การทำรายงานจากข้อมูลดิบที่เรามีเป็นตาราง(เช่น Excel เป็นต้น) หากเรามีข้อมูลเยอะ การนำเสนอในรูปแบบตารางอาจจะดูไม่ง่ายต่อการวิเคราะห์และอาจทำให้ดูยากเนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก แต่หากเราสามารถนำเสนอในรูปแบบรูปภาพ หรือที่เราเรียกว่า Data Visualization นั้น อาจทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เข้าใจ หรือจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น

          เครื่องมือที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่

·       Excel chart (Microsoft)

·       Power BI (Microsoft)

·       Lookerstudio (google)

แต่การที่จะได้มาของการทำ Data Visualization ต้องมีการเตรียมข้อมูล ซึ่ง การเตรียมข้อมูลที่ดี คือข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ง่ายโดยข้อมูลที่เหมาะสมในการใช้งาน คือ ข้อมูลที่เป็น file excel, csv. หรือ json เป็นต้น

§  การหาและรวบรวมข้อมูล : Data acquisition

                                          ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดเพราะหากไม่มีข้อมูลก็ไม่สามารถทำขั้นตอนอื่นๆ ได้

§  การเตรียมข้อมูล : Data preparation

§  การทำความสะอาดข้อมูล : Data cleaning

§  เปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล  : Data restructuring

                                           เพื่อให้พร้อมต่อการใช้งาน

§  การทำ Visualization ซึ่งจะต้องเลือกว่าจะสร้างแบบ Visual mapping หรือ Visual rendering

ทั้งนี้ การทำ Data Visualization นั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องมีการรายงานข้อมูลประจำปีเชิงตัวเลข เช่น งานนโยบายและแผน งานการเงินพัสดุ งานรับเข้า เป็นต้น

เรื่องที่อบรม “เพิ่มความรู้การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างการแต่งตั้งคณะกรรมการพัสดุ ปัญหาการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและคณะกรรมการพัสดุ การจัดทำขอบเขตงานการกำหนดราคากลาง และแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง

ด้านการจัดการความรู้

            1.  การทำงานด้านพัสดุไม่ควรใช้ความรู้สึกในการทำงาน ต้องปฏิบัติและยึดหลักระเบียบเป็นหลัก

            2. การจัดซื้อจัดจ้าง ห้ามมิให้ทำการส่งของ หรือทำงานจ้างก่อน โดยที่ยังไม่มีการอนุมัติ ไม่มีวงเงินประมาณที่ได้รับจัดสรร ไม่ว่ากรณีนั้นจะจำเป็นเร่งด่วนนานัปการ ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวไม่อาจรับฟังได้ เพราะอาจมีผลเสียเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

            3. การแต่งตั้งคณะกรรมการควรพิจารณาจากความชำนาญในด้านนั้นๆ เป็นสำคัญ

            4. การเขียนขอบเขตของงาน ต้องมีความชัดเจน ในด้าน ความเป็นมา วัตถุประสงค์ คุณสมบัติผู้เสนอราคา คุณลักษณะของงานที่จะซื้อหรือจ้าง วิธีซื้อจ้าง หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอ วงเงินในการจัดหา ระยะเวลาส่งมอบ การรับประกัน ซึ่งงานพัสดุ ได้มีการจัดทำแบบฟอร์มไว้บนเว็บไซต์ของคณะแล้ว เพื่อสอดคล้องตามวัถุประสงค์ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

            5. การกำหนดราคากลางเพื่อใช้เป็นฐานหรืออ้างอิง สำหรับเปรียบเทียบราคา ให้พิจารณาตามลำดับของ พรบ.กำหนด และมีการเปิดเผยข้อมูลราคากลางผ่านเว็บไซต์ให้ทราบโดยทั่วกัน

 

 

สรุปโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาการท่องเที่ยว

 

วันที่ 29-30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 

ณ ห้องดอกจาน 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

แกมแก้ว  โบษกรนัฏ

 

ปรัชญานันต์  ทองกลม

 

 

 

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาการท่องเที่ยว ได้จัดขึ้นเนื่องจากการเล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มวัยรุ่นที่เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเป็นแบบออนไลน์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตไปสู่วิถีแบบ new normal ทำให้นักศึกษาต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในช่วงเวลาอันสั้น ทั้งยังมีการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่น้อยลง จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาความเครียด ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และแสดงออกผ่านพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากเดิมหากไม่ได้มีการจัดการที่เหมาะสม

 

ทั้งนี้ ทางผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ นางสาวแกมแก้ว โบษกรนัฏ นักจิตวิทยา ศูนย์ให้คำปรึกษา กองกิจการนักศึกษา และ นางสาวปรัชญานันต์ ทองกลม นักศึกษาปริญญาโท สาขาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว ซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการจัดการความเครียดแก่นักศึกษา มาจัดกระบวนการเรียนรู้ครั้งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ การสังเกตสัญญาณความเครียด เทคนิคการจัดการความเครียด และร่วมแลกเปลี่ยนผ่านกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งมีกระบวนการของกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

 

1.     ที่มาของความเครียด

 

วิทยากรได้ให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมแบ่งกลุ่มโดยมีสมาชิกในกลุ่มประมาณ 5 คน ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับที่มาของความเครียดว่ามาจากเรื่องใดบ้าง ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่นักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนคือ ความเครียดจากการเรียน ครอบครัว การเงิน ความรักและความสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้และยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่ควรมีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม

