สัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 31 มนุษยศาสตร์ดิจิทัล :

เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สารสนเทศด้านมนุษยศาสตร์

ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเซนทารา  ขอนแก่น

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาฯ  ทำให้ทราบว่าโลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย รวมทั้ง เทคโนโลยีที่มีการพัฒนามากขึ้น  มีการแข่งขันกันสูงขึ้น วิถีชีวิตของยุคสมัยและคนรุ่นเก่าเริ่มหายไปอย่างสิ้นเชิง คลังความรู้ที่ผ่านหนังสือที่จับต้องได้แบบกระดาษ เริ่มตกยุค เพราะไม่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคออนไลน์และโซเซียลมีเดีย

การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลกำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่น และคนในวัยทำงานที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคการอ่านทุกสิ่งทุกอย่างผ่านเครื่องมือสื่อสาร อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แฟบเล็ต ที่บรรจุหนังสือเป็นไฟล์ดิจิทัลได้มากมาย

การคงอยู่ของห้องสมุด ต้องตื่นตัวในการสร้างนวัตกรรมสำหรับทุกๆงานของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นด้านจัดหา การแค็ตตาล็อก การสืบค้น และการบริการด้านต่างๆ รวมทั้งการนำสื่อดิจิทัลมาใช้แทนทรัพยากรแบบเก่ารวมไปถึงการสร้างสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายจากทั่วโลก เพื่อให้บริการทางการศึกษาและค้นคว้าความรู้อย่างครบวงจร

การเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่ห้องสมุดของอนาคต มี 2 เรื่อง คือ

1. บทบาทของห้องสมุด

2. รูปแบบและการจัดการพื้นที่ห้องสมุด

ส่วนการปรับตัวจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ 3 เรื่องคือ

1. ความเข้าใจและเท่าทันต่อความก้าวหน้าของโลกดิจิทัลและขอมูลของสารสนเทศที่มีอยู่มากมาย

2. การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้บริการ

3. การปรับมุมมองวิธีคิดในการบริการจัดการพื้นที่ของห้องสมุด

ควรมีการปรับหรือออกแบบห้องสมุด ที่ตอบสนองความต้องการและรูปแบบชีวิตใหม่ โดยเชื่อมโยงกับแนวคิดบ้านหลังที่ 3 ซึ่งหมายถึง พื้นที่สาธารณะแบบเปิดระหว่างที่ทำงานกับที่พักส่วนตัว เป็นทั้งห้องนั่งเล่น หรือพื้นที่ที่สามารถให้คนรุ่นใหม่ได้พบปะสังสรรค์กันได้

 

 

โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากร

ระหว่างวันที่ 24 ส.ค.-4 ก.ย. 58

 อาคาร 7 รอบ และห้องพิบูลมังสาหาร ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี

 

เป็นการอบรมที่วัดทักษะทั้งหมดทางด้านภาษา นั่นคือ การฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) การเขียน (Writing) และการพูด (Speaking) การทดสอบการพูดเป็นการสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับผู้สอน

รายละเอียดที่อบรม

Listening  การฟังแบบในชีวิตประจำวันและเชิงวิชาการ การพูดโทรศัพท์ การสั่งอาหาร  การบรรยายสั้นๆ

คำถาม มีได้ตั้งแต่ ถามเบอร์โทรศัพท์ ชื่อถนน เมนูอาหาร

คำตอบ เป็นแบบเขียนตอบทั้งหมด อาจจะมีเติมคำในรูปภาพหรือตาราง เติมคำในประโยค เรียงลำดับ หรือแบบปรนัย

มีฝึกทำข้อสอบโดยการจับเวลา เขียนคำตอบลงในกระดาษคำถามก่อน หลังจากฟังจบ

 

Reading  มีทั้งบทความที่เป็นข่าวและบทความเชิงวิชาการ เรื่องราวทั่วไป ไม่ยาวมากเช่นสุขภาพ เรื่องอาหาร  

          เป็นต้น

ลักษณะคำถามคำตอบ เป็นแบบเขียนตอบ เช่น เติมคำ ในประโยค Matching True/False/Not Given เรียงลำดับ หรือแบบปรนัย

มีฝึกทำข้อสอบโดยการจับเวลา เวลาทำข้อสอบ ให้อ่านบทความแบบ Skim/Scan ก่อนหนึ่งรอบเพื่อดูคร่าวๆ ว่าเนื้อหาสาระมีอะไรบ้าง แล้วไปอ่านคำถาม จะได้กลับมาหาคำตอบได้ถูกจุด

 

Writing

          เป็นการ เขียน response กับข้อมูลที่โจทย์ให้มา ต้องเขียนตอบไม่น้อยกว่า 50 -150 คำ ซึ่งมีการกำหนดเวลาให้

          การเขียนใช้ tense ธรรมดา Present Simpletense, Past Simple tense และ Present Perfect tense รวมทั้งการใช้ transition words, compare and contrast words มีการตรวจคำผิด

 

Speaking

          Examiner จะพูดคุยกับแบบสบายๆ ให้แนะนำตัวเอง สถานที่ทำงาน ครอบครัว เรื่องอาหาร เช่นคำถามว่าทานอาหารกลางวันอะไร ชอบทำงานอดิเรกอะไร มี key question

 

เป้าหมายดังกล่าว คือการจัดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษและการจัดอบรมภาษาอังกฤษให้แก่พนักงานซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของพนักงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ผลการพัฒนานี้ประกอบในการพิจารณาเลื่อนระดับพนักงานตำแหน่งวิชาชีพอื่นๆ อีกด้วย

 

ผู้ร่วมอบรม คือ น.ส.กชพรรณ  บุญฉลวย