ปัจจุบันปัญหาการลักลอกผลงานวิชาการและวรรณกรรม หรือ Plagiarism เป็นประเด็น   ที่มีการกล่าวถึงกันมาก ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้ Internet อย่างแพร่หลาย ทำให้นิสิต นักศึกษา สามารถหาข้อมูลอินเตอร์เน็ต แล้วใช้ในการลอกผลงานวิชาการบางส่วนทางอินเตอร์เน็ต  ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณทางวิชาการและเป็นความผิดร้ายแรงในแวดวงวิชาการนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้กำหนดมาตรการในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการขึ้น

     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้เครื่องมือช่วยให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถติดตามและรู้ความก้าวหน้าและการทำงานของนิสิตเป็นระยะ  โดนนิสิตต้องเขียนแผนการทำวิทยานิพนธ์และรายงานความก้าวหน้าทุกภาคการศึกษา  โดยใช้ระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) ผลงานโดยบริษัท แฟคเกอร์ จำกัด ซึ่ง เพื่อช่วยในการเตรียมวิทยานิพนธ์ของนิสิตให้มีรูปแบบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดและมีเนื้อหาครบถ้วน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ระบบนี้จะทำการตรวจสอบงานการคัดลอกผลงาน ร่วมกับโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ได้อัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งกำหนดให้นิสิตใช้งานแล้วตั้งแต่ปีการศึกษา 2556

     เครื่องมือช่วยในการตรวจสอบวิทยานิพนธ์และผลงานวิชาการของนิสิต ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรม Turnitin และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ทั้งสองโปรแกรมเป็นระบบที่ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน และแสดงค่าคะแนนความคล้ายคลึงของเอกสาร

     โปรแกรม Turnitin เป็นซอฟแวร์เชิงพาณิชย์จากต่างประเทศจะใช้ตรวจสอบเนื้อหาภาษาอังกฤษได้ดี และมีฐานข้อมูลที่ใหญ่ ใช้งานทั่วโลก แต่เป็นอุปสรรคในการตรวจสอบเอกสารที่เป็นภาษาไทย

     ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึ่ง ได้พัฒนาโปรแกรม อักขราวิสุทธิ์ ขึ้น พัฒนาโดย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยการประมวลผลภาษาและวัจนะ คณะอักษรศาสตร์ จุฬา เพื่อตรวจสอบการคัดลอกภาษาไทยเป็นหลักโดยเฉพาะ  และมีการพัฒนาต่อเนื่องให้สามารถตรวจสอบภาษาอังกฤษได้ด้วย

     โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์นี้ สามารถใช้ได้ในลักษณะแยกต่างหากและเชื่อมต่อกับระบบ CU E-THESIS ดังนั้นเมื่อนิสิตส่งผลงานวิทยานิพนธ์ระบบนี้จะดำเนินการตรวจสอบและแจ้งผลให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบด้วย

ผลที่ได้จากระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ มาใช้งานในมหาวิทยาลัย 

  • ทำให้มี Templete สำหรับการเตรียมทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง  
  • สามารถส่งอาจารย์ผ่านระบบนี้ และสามารถตรวจสอบอาจารย์ได้ด้วยว่าได้ตรวจวิทยานิพนธ์นิสิตหรือเปล่า ?
  • มีระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย ได้รับความเสียหาย
  • ข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย
  • ขั้นตอนในการนัดสอบวิทยานิพนธ์และส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จะกระชับมากขึ้น
  • เลี่ยงปัญหาการลักลอกผลงานวิชาการ  โดยไม่ได้เจตนา

ประโยชน์ของหน่วยงาน ที่ใช้คือ

  • ส่งต่อและแบ่งปันข้อมูลวิทยานิพนธ์ เข้าถึงห้องสมุดได้ทันที
  • และทำให้การลักลอกผลงานวิชาการลดลงได้

     ระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ นี้ เริ่มใช้งานจริงแล้วในบัณฑิตศึกษา ในภาคการศึกษาต้น  ปีการศึกษา 2556  เฉพาะ คาดว่าจะวิทยานิพนธ์เล่นใหม่ ประมาณ 700-800 เล่ม ในเทอมนี้ และจะได้วิทยานิพนธ์เพิ่มขึ้นถึง 2500 เล่มต่อปี  และทั้ง 2 โปรแกรมนี้ยังพัฒนาต่อไป โดยจะขยายฐานข้อมูลให้มากขึ้น เริ่มใช้งานจริงทั้งมหาวิทยาลัย และมีแผนเปิดให้มหาวิทยาลัยอื่นๆร่วมใช้ระบบนี้ได้ด้วย ในช่วงภาคปลาย ปีการศึกษา 2557