 

นอกจากนี้วิทยากรได้เพิ่มเติมถึงสาเหตุของความเครียดนั้น สามารถแยกออกได้เป็นปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ดังนี้

 

ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอก

·      การประเมินภาวะที่มาคุกคาม

·      ความสามารถในการคาดการณ์และควบคุมตัวกระตุ้น

·      ปัจจัยของบุคคลในการจัดการปัญหา

·      ความรุนแรงของปัญหา

·      ความเรื้อรังของปัญหา

·      การสนับสนุนทางสังคม

 

2.     สัญญาณของความเครียด

 

ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสัญญาณของความเครียด โดยมีการสังเกตความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านอารมณ์ ร่างกาย ความคิด และพฤติกรรม ดังนี้

 

อารมณ์

ความคิด

ร่างกาย

พฤติกรรม

·      กังวล

·      หงุดหงิด

·      โกรธง่าย

·      ท้อแท้

·      น้อยใจ

·      สิ้นหวัง

·      ไม่มีความสุข

·      คิดในแง่ลบ

·      คิดฟุ้งซ่าน

·      คิดหมกมุ่นอยู่กับปัญหา

·      คิดทำร้ายตัวเอง

·      คิดวนไปวนมา

·      ปวดหัว

·      ปวดท้อง

·      คลื่นไส้

·      เหงื่อออก

·      ใจสั่น

·      ใจเต้นแรง

 

·      นอนไม่หลับ

·      ไม่อยากอาหาร

·      ไม่มีสมาธิ

·      แยกตัวจากกลุ่มเพื่อน

·      ทำร้ายตัวเอง

 

 

 

ซึ่งเราสามารถสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายได้ 3 ระดับ

 

1.        Alarm Reaction หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น ม่านตามีการเปลี่ยนแปลง ขนลุก เหงื่อแตก ตัวเย็น หน้าแดง ใจสั่น ระยะเตือนเป็นระยะที่เราควบคุมแทบไม่ได้

 

2.        Resistance Stage เป็นความเครียดที่เริ่มเยอะขึ้น แล้วร่างกายพยายามปรับตัวกับความเครียด อาจจะกังวล ปวดหัวนิดหน่อย นอนไม่หลับ

 

3.        Exhaustion Stage เป็นระยะที่ความเครียดยาวนานหรือรุนแรงมากๆ แล้วร่างกายจัดการมันไม่ได้ เกิดเป็นภาวะภูมิคุ้มกันต่างๆของร่างกายแย่ลง

 

และสามารถจำแนกระดับความเครียด ได้ดังนี้

 

1.        ความเครียดระดับต่ำกับระดับปานกลาง เป็นความเครียดที่คนทั่วไปพบใน ส่วนใหญ่แล้วคนเราจัดการได้

 

2.        ความเครียดระดับสูง  เริ่มมีอาการทางกาย ปวดหัว ปวดตามที่ต่างๆ มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร นอนไม่หลับ ว้าวุ่นง่าย อารมณ์ที่ไม่คงที่

 

3.        ความเครียดระดับรุนแรง ปวดหัวเรื้อรัง เศร้าเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ วิตกกังวลง่ายๆ หงุดหงิดมากๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วระดับรุนแรงคนทั่วไปจัดการเองไม่ได้ อาจต้องพบผู้เชี่ยวชาญ

 

3. การจัดการความเครียด

 

ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความเครียดโดยการแลกเปลี่ยนกันผ่านวงสุนทรียสนทนา โดยเน้นวิธีการฟังอย่างตั้งใจและเคารพบุคคลต้นเรื่อง “ไม่แทรกถาม ไม่แย่งซีน ไม่ตัดสิน” ซึ่งเมื่อกิจกรรมนี้สิ้นสุดลง ผู้เข้าร่วมบางส่วนได้สะท้อนถึงความรู้สึกผ่อนคลายหลังจากที่ได้เล่าเรื่องความเครียด หรือเรื่องที่ไม่สบายใจให้เพื่อนฟังโดยไม่ถูกตัดสิน รู้สึกสบายใจที่มีผู้รับฟังปัญหาของตนเอง นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนวิธีการจัดการความเครียดซึ่งกันและกัน เช่น การปรึกษาเพื่อนสนิท การออกจากสถานการณ์หรือเรื่องที่เครียดนั้น หากิจกรรมอย่างอื่นทำ เป็นต้น

 

โดยวิทยากร ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการความเครียด ดังนี้

 

1.        สังเกตสัญญาณของความเครียดที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์ ความคิด ร่างกาย และพฤติกรรม

 

2.        หาสาเหตุของความเครียดว่ามาจากอะไร

 

3.        เลือกวิธีการจัดการ

 

จัดการที่ปัญหา

จัดการที่อารมณ์

วิเคราะห์ปัญหาว่าควบคุมได้ / ควบคุมไม่ได้

รับรู้อารมณ์àยอมรับàการจัดการ

 

4.        มีการสนับสนุนทางสังคม (Social Support) เช่น เพื่อน ครอบครัว อาจารย์ที่ปรึกษา แฟน ที่นักศึกษาสามารถระบายให้ฟังได้ เป็นต้น

