พิมพ์
หมวด: อื่นๆ

สรุปผลการเข้าร่วมประชุม UKM ครั้งที่ 26

วันที่ 2-3 ตุลาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

  

1. องค์ความรู้เกี่ยวกับ KM

          - นพ.วิจารณ์  พานิช ได้สะท้อนเกี่ยวกับเคล็ดลับการใช้ KM ว่าต้องทำให้เกิดคุณค่า ต้องสนุกกับ KM แล้วแต่สถานการณ์ แต่ต้องเอาคุณค่าเป็นตัวนำ เช่น อนาคตที่ดีของลูกศิษย์ ก็ต้องนำเอาตัวอย่างที่ดีที่เคยทำให้เด็กขี้เกียจกลายเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน เป็นต้น

          - CoPs เป็นเรื่องของการจัดการที่มีเครื่องมือมาช่วย แม้จะมีเรื่องเล่าแต่บางทีไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้

         - มหาวิทยาลัยต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องมีจิตวิญญาณของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง การทำ CM=Change Management ต้อง CQI (Continuous Quality Improvement) ต้องใส่การทำงานที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำงานตามมาตรฐานที่หยุดนิ่ง ต้องรู้ตัวเองว่าถ้าไม่เปลี่ยนองค์กรก็จะต้องตาย เพราะโลกมันหมุนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่เคยเป็น Best Practice เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจจะไม่ใช่ BP อีกต่อไป

          และ KM ต้องเป็นตัวที่มาทำให้ง่าย ไม่ใช่การทำให้ยุ่งยาก พนักงานทุกคนจะต้องมีความสุขในการทำงาน

          ดังนั้นการทำงานแผน KM ต้องทำ Change Management Plan โดยคนในองค์กรจะต้องพร้อมรับฟัง ชี้ให้เห็น Gap ช่องว่างในด้านทรัพยากร

         - นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรสะท้อนประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การชี้ให้เห็นว่า KM เป็นเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยเครื่องมือในการทำ KM มีสองระดับ

1) Higher Order: คือเครื่องมือที่เราต้อง Benchmarking (Best Practice)

2) Basic: เป็นสิ่งที่ทำ Good Practice

 

 

2. ประเด็นในการประชุม

          1) การขับเคลื่อน UKM

          2) การติดตามประเมินผลจากการทำงานเครือข่าย

          3) ต้องมีการสรุปผลการประชุมเพื่อถอดบทเรียน สร้างองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันใน UKM

         

3. ประเด็นที่น่าสนใจ

          1) ทำอย่างไรการทำ KM จึงจะไม่ใช่การบังคับเพื่อตอบโจทย์ประกันคุณภาพเพียงอย่างเดียว กล่าวคือทำ KM ให้มีลักษณะ “เนียนในเนื้องาน”

          2) เทคนิคในการทำให้เกิด Best practice

          - R2R to R2Q

          - Show and Share, Share and Learn

          3) การจัดการความรู้ที่จะต้องได้ผลจะต้องมีวัฒนธรรมของอิสระชนที่คนในองค์กรใช้อำนาจกำกับควบคุมตัวเอง ทำอย่างไรคนในองค์กรจึงจะเป็นคนใฝ่รู้ และมีชีวิตชีวา

4. ประเด็นสำหรับการประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

          1) Best Practice/ Good Practice ที่จะประยุกต์ใช้ เช่น การประกวด Green Office

          2) การเข้าร่วม UKM แล้วจะต้องมีการนำประสบการณ์ที่ได้ไปแชร์ให้กับเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้เกิดการสร้าง CoPs ภายในสำนักงาน/คณะ

          3) ให้มองเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน KM ไม่ทำไม่รู้ ไม่ต้องรอว่าใครจะเป็นคนทำ

          4) ต้องมีเครื่องชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราทำประสบความสำเร็จ ทำแล้วได้อะไร

           5) เครือข่ายต้องผลักดันให้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับ KM และให้คนอื่นๆ ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเห็นความสำคัญ และเต็มใจที่จะทำเพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