี่ยวกับการกรอกข้อมูล  input ของหมวดที่ 1 - หมวดที่ 8 การกรอกข้อมูลการประเมินตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการรายงาน ผลการประเมิน ซึ่งทำให้เราสามารถนำมาพัฒนางานและมีข้อดี ดังนี้

1. ทำให้ทราบระบบฐานข้อมูลด้านประกันคุณภาพการศึกษา สามารถกรอกข้อมูล ระบบ CHE QA Online ระดับหลักสูตร

2. ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมสําเร็จรูป CHE QA Online System  รวมถึงบทบาทและหน้าที่หลักของผู้เกี่ยวข้อง

3. ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในใหม่

ผู้ร่วมอบรม ดังนี้

1.น.ส.มิณฑิตา   โสภา           2. นางละอองดาว  เพชรแก้ว                3. นางวรัคศิริ  โหตระไวศยะ

4. น.ส.กิตติญา  พรหมพา       5. นางวรารัตน์ พรหมสาขา ณ สกลนคร     6. น.ส.อัญญรินทร์  ทาสา

7. นางปาณฑรา  ศิริทวี         8. นางโสภาวรรณ  เหล่าบุตรดี               9. น.ส.พัทนี  เจริญทัสน์

10. นายชัชฎาภรณ์  จำปาจูม   11. นางฐิตินันท์  ภูนิคม                     12. นายมงคลชัย  ล้อมวงษ์

13. นายวิชชุภงค์  ลิมปิทีปราการ  14. นางพัชรี  ลิมปิทีปราการ

 

 

 

การเขียนบรรณานุกรมเพื่อแสดงจริยธรรม อ้างอิงแหล่งที่มาของบทความ หรือแหล่งข้อมูลมีหลายระบบด้วยกัน แต่ที่เป็นที่นิยมกันในด้านภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็คือระบบ การเขียนบรรณานุกรมระบบAPA (American Psychological Association)  ในปัจจุบันกำหนดรูปแบบมาตรฐานเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 โดยมีกรรมการมาจากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เพิ่มมากขึ้นโดยมีรูปแบบการเขียนข้อมูลต่างกันไป ปัจจุบัน กำหนดให้รุบุชื่อผู้เขียน สูงสุด ถึง 8 คน และกำหนดให้เขียนข้อมูลอื่นๆ ตามประเภทของแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วิทยานิพนธ์ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น

คณะทำงานฝ่ายวิชาการ การสัมมนา Pulinet วิชาการ ครั้งที่ 3 ได้จัดทำตารางสรุปแนวทางการเขียนบรรณานุกรมอย่างง่ายไว้ เป็นการสรุปวิธีการเขียนบรรณานุกรมที่ดูแล้วเข้าใจได้ง่าย สามารถดาวน์โหลดได้ตาม URL นี้ http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/My%20site/data/ref/APA_6th_ed.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก้าวที่สาม การตรวจสอบเอกสารการสอน เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ

วันจันทร์ที่  20  กรกฎาคม  2558  เวลา  13.00-16.00  น. 

ณ  ห้องประชุมดอกจาน 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

ประเด็นการแลกเปลี่ยน

-                    ตรวจสอบเอกสารการสอน ที่ผู้เข้าร่วมนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยน 

-                    การจัดทำเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอนต้องจัดทำให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.

-                    เนื้อหาและการนา เสนอเนื้อหา ควรนำเสนอความรู้ใหม่ ที่ มีความถูกต้อง ความทันสมัย ความสมบูรณ์ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้เอกสารประกอบการสอนนั้น  การนา เสนอเนื้อหา มีวิธีการนำเสนอ โดยการบรรยาย อธิบาย การอ้างเหตุผล การใช้

-                    ภาษาที่เป็นภาษาวิชาการที่ดี กะทัดรัด ชัดเจน อ่านง่าย รวมทั้งมีเครื่องมือช่วยอธิบาย เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ ที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความน่าสนใจ

-                    ส่วนประกอบและรูปเล่มของเอกสารประกอบการสอน ประกอบด้วยส่วนนำ ส่วนเนื้อหาและส่วนท้ายและในแต่ละส่วนมีรายละเอียด  ส่วนนำ ประกอบด้วย ใบรองปก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ และแผนการเรียนรู้หรือแผนการสอน

-                     ส่วนเนื้อหาแบ่งเป็นบทและเรื่อง  ส่วนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม และภาคผนวก ถ้ามี

-

รายชื่อผู้เข้าร่วม

1.               ผศ.ดร.วัชรี ศรีคำ

2.               ผศ.ชญานนท์ แสงศรีจันทร์

3.               ผศ.ดร.ชมพูนุท ธารีเธียร

4.               อ.มิตต ทรัพย์ผุด

5.               ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ

6.               ดร.วรรณพรรธน์ เรืองทรัพย์

7.               นางวรัครศิริ โหตระไวศยะ

8.               นางสาวปิยะนุช สิงห์แก้ว