 

5.        สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะนักศึกษา (UBU WELNESS MIND)  และคลินิกสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

4. ค้นหา “พื้นที่ปลอดภัย” และ “บุคคลที่วางใจ” จากกิจกรรมแผนที่ชีวิต

 

แผนที่ชีวิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนชีวิตที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และสร้างเป้าหมายในอนาคต โดยวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมทบทวนถึงการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน และอนาคต เพื่อค้นหาพื้นที่ปลอดภัย และบุคคลที่วางใจ วาดออกมาเป็นแผนที่ชีวิต และแลกเปลี่ยนเรื่องราวของกันและกันในวงสุนทรียสนทนา โดยผู้เข้าร่วมได้สะท้อนภายหลังจากกิจกรรมสิ้นสุดลงว่า จากกิจกรรมนี้ที่ทำให้เห็นถึงบุคคลรอบข้างที่คอยเป็นกำลังใจ รู้สึกไม่โดดเดี่ยว รับรู้ถึงคุณลักษณะที่ดี ศักยภาพและคุณค่าของตนเอง รวมถึงการได้รับกำลังใจจากเพื่อนๆ ที่ร่วมวงสนทนานั้น

 

5. เรียนรู้ Relaxation Technique

 

เทคนิคการหายใจ

 

วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมฝึกปฏิบัติเทคนิคการหายใจ การฝึกหายใจช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณท้องจะช่วยให้ร่างกายได้อากาศเข้าสู่ปอดมากขึ้นเพิ่มปริมาณออกซิเจน                 ในเลือด และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อหน้าท้องและลำไส้ด้วยการฝึกหายใจอย่างถูกวิธี จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง สมองแจ่มใสเพราะได้ออกซิเจนมากขึ้น และการหายใจออกอย่างช้า ๆ จะทำให้รู้สึกว่า                 ได้ปลดปล่อยความเครียดออกไปจากตัว ซึ่งเป็นเทคนิคที่นักศึกษาสามารถนำกลับไปปฏิบัติต่อได้เอง                        หลังจบกิจกรม

 

โดยเริ่มจากการนั่งพื้นบนที่ที่รู้สึกสบาย หลับตา ทำใจให้สงบ นั่งในท่าที่สบาย หลับตา เอามือประสานไว้บริเวณท้อง ค่อยๆ หายใจเข้า พร้อมๆ กับนับเลข 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ 1...2...3...4... ให้มือรู้สึกว่าท้องพองออก กลั้นหายใจเอาไว้ชั่วครู่ นับ 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ เช่นเดียวกับเมื่อหายใจเข้า ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก โดยนับ 1 ถึง 8 อย่างช้าๆ 1...2...3...4...5...6...7...8... พยายามไล่ลมหายใจออกมาให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องแฟบลง ทำซ้ำอีก โดยหายใจเข้าช้าๆ กลั้นไว้ แล้วหายใจออกโดยช่วงที่หายใจออกให้นานกว่าหายใจเข้า ทำซ้ำประมาณ 5 นาที

 

เทคนิคการเกร็ง

 

วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมฝึกปฏิบัติเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน จนเกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย เพื่อลดอาการทางร่างกายที่เกิดจากความเครียด เช่น อาการปวดศีรษะ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เป็นต้น

 

โดยเริ่มจากการนั่งพื้นบนที่ที่รู้สึกสบาย หลับตา ทำใจให้สงบ  เกร็งกล้ามเนื้อทีละส่วน ประมาณ 7-10 วินาที และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 7-10 วินาที โดยเริ่มจาก การเลิกคิ้ว หลับตาแน่น ยกเกร็งไหล่ กำมือทีละข้าง กดส้นเท้าลง กดปลายเท้าลง และปิดท้ายด้วยการโอบกอดตัวเอง เพื่อเป็นการให้อภัย ยอมรับข้อผิดพลาด ขอบคุณสิ่งดีของตัวเอง และให้กำลังใจเพื่อเริ่มต้นการดำเนินชีวิตต่อไป

 

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:8.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:107%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri",sans-serif; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} table.MsoTableGrid {mso-style-name:"Table Grid"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-priority:39; mso-style-unhide:no; border:solid windowtext 1.0pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-border-insideh:.5pt solid windowtext; mso-border-insidev:.5pt solid windowtext; mso-para-margin:0cm; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri",sans-serif; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;}

 โปรแกรม KineMaster อ่านว่า คิ เน๊ะ มาสเตอร์ เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เช่น เลเยอร์วิดีโอหลายชั้น โหมดการผสมเสียง การพากย์เสียง โครมาคีย์ การควบคุมความเร็ว การเปลี่ยนภาพ ใส่คำบรรยาย เทคนิคพิเศษ และอื่นๆอีกมากมาย  คุณสมบัติหลักของโปรแกรม KineMaster 

   • วิดีโอ รูปภาพ สติ๊กเกอร์ เอฟเฟกต์พิเศษ ข้อความและตัวอักษรลายมือที่มีเลเยอร์หลายชั้น

