หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร

***************

          คณะศิลปศาสตร์  ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยของคณะศิลปศาสตร์   อันเป็นนโยบายและภารกิจสำคัญของคณะ  มุ่งสนับสนุนบุคลากรให้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  เป็นการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ จึงกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร  ดังนี้

1. บทความที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

    1.1  เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ                                       

    1.2  เป็นบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลตามที่กำหนดในข้อ 3

    1.3 เป็นบทความใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน และช่วงเวลาที่บทความปรากฏอยู่ในวารสาร

จะต้องไม่เกินปีงบประมาณที่ขอเบิก   เช่น    เบิกจ่ายปีงบประมาณ  2559   วารสารจะต้องตีพิมพ์

ระหว่างวันที่  1  ตุลาคม  2558 - 30  กันยายน  2559

             1.4  ในบทความจะต้องระบุชื่อผู้เขียนและหน่วยงานที่สังกัด   คือ  คณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

          2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ต้องเป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์

          3. อัตราค่าตอบแทน

              3.1 กรณีที่เป็นผู้เขียนที่ปรากฏเป็นชื่อแรกของบทความที่ตีพิมพ์

         3.1.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ   ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล

Thai-Journal  Citation  index  Centre  (TCI)   หรือบัญชีรายชื่อวารสารระดับชาติของสำนักงาน

คณะกรรมการอุดมศึกษา  (สกอ.)  หรือบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของสำนักงานรับรองมาตรฐาน

และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน  5,000 บาท

             3.2 กรณีที่เป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์

                  3.2.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ   ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล   ได้แก่  ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร  SJR  (SCImago  Journal  Rank

 

 

 www.scimagojr.com)    หรือฐานข้อมูล  ISI  Web of Science  (Science Citation index Expand, Social Sciences Citation Index , Art and Humanities Citation Index )  หรือฐานข้อมูล Scopus  ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน  3,000  บาท

         3.2.2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ  ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai- Journal Citation index Center (TCI)     หรือบัญชีรายชื่อวารสารระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา  (สกอ.)    หรือบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ให้ได้รับค่าตอบแทน  จำนวน  1,000  บาท

                   3.2.3 กรณีที่เป็นบทความที่มาจากการศึกษาอิสระหรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา  ซึ่งนักศึกษาเป็นผู้เขียนที่ปรากฏเป็นชื่อแรกของบทความที่ตีพิมพ์ และอาจารย์เป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์ อาจารย์จะได้รับค่าตอบแทนครึ่งหนึ่งของค่าตอบแทน ในข้อ 3.2.1 และ 3.2.2

        4. ขั้นตอนการขอรับค่าตอบแทนและเงื่อนไขอื่นๆ

            4.1  อาจารย์สามารถยื่นเรื่องขอรับค่าตอบแทนได้ตลอดปีงบประมาณ   โดยทำบันทึก

ข้อความมายังเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป   เพื่อเสนอผ่านหัวหน้าสาขาวิชา   และรองคณบดีที่

รับผิดชอบงานวิจัย  จนถึงคณบดีคณะศิลปะศาสตร์  พร้อมหลักฐานดังนี้

                  4.1.1  วารสารที่มีการตีพิมพ์บทความ จำนวน 1 เล่ม หรือสำเนาบทความที่ตีพิมพ์แล้ว จำนวน 1 ชุด

                  4.1.2 รายละเอียดวารสาร  ประกอบด้วย  หน้าปกวารสาร  สารบัญ   และรายชื่อ

กองบรรณาธิการ

                  4.1.3  บันทึกข้อความเพื่อขอรับค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์   คณะ

ศิลปศาสตร์

             4.2  อาจารย์มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ไม่เกิน 4 บทความต่อปี  ทั้งนี้  ในบทความเดียวกันหากผู้เขียนที่เป็นชื่อแรกของบทความและผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์เป็นอาจารย์คณะศิลปศาสตร์  สามารถยื่นเรื่องขอรับค่าตอบแทนได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้น