เรื่อง อบรมเชิงปฎิบัติการการใช้ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ CHE QA Online ระดับหลักสูตร

ระหว่างวันที่  27 , 30  ต.ค. 2558

  สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย / คณะบริหารศาสตร์

 ความเป็นมาของระบบฐานข้อมูลด้านสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา ระบบ CHE QA Online

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (CHE QA Online) เพื่อให้เป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน และการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่สถาบัน ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง(SAR) และรายงานประจำปี(Annual Report) ซึ่ง สกอ. ได้กำหนดให้ทุกสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการในการจัดทำรายงานการประเมินตน เอง(SAR) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ CHE QA Online อย่างเต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2551 และให้มีการจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง(SAR) พร้อมผลการตรวจประเมินฯ ด้วยวิธีออนไลน์ไปยัง สกอ.  ภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปีการศึกษา

   

CHE QA Online (Commission on Higher Education Quality Assessment online system)  

      คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบ CHE QA Online เป็นระบบที่ใช้ในการจัดทำ รายงานการประเมินตนเอง(SAR)” ในระดับสถาบัน คณะและหน่วยงาน โดยสถาบันและทุกหน่วยงานจะต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในระบบฐานข้อมูล CHE QA Online ที่ สกอ. ได้กำหนดไว้ และผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจะตรวจประเมินฯ โดยใช้สิทธิ์ Assessor ของระบบ CHE QA Online ซึ่งภายหลังจากการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประธานผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน จะเป็นผู้ออนไลน์ส่งข้อมูล รายงานการประเมินตนเองและผลการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเฉพาะระดับสถาบันและคณะไปยังฐานข้อมูลกลางของ สกอ.

 

 ในการอบรมจะมีหัวข้ออบรม เกี่ยวกับการกรอกข้อมูล  input ของหมวดที่ 1 - หมวดที่ 8 การกรอกข้อมูลการประเมินตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการรายงาน ผลการประเมิน ซึ่งทำให้เราสามารถนำมาพัฒนางานและมีข้อดี ดังนี้

1. ทำให้ทราบระบบฐานข้อมูลด้านประกันคุณภาพการศึกษา สามารถกรอกข้อมูล ระบบ CHE QA Online ระดับหลักสูตร

2. ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมสําเร็จรูป CHE QA Online System  รวมถึงบทบาทและหน้าที่หลักของผู้เกี่ยวข้อง

3. ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในใหม่

ผู้ร่วมอบรม ดังนี้

1.น.ส.มิณฑิตา   โสภา           2. นางละอองดาว  เพชรแก้ว                3. นางวรัคศิริ  โหตระไวศยะ

4. น.ส.กิตติญา  พรหมพา       5. นางวรารัตน์ พรหมสาขา ณ สกลนคร     6. น.ส.อัญญรินทร์  ทาสา

7. นางปาณฑรา  ศิริทวี         8. นางโสภาวรรณ  เหล่าบุตรดี               9. น.ส.พัทนี  เจริญทัสน์

10. นายชัชฎาภรณ์  จำปาจูม   11. นางฐิตินันท์  ภูนิคม                     12. นายมงคลชัย  ล้อมวงษ์

13. นายวิชชุภงค์  ลิมปิทีปราการ  14. นางพัชรี  ลิมปิทีปราการ

 

 

 

การเขียนบรรณานุกรมเพื่อแสดงจริยธรรม อ้างอิงแหล่งที่มาของบทความ หรือแหล่งข้อมูลมีหลายระบบด้วยกัน แต่ที่เป็นที่นิยมกันในด้านภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็คือระบบ การเขียนบรรณานุกรมระบบAPA (American Psychological Association)  ในปัจจุบันกำหนดรูปแบบมาตรฐานเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 โดยมีกรรมการมาจากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เพิ่มมากขึ้นโดยมีรูปแบบการเขียนข้อมูลต่างกันไป ปัจจุบัน กำหนดให้รุบุชื่อผู้เขียน สูงสุด ถึง 8 คน และกำหนดให้เขียนข้อมูลอื่นๆ ตามประเภทของแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วิทยานิพนธ์ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น

คณะทำงานฝ่ายวิชาการ การสัมมนา Pulinet วิชาการ ครั้งที่ 3 ได้จัดทำตารางสรุปแนวทางการเขียนบรรณานุกรมอย่างง่ายไว้ เป็นการสรุปวิธีการเขียนบรรณานุกรมที่ดูแล้วเข้าใจได้ง่าย สามารถดาวน์โหลดได้ตาม URL นี้ http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/My%20site/data/ref/APA_6th_ed.pdf