   • การผสมโหมดเพื่อสร้างเอฟเฟกต์ที่น่าตกใจและสวยงาม

   • เพิ่มเสียงพากย์ เพลงแบ็คกราวนด์ เครื่องเปลี่ยนเสียงและเอฟเฟกต์เสียง

   • เครื่องมือในการตัดแต่ง ตัดต่อและครอบตัดวิดีโอของคุณ

   • การควบคุมความเร็วสำหรับไทม์แลปและเอฟเฟกต์การเคลื่อนไหวแบบช้า

   • EQ ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า เสียงหลบและเครื่องมือปรับระดับเสียงเพื่อเสียงที่สมจริง

   • เครื่องมือคีย์เฟรมอนิเมชั่นเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวให้กับเลเยอร์

   • ส่งออกวิดีโอ 4K 

   • ใช้ฟิลเตอร์สีต่างๆ เพื่อทำให้วิดีโอของคุณดูโดดเด่น

“Active Learning ด้วยเทคโนโลยี สร้างสื่อวีดีโอด้วยมือถือ” นั้นเป็นการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบสื่อการสอน อย่างง่ายและสร้างสรรค์ ผ่านอุปกรณ์มือถือ ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะสําคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งรวมถึง การทํางานร่วมกัน  การคิดและนําเสนออย่างสร้างสรรค์ สามารถตัดต่อวีดีโอผ่านมือถือเพียงเครื่องเดียว โดยใช้แอฟKineMaster ซึ่งเป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับโทรศัพท์ (Android)   แอฟ KineMaster มีเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เช่น เลเยอร์วิดีโอหลายชั้น โหมดการผสมเสียง การบันทึกเสียง ชุดโครมาคีย์ การควบคุมความเร็วของภาพ การเปลี่ยนภาพ ใส่คำบรรยาย เทคนิคพิเศษ ฯลฯ  สามารถดาวน์โหลดแอฟ KineMaster เพื่อสร้าง แก้ไข และแชร์วิดีโอได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้สามรถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองได้ในโดยเฉพาะการตัดต่อวีดีโอต่างๆได้

       

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ แนวปฏิบัติที่ดีในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ”

ในวันจันทร์ที่  21 มกราคม 2562  เวลา 08.30 - 16.30 น.

ณ ห้องประชุมบัวหลวง  อาคารสารสนเทศ  สำนักวิทยบริการ 

จากการประชุมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ แนวปฏิบัติที่ดีในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ” สามารถสรุปได้ดังนี้ 

สถานการณ์

1.สรรพนามเรียกขาน

จากข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนัก  ไม่ควรนับ "ญาติ" กับผู้ใช้บริการ

เช่น  พี่  น้อง  ลูก เป็นต้น

ประเภทผู้ใช้บริการ

1.1          1.1    ควรเรียกตามสถานภาพปัจจุบัน  " นักศึกษา, อาจารย์"

1.2   กรณีบุคลากรของคณะ/หน่วยงาน   "ผู้ใช้บริการ" 

2.คำทักทาย

     2.1 คำเรียกตามสถานภาพ     "สวัสดีค่ะ   นักศึกษา/อาจารย์ ติดต่อเรื่องอะไรคะ"

     2.2 กรณีผู้ใช้บริการมีทรัพยากรในมือ(หนังสือ)  ทักทายโดยการ  "ยืมหรือคืนคะ" หรือ "ทำรายการอะไรคะ" หรือ "ขอใช้บริการอะไรคะ"

    2.3 กรณี ผู้ใช้บริการแจ้งความประสงค์จองห้องประชุม  (มีเครื่องสำหรับจองห้องประชุม)  "เชิญเครื่องด้านซ้าย/ขวา นะคะ"  และให้คำแนะนำในการจอง แจ้งรายละเอียดการจองตามคู่มือ

3.เมื่อผู้ใช้บริการทำผิดกฎ

3.1  นำอาหารเข้ามาในห้องสมุด

     - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์

     -  กรณีมีพื้นที่ในการนั่งรับประทาน ให้แจ้งผู้ใช้บริการในการใช้พื้นที่บริเวณใดสำหรับนั่งรับประทาน

     -  แจ้งผู้ใช้บริการถึงเหตุผลในข้อห้ามในการนำอาหาร/เครื่องดื่มมารับประทาน  เช่น เรื่องความสะอาด (มีหนู)  สุขอนามัย เป็นต้น

      3.2 ผู้ใช้บริการทานอาหาร/เครื่องดื่มในบริเวณที่ไม่อนุญาต

       - กรณีมีการแจ้งจากผู้ใช้บริการมีการส่งเสียงดัง ดำเนินการเบื้องต้นโดยการเปิดสปอร์ตแจ้งเตือน

        - กรณีผู้ใช้บริการนำเข้ามาทานในบริเวณที่ไม่อนุญาต  ดำเนินการโดยแจ้งผู้ใช้บริการและให้คำแนะนำ

        - กรณีมีผู้ใช้ยืนยันไม่ทำตามกฎข้อห้าม ควรดำเนินการโดย  "แจ้งเหตุผลของการไม่อนุญาตให้นำ อาหาร/เครื่องดื่มมารับประทาน" 

        - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามนำเครื่องดื่ม/อาหาร มารับประทานในบริเวณที่ไม่อนุญาต 

        - เสียงตามสาย

        - จัดทำนิทรรศการผลที่เกิดขึ้นจากการนำอาหาร/เครื่องดื่มมารับประทานในบริเวณที่ไม่อนุญาต

