กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ประจำปีงบประมาณ 2559 

ในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 -16.00 น.

ณ  ห้องประชุมดอกจาน 4

โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 

1.       ผศ.ดร.เสน่ห์ ทองรินทร์   คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.       ผศ.ดร.อภิศักดิ์ ภู่พิพัฒน์  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จำนวนคนเข้าร่วม  48 คน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อบรมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ประเด็นที่ 1  ปัญหาการหาหัวข้อวิจัย 

          ในภาคเช้า  ผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งเป็นคณาจารย์ภายในคณะศิลปศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง  “ปัญหาการหาหัวข้อวิจัย” ร่วมกับวิทยากรคือ ผศ.ดร.เสน่ห์  ทองรินทร์ จากคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยวิทยากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการทำวิจัย เรื่อง  “การผสมผสานลักษณะความเป็นไทยกับการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ”  (Integrating Thai Collectivist Conventions into EFL Writing Instruction) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเคยได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  (วช.) ประจำปี พ.ศ.2555 ขณะที่ผู้เข้าร่วมอบรมได้ซักถามข้อสงสัยและร่วมอภิปรายปัญหาที่พบจากการเรียนการสอนภาษาต่างๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ  เช่น  ภาษาไทย  ภาษาจีน  ภาษาเขมร  เป็นต้น  ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดีในการหาหัวข้อวิจัย คือ

1.       หัวข้อวิจัยควรมาจากปัญหาที่ผู้วิจัยค้นพบจากวิชาที่ตนเปิดสอน  และเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้งจนทำให้ผู้วิจัยเกิดการตั้งคำถาม และต้องการที่จะหาคำตอบ 

2.       ชื่อหัวข้อวิจัยจะต้องชัดเจน  สามารถมองเห็นประเด็นสำคัญที่จะศึกษา  ระบุตัวแปรต้น  ตัวแปรตามชัดเจน 

3.       หัวข้อวิจัยมีความสัมพันธ์กับแหล่งทุน

4.       หัวข้อวิจัยจะต้องเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยเชี่ยวชาญ เนื่องจากมีผลต่อการดำเนินการวิจัยให้งานวิจัยลุล่วงและมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

 

ประเด็นที่ 2  ปัญหาที่พบในการทำวิจัย 

          ในภาคบ่าย  ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร คือ  ผศ.ดร.อภิศักดิ์  ภู่พิพัฒน์  จากคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเรื่อง  “ปัญหาระหว่างทำวิจัย” วิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการทำวิจัย  ปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ไขปัญหา  ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดี  เช่น

1.        เพื่อให้การทำวิจัยมีประสิทธิภาพ  นักวิจัยควรมีมิตราจารย์คอยให้คำปรึกษาอันเป็นประโยชน์ 

2.       นักวิจัยควรคำนึงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์มากกว่าทฤษฎีที่ใช้  เพราะในบางครั้งทฤษฎีตะวันตกที่นักวิจัยเลือกใช้อาจไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย  และการวิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อมูลจริงที่มีอยู่จะทำให้เกิดทฤษฎีใหม่  ซึ่งถือเป็นนวลักษณ์ (Innovation)  ที่จะทำให้เกิดพลวัต (Motivation)  ตามมา

3.       นักวิจัยที่ดีจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในงานวิจัยเสมอ  เพราะบางวิจัยบางเรื่องอาจต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคน

 

http://www.la.ubu.ac.th/admin/gallery/726_1469515986.jpg