     3.3 ผู้ใช้บริการส่งเสียงดัง

     - กรณี มีการแจ้งจากผู้ใช้บริการมีการส่งเสียงดัง ดำเนินการเบื้องต้นโดยการเปิดสปอร์ตแจ้งเตือน

     - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามส่งเสียงดัง

     3.4 ผู้ใช้บริการแต่งกายไม่สุภาพ

     - ติดป้ายประชาสัมพันธ์เรื่องการแต่งกาย และตัวอย่างการแต่งกายที่สุภาพตามกาลเทศะ

4.เมื่อผู้ใช้บริการปฏิเสธความรับผิดชอบในการติดค้างหนี้สินห้องสมุด

    - ในเบื้องต้นขอโทษผู้ใช้บริการ และขอตรวจสอบรายละเอียด

5.กรณี พบผู้ใช้บริการนำหนังสือออกโดยไม่ได้รับอนุญาต

    - แจ้งผู้ใช้บริการ  "กรุณาติดต่อเคาน์เตอร์บริการนะคะ"

*** จากข้อสรุปดังกล่าว คณะต่าง ๆ ของเรียกตามสภาพหรือแนวปฏิบัติของแต่ละคณะฯ ***

 

 

สามาถดูเพ่ิมเติมได้ที่

http://www.la.ubu.ac.th/admin/gallery/842_1531367197.jpg

 

รายงานผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2560

          ตามที่คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการจัดโครงการ การจัดการความรู้และถ่ายทอดความรู้         ในปีการศึกษา 2559 โดยกำหนดเป้าหมายในแผนการจัดการความรู้ที่ครอบคลุมในด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย

ด้านการผลิตบัณฑิต  มีการกำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES และการบริหารความเสี่ยงระดับหลักสูตร เนื่องจากในปีการศึกษาดังกล่าวคณะศิลปศาสตร์มีการปรับหลักสูตรจำนวนมากอีกทั้งมีประเด็นเกี่ยวกับการการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตรจึงทำให้เกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าว 

ส่วนด้านกาวิจัยกำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ และเพื่อให้การจัดการความรู้ในเรื่องดังกล่าวเกิดกระบวนการที่นำสู่การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี  ในปีการศึกษา 2560 นี้ คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะศิลปศาสตร์จึงมีการทบทวนผลที่ได้จากการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อที่จะวางแผนในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษานี้ จากการทบทวนผลการดำเนินงานพบว่า

ผลการดำเนินงานในกิจกรรม ด้านการผลิตบัณฑิต คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES และการบริหารความเสี่ยงระดับหลักสูตร กิจกรรมดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์และสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในด้านค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และการดำเนินการที่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด แต่เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเฉพาะกิจ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรไม่เฉพาะสายวิชาการเท่านั้น  แต่ต้องมีสายสนับสนุนทั้งในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องดังกล่าวซึ่งอาจใช้เวลานานเนื่องจากในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังมิได้ข้อสรุปหลักการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES       ด้วยเหตุดังกล่าวคณะกรรมการการจัดการเรียนรู้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการผลิตบัณฑิตอาจต้องทบทวนพิจารณาหาประเด็นใหม่

          ผลการดำเนินงานในกิจกรรม ด้านการวิจัย คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ กิจกรรมดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์และสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในด้านค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และการดำเนินการที่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด  โดยกิจกรรมหลักจะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้แทนสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร และผู้แทนจากสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  กิจกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับจากคณาจารย์ที่มีแผนจะขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นจำนวนมากและจากหลากหลายหลักสูตร  เนื่องจากคณะศิลปศาสตร์มีเป้าหมายในการเพิ่มตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ อีกทั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นสิ่งสำคัญต่ออาจารย์ประจำหลักสุตรและอาจารย์บริหารหลักสุตรตามเกณฑ์ประกันคุณภาพภายในหลักสูตร  คณะกรรมการการจัดการเรียนรู้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนี้ควรมีการจัดต่อในปีการศึกษา 2560 เพื่อนำสู่การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีและเผยแพร่แนวปฏิติในการขอตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าว

                ในปีการศึกษา 2560 คณะกรรมการการจัดการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์ ได้มีการทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อวางแผนและกำหนดประเด็นเรื่องในการจัดการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2560 นี้ ที่ประชุมมีมติในการดำเนินการดังนี้

กิจกรรมในด้านการผลิตบัณฑิต  เนื่องจากในปีการศึกษา2559 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการการคิดคำนวณต้นทุนต่อหน่วย FTES และการบริหารความเสี่ยงระดับหลักสูตรเป็นประเด็นเฉพาะกิจ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรไม่เฉพาะสายวิชาการต้องมีสายสนับสนุนทั้งในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องดังกล่าวซึ่งอาจใช้เวลานานเนื่องจากในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังมิได้ข้อสรุป   คณะกรรมการการจัดการเรียนรู้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมในปีที่ผ่านมามีข้อจำกัดและไม่สามารถดำเนินการได้  ดังนั้นเพื่อคงไว้ในประเด็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเช่นเดิม ที่ประชุมเสนอว่ามีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Outcome Based Learning (OBE)  หากจะจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการผลิตบัณฑิต ควรพิจารณาประเด็นดังกล่าวควบคู่กับกิจกรรมที่จะจัดขึ้น  ดังนั้นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษานี้จึงเป็นเรื่อง การบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งหากพิจารณาสาระรายวิชาที่มีการวัดประเมินผลเพียงอย่างเดียวอาจไม่สะท้อนภาพได้ชัด ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แท้จริงควรมีการพัฒนางานวิจัยควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ซึ่งผลที่ได้จะก่อให้เกิดการพัฒนาและการบูรณาการระหว่างงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ดังนั้นในปีการศึกษา2560 นี้ คณะกรรมการการจัดการความรู้จะจัดกิจกรรมด้านการผลิตบัณฑิต เรื่อง การบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน 

กิจกรรมด้านการวิจัย คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในปีการศึกษา2560 นี้ ได้จัดเป็นครั้งที่2 กิจกรรมในปีนี้จะเป็นกิจกรรมที่ต่อยอดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยในปีนี้ยังคงจัดกิจกรรมในเรื่อง       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ เช่นเดิมเพื่อเป็นการค้นหาแนวปฏิบัติที่เกิดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองครั้ง เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สกัดมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดออกมาเป็นแนวปฏิบัติในเรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ และจะนำแนวปฏิบัติที่เกิดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเผยแพร่ผ่านทางเวปไซด์ของคณะศิลปศาสตร์             ซึ่งในปีนี้รูปแบบกิจกรรมจะเป็นในลักษณะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการร่วมกับประสบการณ์จากผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ  โดยคาดว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะยังคงเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์บริหารหลักสูตร รวมถึงอาจารย์ที่อยู่ในขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการ 2-3 ราย เป็นหลัก

แผนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2560

ปีการศึกษา 2560

 

ประเด็น

การจัดการความรู้

 

 

กิจกรรม

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

 

ผลผลิต

 

 

 

เวลา

จำนวน

คน

ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ

ด้านการผลิตบัณฑิต

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การ การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน

 

 

 

คณาจารย์จำนวน 20 คน

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

- ปีการศึกษา2560 จะมีงานวิจัยในชั้นเรียนจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา

- ผลที่ได้จากงานวิจัยในชั้นเรียนสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไม่ต่ำกว่า 3 หลักสูตร

 

 

 

 

ในปีการศึกษา2560 นี้คณะศิลปศาสตร์มีการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านทางเว็บไซต์ของคณะ

ด้านการวิจัย

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในคณะ

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

 

 

บรรลุ

 

- คณะศิลปศาสตร์มีอาจารย์ที่ได้ตำแหน่งทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา

-แต่ละหลักสูตรมีคะแนนประกันคุณภาพในส่วนคุณวุฒิของอาจารย์ที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 หลักสูตร

 

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:8.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:107%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri",sans-serif; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;}

ประโยชน์ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้นำไปใช้

 

การอบรมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจผลงานทางวิชาการอย่างสูง ผมได้เรียนรู้จากผู้รู้จริงและทำให้เกิดความกระจ่างในด้านเอกสารและขั้นตอนการพิจารณาเอกสารประกอบ ในส่วนของเอกสารวิทยากรได้ให้ความรู้เรื่องการเสนอเอกสารประกอบการขอกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่ วิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการและผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๆ

 ในส่วนของการวิจัยนั้นได้ข้อมูลเรื่องขั้นตอนและกระบวนการวิจัยที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นทางการและมีหลักฐาน เช่นมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอ่านพิจารณาวิจัย และมีการเขียนรายงานการวิจัยอย่างเป็นระบบ การเผยแพร่อย่างกว้างขวางนั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันได้แก่การส่งเล่มไปตามห้องสมุดต่างๆและการตีพิมพ์ผลงานผ่านวารสารหรือ Proceedings 

ในส่วนของการใช้บทความวิจัยเป็นเอกสารหลักนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำว่าให้ตีพิมพ์ในวารสารที่มีระบบพิชยพิจารณ์ นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านการตีพิมพ์เช่น ในวารสารนั้นตนเองไม่ควรเป็น editor เนื่องจากจะทำให้เกิดข้อกังขาในกระบวนการคัดสรรผลงานลงตีพิมพ์ได้

 ในส่วนของการตีพิมพ์บทความทางวิชาการนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการตีพิมพ์ผลบทความวิจัย

และสุดท้ายผลงานในลักษณะอื่น ๆ นั้น ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อมูลลักษณะงานที่เข้าข่ายดังกล่าว รวมทั้งให้ยึดระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทาง

ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้กำลังใจอย่างยิ่งแก่ผู้ที่จะยื่นขอตำแหน่งางวิชาการและทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยากจนเกินไป

ในส่วนของการปฏิบัตินั้นผมได้ใช้สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างเต็มที่ ในส่วนตัวผมเลือกที่จะใช้การวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นเอกสารหลัก แม้ผู้ทรงจะได้บอกไว้ว่าการใช้เอกสารนี้อาจจะลำบากเพราะมีเนื้องานเป็นจำนวนมากและผู้ทรงอาจจะเสนอให้แก้ไข ในส่วนนั้นตนเองได้พิจารณาแล้วเก็นว่าการเสนอเล่มรายงานการวิจัยเป็นเอกสารหลักนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะแม้แต่บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาแล้วก็ล้วนมาจากเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ทั้งสิ้น การให้ผู้ทรงตรวจงานวิจัยเป็นเอกสารหลักนั้นอาจจะเสี่ยงต่อการได้รับคำขอให้ปรับแก้ไข แต่ก็เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่นกัน นอกจากนี้ผมยังมองว่าการได้หรือไม่ได้ ผศ. นั้นสำคัญพอๆ กับการได้เรียนรู้ระหว่างทาง งานวิจัยได้ดำเนินไปตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำคือมีการเสนอร่างวิจัยอย่างเป็นทางการและมีกระบวนการพิจารณาร่างวิจัยฉบับสมบูรณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และเมื่อเล่มแล้วเสร็จก็ได้ส่งเล่มไปตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตามเงื่อนไขการเผยแพร่ และได้นำเสนอในงานประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติเพื่อให้การเผยแพร่เป็นไปอย่างกว้างขวางตามเกณฑ์ กพอ.

นอกจากนี้ผมยังได้ใช้งานวิชาการในลักษณะอื่นประเภทงานแปลเป็นเอกสารประกอบ โดยใช้การเผยแพร่ตามหลัก กพอ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ

จากประสบการณ์การส่งเอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการนั้น พบว่าในรายละเอียดมีความยุ่งยากในเรื่องแบบฟอร์มอย่างมาก ซึ่งในการอบรมไม่ได้กล่าวถึงด้านนี้มากนัก และที่ผมพบว่ายากที่สุดคือการตีความเนื้อหาในประกาศ กพอ ซึ่งพบว่ามีความยืดหยุ่นน้อยมากทั้งที่งานวิชาการนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาทิ การกำหนดว่า Journal ที่ลงผลงานต้องอยู่ในฐานนั้น ๆ จะเห็นได้ว่าในความเป็นจริงนักวิชาการที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการสนใจเพียงคุณภาพทางวิชาการเท่านั้น นั่นคือกระบนการพิชยพิจารย์ การปรากฏในฐานไม่ได้บ่งชี้คุณภาพมากน้อยแต่อย่างใด และฐานข้อมูลเป็นเชิงพานิชย์ การผูกติดความก้าวหน้าทางวิชาการกับฐานข้อมูลทำให้ไม่สามารถแม้แต่จะส่งเอกสารที่นักวิชาการได้ไตร่ตรองแล้วว่ามีคุณภาพ โดยไม่มีข้อยืดหยุ่นเช่น การอนุญาตให้ส่งได้โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นผู้ตัดสิน ท้ายที่สุดแล้วอาจจะเป็นการทำให้วงการวิชาการการเป็นเครื่องมือขององค์กรแสวงหากำไรไปในที่สุด

ผมพบว่าการได้ฟังผู้ทรงคุณวุฒิอธิบายโดยตรงรู้สึกมีกำลังใจและสบายใจมาก และจะดีที่สุดหากระบบการส่งเอกสารและกลั่นกรองเอกสารมีให้ความสำคัญกับความเป็นวิชาการมากกว่าระเบียบขั้นตอนตามตัวอักษร

 

เฉลิมชัย วงศ์รักษ์

 

โครงการสัมมนาเรื่อง การส่งเสริมการอ่านในยุคประเทศไทย 4.0

วันที่  13 – 14  ก.ค.  2560

ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 

ไทยแลนด์ 4.0”  เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล บนวิสัยทัศน์ที่ ว่า มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0 จะพัฒนาเรื่องใดบ้าง? มีการพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ใช้แนวทาง สานพลังประชารัฐ เป็นตัวการขับเคลื่อน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคการเงินการธนาคาร ภาคประชาชน ภาคสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ร่วมกันระดมความคิด ผนึกกำลังกันขับเคลื่อนผ่านโครงการบันทึกการร่วมมือ  กิจกรรม หรือ งานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและบริการแบบเดิมให้เป็นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ อาทิ การเกษตรเชิงสร้างสรรค์ที่ได้ประสิทธิผลที่ดีขึ้น การมุ่งให้โอกาสคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจ อย่างเช่นกลุ่มที่เรียกว่า Startups เป็นกลุ่มบริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง และพยายามพัฒนาแรงงานให้มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่สูงขึ้น

การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ควรเริ่มจากการส่งเสริมสนับสนุนสังคมให้รักการอ่านให้มากขึ้น โดยภาครัฐต้องส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ ที่มุ่งเน้นเนื้อหาคุณภาพ การพัฒนาการศึกษาที่มุ่งให้เด็กรักการอ่าน รู้จักคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ การพัฒนาแหล่งศึกษาค้นคว้าห้องสมุดให้คนเข้าถึงได้ มีการคัดเลือกหนังสือดีมีคุณภาพ น่าสนใจ มีการการส่งเสริมให้คนเข้าห้องสมุดมากขึ้น  ดังนั้นควรสร้างสภาพแวดล้อมทางความคิดให้กับคนไทย เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองทางความคิด และนำไปสู่การพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอด ตามเป้าหมาย 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ได้แก่

 1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ

 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์

 3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม

 4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกล

 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง

ทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0

สรุปกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

“โครงการอบรมการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ”

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อานันท์  กาญจนพันธุ์

วันศุกร์ที่  26  เดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2560  เวลา 09.00-12.00 น.

ณ ห้องดอกจาน 4  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

         

ถอดบทเรียนโดย  ผศ.ดร. ชาญชัย  คงเพียรธรรม

 

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ

-          องค์ประกอบของบทความมีอะไรบ้าง

-          บทความวิจัยต่างจากบทความวิชาการอย่างไร

-          วิธีเขียนบทความวิจัย/ บทความวิชาการที่ดี เพื่อที่จะทำให้ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

สภาพปัญหาของการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ

-          อาจารย์หลายท่านไม่เคยมีผลงานทางวิชาการ (บทความวิจัย/บทความวิชาการ) ตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน  จึงไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร  (เขียนเรื่องอะไร  เขียนอย่างไร  และจะส่งไปลงตีพิมพ์ที่ไหน)

-          อาจารย์หลายท่านเคยลงตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ (บทความวิจัย / บทความวิชาการ) มาบ้างแล้ว  แต่ยังไม่พอใจกับผลงานของตนเท่าที่ควรนัก  จึงต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพทางด้านวิชาการของตนให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการศึกษาแบบอย่างจากนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับแถวหน้าของประเทศไทยว่า ท่านเหล่านั้นมีวิธีการอย่างไรในการผลิตผลงานวิชาการ (บทความวิจัย/บทความวิชาการ) ที่มีคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้างทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

แนวปฏิบัติที่ดีของคณะศิลปศาสตร์  ในการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ

-          บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ดีนั้นจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ 1) วิธีคิดในการตั้งประเด็นปัญหาและกำหนดโจทย์วิจัยต้องชัดเจน (Problematization) ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ในบทนำ  2) การนิยามบริบทในมิติต่างๆ ของปัญหาวิจัยต้องชัดเจน  (Contextualization) ซึ่งบริบทที่ว่านี้  ได้แก่  เวลา  สถานที่  รวมทั้งแนวคิดที่ปรากฏในยุคนั้น  3)  การจำลองและนิยามความเชื่อมโยงความคิด (Conceptualization) ต้องกล่าวถึงแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้เป็นแกนของบทความ รวมถึงวิพากย์แนวคิด หรือทฤษฎีต่างๆ  4) การจำแนกแยกแยะหน่วยของการศึกษาวิเคราะห์ (Differentiation) และ 5) การปฏิบัติการปรับความคิดทางทฤษฎีและระดับนามธรรมของการวิเคราะห์ (Operationalization)  บทความชิ้นนั้นๆ จึงสมบูรณ์

-          บทความที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์  ตีความ  เปรียบเทียบ มีแนวคิด และมีการเชื่อมโยง

-          บทความวิชาการ  แท้จริงแล้ว คืองานวิจัยชิ้นย่อยๆ นั่นเอง  เพราะมีการค้นคว้าหาข้อมูล  การวิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อมูล ไม่ต่างจากการทำวิจัย

-          นักวิชาการที่ดีจะต้องหมั่นเป็นคนช่างสังเกตและรู้จักตั้งคำถาม  เพราะการตั้งคำถามเป็นหัวใจของการทำงานวิชาการ  ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัย หรือการเขียนบทความ

-          ผู้เขียนบทความจะต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่าแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่นำมาใช้ช่วยให้ทำงานวิชาการได้ง่ายขึ้น  แต่แนวคิด ทฤษฎีไม่ใช่คำตอบของงานทางวิชาการ (ทฤษฎีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเหตุปัจจัยต่างๆ อยู่เสมอ)

-          ผู้เขียนบทความจะต้องเข้าใจความแตกต่างของพื้นที่  หรือบุคคลที่ต้องกล่าวถึง  ไม่ควรใช้วิธีการเหมารวม เช่น ถ้าจะกล่าวถึงชาวนาในพื้นที่ภาคอีสาน ควรระบุพื้นที่ให้ชัดเจน  เพราะชาวนาในภาคอีสานนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม มีทั้งที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ และที่ล้มเหลวจนมีหนี้สินมากล้นพ้นตัว  มีทั้งที่ประยุกต์ใช้วิธีการเกษตรสมัยใหม่ และแบบที่ทำเกษตรแบบดั้งเดิมตามปู่ย่าตายาย เป็นต้น

-          การเขียนบทสรุป (Conclusion) ของบทความ  ไม่ใช่การลอกเนื้อหาจากบทความทั้งหมดมาเขียนไว้ในบทสรุป  แต่จะต้องสรุปให้ได้ว่า 1)  ข้อค้นพบใหม่คืออะไร  2)  ต้องนำข้อค้นพบนั้นไปสนับสนุนหรือโต้แย้งกับงานของนักวิชาการท่านอื่น และ 3)  ประเมินค่าว่าผลงานของเรามีคุณค่าในด้านใด  เช่น มีคุณค่าในทางทฤษฎี  หรือมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร

-          ขอให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า  “อาจารย์ทุกคนมีความรู้  ความสามารถ มีศักยภาพด้วยกันทั้งนั้น  ขอเพียงแค่มีความกล้า  เอาชนะความกลัวที่อยู่ภายในใจ  การเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย” 

 

การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีของการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการของคณะศิลปะศาสตร์

 

-          ลงแนวปฏิบัติที่ดีในเว็บไซต์งานวิจัย  คณะศิลปศาสตร์  เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปhttp://web.la.ubu.ac.th/gallery/activity.php?g=781